มือ เท้า ปาก เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 อันตราย! พรากลูกไปจากอกพ่อแม่ได้ ถ้าไม่ระวัง

ระวัง! มือ เท้า ปาก เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 คร่าชีวิตลูกได้ พ่อแม่ต้องสังเกตอาการลูกให้ดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มือ เท้า ปาก เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71

มือ เท้า ปาก เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 อันตรายสุด ๆ นะ พ่อแม่ต้องหมั่นสังเกตอาการลูก หากมีอาการน่าเป็นห่วง ตามลิสต์ต่าง ๆ นี้ ให้ไปพบคุณหมอทันที เพราะมีความเสี่ยงสูง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย

 

ผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก จากต้นปี พุ่งเป็นหมื่น

จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 6 พ.ค. 61 พบผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปากจำนวน 11,326 ราย จาก 76 จังหวัด กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ อายุ 1 – 3 ปี ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ ภาคเหนือ 28.31 ต่อแสนประชากร ภาคกลาง 22.995 ต่อแสนประชากร ภาคใต้ 10.62 ต่อแสนประชากร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8.37 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ โดยจังหวัดที่ไม่พบผู้ป่วยคือจังหวัดอุดรธานี

ข้อมูลที่น่าตกใจนี้ ทำให้กระทรวงสาธารณสุขต้องออกมาเตือนพ่อแม่ผู้ปกครอง ให้ระมัดระวังลูกหลาน

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรค มือ เท้า ปาก ปกติจะไม่มีอาการรุนแรง แต่หากได้รับเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 หรือ อีวี 71 (EV 71) อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

วิธีสังเกตอาการโรคมือ เท้า ปาก

ผู้ปกครองสามารถสังเกตอาการของบุตรหลาน หากพบว่า

  • มีไข้ขึ้นสูง
  • ซึมลง
  • เดินเซ
  • ชัก
  • เกร็ง
  • หายใจหอบเหนื่อย
  • อาเจียนมาก
  • มีภาวะขาดน้ำ
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • อัตราการเต้นหัวใจผิดปกติอาจช็อกหมดสติ

หากลูกหลานมีอาการเช่นนี้ เด็กอาจมีโอกาสหัวใจวายทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งในบางรายไม่พบผื่นที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ให้เห็นชัดเจน

 

วิธีการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 (EV71)

  1. ทำได้โดยสอนให้บุตรหลานรักษาความสะอาด อาทิ การล้างมือ ดูแลสุขอนามัยทั่วไป
  2. ไม่พาเด็กไปสถานที่ที่มีคนเยอะ อากาศไม่ถ่ายเท เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ ในช่วงที่มีการระบาด
  3. โรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กควรดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสุขลักษณะของสถานที่อย่างสม่ำเสมอ เช่น ในห้องเรียน ห้องครัว ภาชนะใส่อาหาร รวมทั้งห้องน้ำ ห้องส้วม อาคารสถานที่ เครื่องเล่น หรืออุปกรณ์การเรียนการสอน ของเล่นต่างๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเป็นประจำ

หากพบว่าบุตรหลานมีอาการใกล้เคียงกับการรับเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 แนะนำให้พาไปพบแพทย์โดยทันที และควรแจ้งให้ทางโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กทราบ และหยุดอยู่บ้านจนอาการและแผลทุกแห่งหายเป็นปกติ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

กรมควบคุมโรค เตือนครูและผู้ปกครองระวังเด็กนักเรียนป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า จากผู้ป่วย 11,326 ราย พบมากที่กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีจำนวน 9,678 ราย คิดเป็นร้อยละกว่า 85 นอกจากนี้ ยังพบว่าช่วงที่พบผู้ป่วยมากที่สุดของปีที่แล้ว คือ ช่วงเปิดเทอมจนถึงหน้าฝน (เดือน พ.ค.-ส.ค.) เพียง 4 เดือนมีผู้ป่วยมากถึง 38,304 ราย คิดเป็นร้อยละ 54 ของผู้ป่วยทั้งหมด

โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อจากการได้รับเชื้อไวรัสเข้าทางปากโดยตรง เชื้อไวรัสจะติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย น้ำจากแผลตุ่มพองหรืออุจจาระของผู้ป่วย หรือติดต่อจากการไอ จาม รดกัน จึงพบได้มากในกลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคนี้อาจมีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ ผื่น ตุ่มน้ำใส หรือเม็ดแดงๆ ในปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือก้น ซึ่งส่วนใหญ่จะหายได้เอง ใน 7-10 วัน

ทั้งนี้ โรคนี้ไม่มียารักษา ไม่มีวัคซีน จะรักษาตามอาการ ถ้าหากเด็กมีอาการแทรกซ้อน เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียน หอบ ต้องรีบนำเด็กไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที เพราะอาจติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์รุนแรง เสี่ยงต่อ การเสียชีวิตได้มากกว่าสายพันธุ์ปกติ

สำหรับการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก กรมควบคุมโรค ขอความร่วมมือศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล และสถานรับเลี้ยงเด็ก ตรวจคัดกรองเด็กเป็นประจำทุกวันในตอนเช้า โดยเฉพาะในช่วงเปิดเทอมจนถึงหน้าฝนนี้ หากพบเด็กป่วยขอให้แยกออกจากเด็กปกติและแจ้งให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน หลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กป่วยเล่นคลุกคลีกับเด็กปกติและเมื่อป่วยควรพักรักษาอยู่ที่บ้านจนกว่าจะหาย ไม่พาเด็กไปในที่ชุมชนแออัดเช่นห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รวมถึงให้เด็กล้างมือบ่อย ๆ หรือทุกครั้งที่สัมผัสสิ่งสกปรกปนเปื้อนเชื้อโรค นอกจากนี้ ต้องหมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องมือ ของใช้ ของเล่น ภายในศูนย์ฯ และโรงเรียนเป็นประจำทุกสัปดาห์หรือทุกครั้งที่พบว่ามีเด็กป่วยโรคนี้ ที่สำคัญหากพบเด็กป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านทันที

 

ที่มา : https://www.thaihealth.or.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทารกป่วยโรคไอกรน สูงขึ้นจนน่าเป็นห่วง ส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 1 ปี ติดเชื้อจากคนในครอบครัว

ผู้ใหญ่เป็นพาหะเชื้อไวรัส RSV สู่ทารก เอ็นดูอยู่ห่าง ๆ ปลอดภัยกับเด็กมากกว่า

โรคยอดฮิต ทารกแอดมิทกันเพียบช่วงนี้! ดูให้ดี ลูกมีไข้สูง 5 วัน แล้วออกผื่น หรือไม่?

ลูกเล่นแท็บเล็ต มือถือ นานเกินไป เสี่ยงอันตรายต่อดวงตา อย่างที่แม่คิดไม่ถึง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya