พี่อิจฉาน้อง หวงแม่และกลัวถูกแย่งความรัก อาการเหล่านี้จัดการอย่างไร

พี่อิจฉาน้อง ลูกเราจะเป็นไหม กำลังวางแผนที่จะมีลูกคนที่สองต้องทำยังไง แล้วถ้าตอนนี้ลูกคนโตกำลังเป็นอยู่ จะแก้อาการนี้ได้อย่างไร มาหาคำตอบกัน...

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พี่อิจฉาน้อง จัดการอย่างไรดี

พี่อิจฉาน้อง เป็นอาการที่พบบ่อยมากกับลูกคนโตที่เมื่อก่อนเป็นคนที่ถูกเอาอกเอาใจ ทุกคนในบ้านต่างคอยโอ๋ พอเมื่อมีน้องทุกคนในบ้านหันไปสนใจน้องที่เพิ่งเกิดทำให้ที่คนโตเกิดอาการอิจฉาน้องตัวเอง เพราะคิดว่าไม่มีใครรักแล้ว

จริงๆ แล้วเตรียม ถ้าพ่อแม่คนไหนไม่อยากให้ลูกต้องกลายไปเป็นคนขี้อิจฉา ต้องวางแผนเริ่พูดคุยกับลูกน้อยตั้งแต่คุณแม่ตั้งท้องลูกคนที่ 2 ที่อยากให้บอกตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะเด็กอาจจะยังไม่เข้าใจ โดยเฉพาะช่วงที่ท้องเริ่มขยายใหญ่โต เนื่องจากลูกน้อยจะเริ่มสงสัยว่าทำไใแใ่ไม่ยอมให้อุ้มเหมือนเดิม ทำไมไม่ให้นั่งตัก วิธีการที่ทำให้ลูกคนโตยอมรับน้องตั้งแต่ในท้อง มีดังนี้

  • ให้พี่คนโตได้จับท้องแม่ แล้วบอกว่าตอนนี้น้องอยู่ในท้องน่ะ
  • ให้พี่คนโตมีส่วนในการตั้งชื่อน้องในท้อง
  • ให้พี่มีส่วนร่วมในการจัดเตรียมเสื้อผ้า ของใช้เด็กอ่อนต่างๆ หรือแม้แต่จัดห้องใหม่ให้กับน้องด้วย
  • บอกว่าตอนน้องออกมาแล้ว น้องยังพูดไม่ได้นะ จะร้องไห้อย่างเดียวเลย
  • เอารูปของพี่สมัยเด็กๆ ให้ดู แล้วก็บอกว่าเมื่อก่อนก็เป็นแบบนี้ ตัวเล็กๆ ร้องไห้เก่งเหมือนกัน
  • พาลูกคนโตไปพบคุณหมอบ้าง ให้เขาได้เห็นน้องตัวเองจากอัลตร้าซาวน์

พี่อิจฉาน้องทำยังไง

สำหรับคุณแม่ที่คลอดน้องมาแล้ว ไม่ทันได้บอกหรือสอนลูกคนโตเกี่ยวกับน้อง พ่อแม่ควรมีวิธีการจัดการกับลูกน้อย ดังต่อไปนี้

1. ให้พี่ช่วยแม่เลี้ยงน้อง

ช่วงที่น้องคลอดมาใหม่ๆ แม่ต้องทุ่มเวลาเกือบทั้งหมดเพื่อดูแลลูกคนเล็ก ทำให้ไม่สามารถดูแลพี่คนโตได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนเป็นพี่เกิดอาการน้อยใจได้ ดังนั้น แม่จึงเรียกให้พี่มาช่วยในการเลี้ยงน้อย โดยเริ่มจากหยิบจับสิ่งของให้ เช่น ขวดนม ผ้าอ้อม เป็นต้น ให้ลูกได้รู้สึกว่ายังเป็นคนสำคัญอยู่นะ

2. มอบหมายหน้าที่เลี้ยงน้องให้พี่

การให้พี่ช่วยเลี้ยงน้องโดยที่พี่ต้องเป็นคนรับชอบเอง เช่น การเปลี่ยนผ้าอ้อม ป้อนข้าวน้อง จะทำให้พี่รู้สึกว่ามีความภาคภูมิใจในตัวเอง และสามารถช่วยพ่อกับแม่ได้ด้วย

3. อย่าเปรียบเทียบ

พ่อแม่ต้องเข้าใจว่าลูกแต่ละคนมีนิสัย ความชอบ หรือพฤติกรรมที่ไม่เหมือนกัน จะเอามาเปรียบเทียบไม่ได้ เพราะจะทำให้ลูกน้อยรู้สึกไม่ดีและจะโทษตัวเอง สุดท้ายก็ไปลงที่น้องและกลายเป็นคนที่เกลียดน้องไปในที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกอิจฉาน้อง

4. ต้องบอกให้น้องเคารพพี่

เมื่อน้องโตแล้วพ่อแม่ต้องคอยบอกให้น้องเคารพพี่บ้าง ไม่ใช่ว่าให้ทำตามใจตัวเองให้พี่ยอมให้ทุกอย่าง อยากจะเล่นอะไรอยากเอาอะไรก็ต้องตกลงกัน อย่าสอนลูกบอกว่าเป็นพี่ต้องเสียสละให้น้องอย่างเดียว แต่ต้องสอนให้รู้จักแบ่งปันกันมากกว่า

5. ควรปล่อยให้ลูกเล่นกัน

พ่อแม่บางคนเห็นว่าเวลาที่ลูกเล่นกัน ชอบทะเลาะกัน เถียงกันเสียงดังเป็นประจำจึงจับแยกไม่ให้ลูกน้อยเล่นด้วยกันเท่าไหร่ หากคิดแบบนั้นให้คิดใหม่ปล่อยให้ลูกได้เล่นด้วยกันได้เรียนรู้การใช้ชีวิตอยู่กับคนอื่น มิเช่นนั้นแล้วลูกจะกลายเป็นคนที่เขากับคนอื่นไม่ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6. อ่านหนังสือเกี่ยวกับพี่กับน้องให้ฟัง

เด็กบางคนเขาจะมีฮีโร่ของตัวเองหรือมีพฤติกรรมเลียนแบบ หากคุณพ่อคุณแม่ได้เล่านิทานให้ลูกฟังโดยมีตัวละครเดินเรื่องเกี่ยวกับพี่คนโตและน้องคนเล็กให้ฟัง เพื่อให้ลูกได้แง่คิดและเกิดการเลียนแบบจากตัวอย่างที่ดี

 

ที่มา: krooupdate

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

รู้หรือไม่…พฤติกรรมของลูกในแต่ละช่วงวัย เสี่ยงต่อการ เจ็บป่วย

18+ ข้องใจ… นมเล็ก น้ำนมน้อย จริงหรือ?

8 คำพูดที่ลูกอยากได้ยินจากพ่อแม่ รู้แล้วลองทำซะ!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Khunsiri