คุณพ่อคุณแม่หลายท่านมักจะตื่นเต้น กับการมีสมาชิกใหม่ จนลืมสังเกตพฤติกรรมของเจ้าตัวน้อย เผลอแปบเดียวลูกก็อายุครบปีแล้ว เรามาดูกันว่า พัฒนาการวัย 1 ขวบ ที่บอกว่าลูกผิดปกติ สัญญาณใด ที่บ่งบอกว่าลูกมีพัฒนาการล่าช้า อย่างนี้ต้องพบแพทย์ด่วนค่ะ
พัฒนาการวัย 1 ขวบ ที่บอกว่าลูกผิดปกติ
ช่วงแรกเกิด – 3 เดือน
พัฒนาการที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตในช่วงนี้คือ รอยยิ้มของลูกน้อย โดยลูกน้อยจะเริ่มยิ้มได้ตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งการยิ้มนั้น เป็นสัญญาณเริ่มต้น ที่บอกว่าลูกมีพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดี และหากยิ่งได้รับการตอบสนองที่ดีจากพ่อแม่ด้วยแล้ว ก็จะยิ่งทำให้ลูกมีความร่าเริงแจ่มใส และเป็นเด็กที่มีความมั่นคงในอารมณ์ตอนโต
แต่ถ้าหากว่าหลังจาก 3 เดือนไปแล้ว พ่อแม่ หรือคนรอบข้างมาเล่นกับลูก แล้วลูกไม่ยิ้มเลย แต่กลับร้องไห้ งอแง นั่นก็อาจเกิดจากการที่ลูกไม่ไว้คนรอบข้าง หรือเกิดความกลัวอะไรบางอย่าง คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตว่า ลูกกลัวอะไร ลูกไม่ยิ้ม แต่กลับร้องไห้ เพราะอะไร ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้ อาจทำให้ลูกโตขึ้นมามีนิสัยขี้กลัว ไม่มั่นในในตัวเอง หรือกลายเป็นเด็กก้าวร้าวได้นะครับ
ช่วง 4 – 6 เดือน
พัฒนาการของเด็กวัยนี้คือ จะเริ่มพลิกตัว เริ่มมีการพลิกคว่ำ พลิกหงาย และเริ่มชันคอได้ดี เพราะกล้ามเนื้อส่วนคอ และส่วนกลางของลำตัวเริ่มมีความแข็งแรง แต่ถ้าหากว่าลูกน้อยมีอายุได้ 6 เดือนขึ้นไป เวลาคุณแม่อุ้มแล้ว คอลูกยังเอียงไปเอียงมา ต้องคอยจับอยู่ตลอด ก็อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ลูกอาจมีปัญหาทางด้านกล้ามเนื้อได้
ช่วง 7 – 9 เดือน
ช่วงวัยนี้ ลูกน้อยจะเริ่มหยิบจับสิ่งของได้ดีขึ้น เริ่มควบคุมนิ้วมือให้จับสิ่งของได้มั่นคงขึ้น สามารถถือของได้ 2 มือ อีกทั้งเด็กในวัยนี้จะเริ่มลุกนั่งได้เอง กล้ามเนื้อมัดใหญ่เริ่มมีความแข็งแรงขึ้น ทรงตัวได้ดีมากขึ้น และสามารถโน้มตัวลงไปหยิบจับสิ่งของที่อยู่ตรงหน้าได้
พัฒนาการที่บ่งบอกว่าลูกผิดปกติ สำหรับเด็กในวัยนี้ ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตก็คือ หากลูกยังไม่สามารถหยิบจับสิ่งของ หรือของเล่นได้ หรืออาจจะไม่มีแรงหยิบ หยิบแล้วหล่น ก็อาจเป็นเพราะกล้ามเนื้อที่มือของลูก ยังไม่แข็งแรงพอ ช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่อาจจะลองหาของเล่นนิ่ม ๆให้ลูกจับบ่อยๆ เพื่อช่วยบริหารกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรงขึ้น
นอกจากนี้แล้ว หากลูกยังนั่งเองไม่ได้ ก็อาจจะเป็นสัญญาณที่บอกว่า ลูกอาจมีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านอื่น ๆ ต่อไปได้อีก
ช่วง 9 – 10 เดือน
ในช่วงนี้ลูกน้อยจะเริ่มเกาะยืนได้แล้ว ลูกจะเริ่มยืนได้เอง และอาจจะค่อย ๆ เดินได้ แต่อาจจะเดิน 2 – 3 ก้าว แล้วก็ล้มนั่ง ถ้าเป็นแบบนี้ถือว่าปกติ เป็นพัฒนาการทั่วไปที่แสดงว่า เขากำลังเริ่มเดินได้
แต่ด้วยความที่พัฒนาการเด็กแต่ละคนในช่วงนี้ อาจจะมีความแตกต่างกันไปบ้าง หากลูกยังไม่ลุกยืนในช่วงนี้ ก็อาจจะยังไม่ถือว่า ผิดปกติอะไรมาก แต่ถ้าเลยขวบครึ่งไปแล้ว ลูกยังไม่ลุกยืน นั่นก็อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่า อาจจะมีความผิดปกติเกิดขึ้น อวัยวะทำงานได้ช้ากว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งอาจมีความเกี่ยวข้องกับระบบประสาทด้วยนะครับ
พัฒนาการสำคัญของลูกวัย 1 ปี
พัฒนาการของเด็กวัยหัดเดิน ช่วงอายุ 12-18 เดือน มีอะไรบ้าง?
