คลอดธรรมชาติ เจ็บแน่เลย มีวิธีระงับปวดระหว่างรอคลอดและตอนคลอดบ้างไหม ?

อยากคลอดธรรมชาติ แต่กลัวเจ็บ มีตัวช่วยลดความเจ็บปวดไหม แม่ท้องมีตัวเลือกอะไรบ้าง ไปหาคำตอบพร้อมกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ใกล้คลอดแล้ว จะเจ็บไหมนะ ?

ใกล้คลอดแล้ว ถึงเวลาที่คุณแม่หลายคนเริ่มเป็นกังวล ใจหนึ่งก็ตื่นเต้นที่กำลังจะได้เห็นหน้าลูกน้อย อีกใจก็กลัวว่าจะเจ็บปวดระหว่างคลอด ถ้าอยากคลอดธรรมชาติ แต่กลัวเจ็บ มีตัวช่วยลดความเจ็บปวดอะไรบ้าง มีวิธีระงับปวดระหว่างรอคลอดและตอนคลอดบ้างไหม ไปติดตามกันเลย

มีวิธีระงับปวดระหว่างรอคลอดและตอนคลอดบ้างไหม ?

การคลอดธรรมชาติ เป็นการคลอดลูกเองโดยไม่ใช้การผ่าตัด ความเจ็บปวดในระหว่างรอคลอด หรือในระหว่างคลอดก็จะแตกต่างกันออกไปในคุณแม่แต่ละคน ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบีบตัวของมดลูก ท่าของทารกในครรภ์และความอดทนของคุณแม่

ในปัจจุบันมี วิธีการระงับปวดขณะคลอดนั้นมีหลายวิธี โดยอาจมีการใช้ยาช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดขณะคลอด หรือใช้เครื่องมือทางการแพทย์เพื่อให้ความช่วยเหลือ ได้แก่

1. การฉีดยาลดปวดเข้าหลอดเลือดดำ หรือเข้ากล้าม

วิธีนี้จะช่วยลดอาการปวดได้ดี แต่ในบางครั้งผลของยาระงับปวด อาจทำให้คุณแม่และทารกในครรภ์หลับได้ และอาจกดการหายใจของทารกหลังคลอด จึงมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาในการฉีดยา โดยเหมาะที่จะให้ในระยะต้น ปากมดลูกยังเปิดไม่มาก

2. การฉีดยาชาเข้าเฉพาะที่ฝีเย็บโดยสูติแพทย์

สูติแพทย์จะฉีดยาชาบริเวณที่จะตัดฝีเย็บ ซึ่งวิธีนี้จะทำได้เมื่อปากมดลูกเปิดหมดแล้ว จึงไม่สามารถระงับปวดจากการบีบตัวของมดลูกขณะรอคลอดได้

3. การบล็อกหลัง (Epidural block)

โดยวิสัญญีแพทย์จะทำการแทงเข็มที่มีหลอดนำยาขนาดเล็กเข้าไปในกระดูกสันหลังของคุณแม่ หลอดนำยาจะค้างอยู่ข้างใน และค่อย ๆ ปล่อยยาชาออกมาอย่างต่อเนื่องไปที่ชิ้นผิวหนังของไขสันหลัง ทำให้ค่อย ๆ หมดความรู้สึก ซึ่งกว่ายาชาจะออกฤทธิ์ระงับปวดได้เต็มที่ จะใช้เวลา ประมาณ 10-15 นาที

โดยปริมาณของยาชาที่ให้เพื่อระงับปวดนั้น มีความปลอดภัยต่อทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ หลังจากทารกคลอดออกมา ก็จะมีความแข็งแรงตามธรรมชาติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดยวิธีนี้จะช่วยลดความเจ็บปวดขณะรอคลอด ตั้งแต่ระยะแรก จนถึงการคลอด และการตัดฝีเย็บ อีกทั้งยังช่วยลดความเจ็บปวดเมื่อสูติแพทย์ต้องใช้คีม หรือเครื่องดูดสุญญากาศในการช่วยคลอด และยังสามารถใช้ต่อเนื่องในการระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องถ้าจำเป็น

การเบ่งคลอดและการบล็อกหลัง

ยาชาที่ใช้ในการบล็อกหลังนั้น สามารถระงับอาการปวดได้ แต่ก็จะไม่มีผลต่ออาการอยากเบ่งคลอด และไม่ได้เป็นการลดแรงเบ่งเมื่อปากมดลูกเปิดหมดแล้ว คุณแม่จึงสามารถเบ่งคลอดได้ตามปกติ ไม่ต้องกังวลไปครับ

และเมื่อสูติแพทย์ จําเป็นต้องใช้เครื่องมือช่วยคลอด อย่างเช่น คีม หรือ เครื่องดูดสุญญากาศ หรือคีม วิสัญญีแพทย์ก็จะเติมยาชาเพื่อลดความเจ็บปวด และทำให้กล้ามเนื้อหย่อนตัว ช่วยให้สูติแพทย์ใส่เครื่องมือได้ง่ายขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการบล็อกหลัง

ผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการบล็อกหลังเพื่อช่วยลดความเจ็บปวดนั้น พบได้น้อยมาก อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้มีดังนี้

1. อาการหนาวสั่น

อาการหนาวสั่นนี้ อาจเกิดขึ้นได้แม้ว่าจะไม่ได้บล็อกหลังก็ตาม การให้ความอบอุ่นแก่คุณแม่จะช่วยลดอาการดังกล่าวได้

2. อาการปวดศีรษะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่อาจมีอาการปวดศีรษะหลังจากการบล็อกหลังไปแล้ว 1-2 วัน แต่อาการปวดศีรษะจะดีขึ้น และหายได้เองหลังการดื่มน้ำ นอนศีรษะราบ และรับประทานยาระงับปวด

3. ปวดหลัง

อาการปวดหลังอาจเกิดขึ้นจากเข็มที่ใช้บล็อกหลัง แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลไปนะครับ เพราะจะเป็นแค่ชั่วคราวเท่านั้น ประมาณ 1-2 วัน อาการปวดหลังก็จะหายไปเอง

4. ภาวะแทรกซ้อนอื่น

ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ก็พบได้น้อยมาก ได้แก่ ปัสสาวะไม่ออก มีเลือดออก ติดเชื้อ หรือมีไข้ใน 24-48 ชั่วโมง

คำแนะนำหากใช้วิธีบล็อกหลัง

คุณแม่ที่คลอดโดยวิธีบล็อกหลัง มีเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยงและควรระวัง ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการวางวัตถุที่ร้อน หรือเย็น หรือวางของหนักลงบนร่างกายส่วนที่ยังรู้สึกชา
  • ไม่ควรลุกขึ้นยืน หรือเดินจนกว่าอาการชาจะหายไปหมด โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 4 – 6 ชั่วโมงหลังคลอด

และหากคุณแม่พบว่ามีอาการปกติ หรือเป็นกังวลเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ ก็อย่าลังเลใจที่จะไปพบแพทย์เสียแต่เนิ่น ๆ นะครับ


ที่มา samitivejhospitals

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เผยขั้นตอนคลอดลูก ทั้งคลอดเอง VS ผ่าคลอด แบบที่แม่ท้องควรรู้!!

สัญญาณอันตรายใกล้คลอด โค้งสุดท้ายก่อนเป็นแม่คน

คนโบราณบอกว่า ต้องคัดท้องจึงจะคลอดง่าย แต่เดี๋ยวนะ มันปลอดภัยแล้วแน่หรือ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

P.Veerasedtakul