พัฒนาการเด็ก 37 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี
พัฒนาการเด็ก 37 เดือน หลังจากที่ลูกน้อยได้ฉลองวันเกิดครบรอบ 3 ปีไป ช่วงวัยนี้ลูกน้อยก็พร้อมที่จะเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เพิ่มขึ้นแล้ว ลองมาดูว่าเด็กอายุ 37 เดือน จะสามารถทำอะไรได้บ้างน้า
พัฒนาการทางด้านร่างกาย
ลูกน้อยได้เติบโตขึ้นอีกขั้นแล้ว พวกเขามีทักษะการทรงตัวที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเริ่มซุกซนตามประสาเด็ก หากคุณแม่พาน้องไปเล่นที่สนามเด็กเล่นจะพบว่า เด็กๆ อยากจะปีนป่ายและเล่นสไลเดอร์อยากสนุกสนาน
ในส่วนของพัฒนาการการใช้กล้ามเนื้อ เด็กๆ สามารถที่จะควบคุมการใช้กรรไกรตัดกระดาษ หรือสิ่งของอื่นๆ ได้อย่างปลอดภัย ถือแก้วน้ำหรือเครื่องดื่มได้อย่างมั่นคง เปลี่ยนเสื้อผ้าได้เอง เปิดหนังสืออ่านได้ โดยที่ไม่ร้องขอให้พ่อแม่ช่วย
ในช่วงเวลานี้ พ่อแม่สามารถช่วยสอนลูกให้เริ่มต้นจับดินสออย่างถูกต้อง หากลูกยังทำไม่ได้อย่าเพิ่งท้อนะคะ ค่อยๆ สอนลูกเดี๋ยวลูกก็เป็นเอง
เคล็ดลับในการสอนลูก:
- ลูกน้อยมักจะมีอิสระในการทำบางสิ่งบางอย่างด้วยตนเอง แต่ในบางครั้งก็อยากให้มีคนช่วย พ่อแม่ควรรอจังหวะนั้น พยายามอย่าเขาไปช่วยลูกถ้าลูกไม่ได้ร้องขอ ปล่อยให้เขาได้ใช้ความสามารถของตัวเองก่อน
- เพิ่มความระมัดระวังในการดูแลลูกมากขึ้น หากเห็นว่าลูกน้อยเล่นของเล่นที่มีชิ้นส่วนเล็กๆ อยู่ เช่น ลูกปัด ปุ่มของเล่น เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกหยิบของเล่นเข้าปาก แล้วเกิดอาการสำลัก
- ให้ลูกมีส่วนร่วมในการเลือกอุปกรณ์นการทำงานศิลปะของตัวเอง
- หนังสือภาพอาจจะไม่เป็นที่น่าสนใจสำหรับเด็กๆ พ่อแม่ลองเลือกหนังสือที่มีเสียง ภาพสามมิติ หรือสติ๊กเกอร์ที่เพิ่มความน่าสนใจให้กับลูกน้อยมากกว่าเดิม
พัฒนาการทางด้านความรู้ความเข้าใจ
เด็กๆ สามารถแยกความแตกต่างระหว่างความจริงกับจินตนาการได้ แต่ยังชอบเล่นตามบทบาทสมมติ เช่น เล่นขายของ เป็นคุณหมอ เป็นซูเปอร์ฮีโร่บ้าง บางครั้งยังชอบสร้างเรื่องราวขึ้นมาเอง โดยใช้ตุ๊กตาที่มีกับของเล่นอื่นๆ เป็นตัวเชื่อมเรื่องราวที่พวกเขาสร้างขึ้น
ลูกน้อยจะเข้าใจกิจวัตรที่ทำในแต่ละวัน และสามารถปฎิบัติตามคำแนะนำของคุณแม่ได้ แต่ต้องเป็นเรื่องง่ายๆ ก่อน เช่น ปัดกวาดบ้าน เก็บของเล่น สำหรับเด็กบางคนจะมีอาการต่อต้านโดยการดึงผมตัวเอง ซึ่งพ่อแม่ต้องเข้าใจว่าเด็กวัยนี้มีความสนใจต่อสิ่งต่างๆ เพีงแค่ 4-8 นาทีเท่านั้น อย่าพยายามบังคับลูกมากเกินไปล่ะ
ในด้านของภาษา เด็กๆ วัยนี้ช่างพูด และอยากรู้อยากเห็น พ่อแม่ต้องให้ความสำคัญกับการกระทำและคำพูดของลูกให้ดีๆ แน่นอนว่าสิ่งที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านการพูด และการอ่านได้ดีคือ การที่ให้เด็กได้อ่านจากหนังสือและการพูดคุย
เคล็ดลับในการสอนลูก:
- พ่อแม่ลองให้ลูกน้อยได้จับคู่ถุงเท้าที่ซักแล้วด้วยตัวเอง เพื่อเป็นการะระตุ้นการเรียนรู้ให้พวกเขาด้วย
- ลองให้ลูกเล่นเกมเกี่ยวกับการนับเลข และเกมจับคู่ดูสิ
- หาการ์ดคำศัพท์ หรือรูปภาพเกี่ยวกับเรื่องสัตว์ สี และรูปทรงต่างๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับลูกน้อย
พัฒนาการทางด้านสังคมและอารมณ์
เด็กน้อยของคุณจะเริ่มสัมผัสได้ถึงอารมณ์ความรู้สึกที่หลากหลาย เช่น อารมณ์หวง ตื่นเต้น หวาดกลัว มีความสุข และโกรธ นอกจากนี้ ยังเริ่มที่จะทักทายกับผู้ใหญ่ที่คุ้นเคยเอง โดยที่พ่อแม่ไม่ต้องคอยบอก
เคล็ดลับในการสอนลูก:
- ปลอยให้ลูกได้เล่นสนุกกับเพื่อนบ้าง
- ชวนลูกๆ เล่นเกมร่วมกัน เพื่อเป็นการสอนให้ลูกทำตามกฎกติกา
- สอนลูก และอธิบายให้เข้าใจเมื่อลูกขว้างปาข้าวของเวลาโกรธ
- หาหนังสือเกี่ยวกับการระงับอารมณ์โกรธให้ลูกอ่าน
พัฒนาการทางด้านโภชนาการ
หนูน้อยจำเป็นต้องได้รับอาหารอย่างครบถ้วน ซึ่งเด็กๆ จะมีทัศนคติอย่างไรกับอาหารนั้นส่วนใหญ่จะเริ่มมาตั้งแต่วัยเด็ก พ่อแม่จึงควรให้ลูกได้ลองอาหารใหม่ๆ อยู่เสมอ แต่ไม่ควรบังคับพวกเขา เด็กวัยนี้ต้องหาอาหารที่มีแคลอรี่ประมาณ 1,000-1,400 โดยต้องประกอบไปด้วย ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และนม
*ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และนำรูปภาพไปเผยแพร่ต่อไม่ว่าวิธีใด ๆ หากฝ่าฝืน ทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
เชฟแม่ชวนชิม “ข้าวโอ๊ตหมูสับทอด” อาหารเช้าโปรตีนสูง เพิ่มพลังหนูน้อยนักสำรวจ (สำหรับเด็กวัย 1-3 ปี)
ล้างจมูกลูกน้อยอย่างไรไม่ให้สำลักน้ำเกลือ
5 วัคซีนจำเป็น ที่ต้องพาลูกไปฉีด