ในวัยนี้ ลูกรักของเราจะสวมบทเป็นนักสำรวจ พวกเขาจะสนใจทุกสิ่งที่อยู่ในขอบข่ายสายตา และพร้อมจะหยิบ จับ สัมผัส ชิม ดม และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ตามธรรมชาติ รวมถึงอาจเริ่มหัดเดิน เริ่มเข้าใจรับรู้ความหมายของสิ่งที่ได้ยิน และเริ่มที่จะเล่น เข้าสังคม ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะจัดเตรียมพื้นที่ ให้เขาได้เล่นภายใต้สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เพื่อพัฒนาการสมองและร่างกายที่ดี
สารอาหารสำคัญที่ลูกวัย 1 – 3 ปี ต้องการ
-
MFGM (Milk Fat Globule Membrane)
คือเยื่ออนุภาคไขมันในนมที่พบในนมแม่ ช่วยให้เซลล์ไขมันคงรูปอยู่ได้ในน้ำนม และประกอบด้วยสารอาหารต่าง ๆ เช่น โปรตีน และไขมันเชิงซ้อน ซึ่งล้วนแต่เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและช่วยเสริมสร้างพัฒนาทางสมอง สติปัญญา อารมณ์และภูมิคุ้มกันของลูกรัก ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญมากในด้านการเสริมสร้างพัฒนาการของลูกรักให้เติบโตได้อย่างสมวัย ซึ่งในปัจจุบันมีแค่เจ้าแรกและเจ้าเดียวในประเทศไทยที่มีสาร MFGM อยู่ในนมกล่อง UHT พร้อมดื่มสำหรับลูกรักคือ Enfagrow A+ Superior นั่นเอง
-
ดีเอชเอ (DHA)
คือกรดไขมันสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มสมองและจอประสาทตา ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องได้รับจากสารอาหารเท่านั้น ซึ่งหนึ่งในแหล่งของสารอาหารอันสำคัญนี้ก็คือ นมแม่ และอาหารทะเลบางชนิด
-
วิตามิน C
สารอาหารสำคัญที่ช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลูกแข็งแรงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ป่วยง่าย และมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมของเซลล์อีกด้วย
-
ธาตุเหล็ก
สารอาหารที่มีบทบาทสำคัญในร่างกาย มีหน้าที่ช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ช่วยทำให้ร่างกายเติบโตและแข็งแรง ป้องกันการอ่อนเพลียของร่างกาย ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ที่สำคัญ ธาตุเหล็กช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย ทำให้ร่างกายของลูกไม่ป่วยง่าย
-
ทอรีน
สารอาหารสำคัญที่ช่วยบำรุงสมอง และช่วยพัฒนาเรื่องสายตาและการมองเห็นของลูก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเรียนรู้ พบได้มากในอาหารทะเล และเนื้อสัตว์
-
แคลเซียม
สารอาหารสำคัญที่มีหน้าที่ช่วยในการสร้างและซ่อมแซมกระดูกและฟันของลูกให้แข็งแรง จำเป็นต่อช่วงวัยที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง สามารถพบได้ในนมทุกชนิด และพืชผักอีกหลายชนิด
คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกอยู่เสมอ หากมีอาการ หรือสัญญาณที่รู้สึกว่าผิดปกติ ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอแต่เนิ่น ๆ เพื่อที่จะได้รับการรักษา หรือแก้ไขได้ทันท่วงทีครับ
ที่มา : https://kidshealth.org
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ทารกเป็นหวัด พ่อแม่ทำอย่างไรดี?
ลูกง่วง แต่ไม่ยอมนอน งอแง ร้องไห้ไม่มีเหตุผล เพราะถูกกระตุ้นมากไปหรือเปล่า
ทารกควรนอนท่าไหน ปลอดภัยที่สุด