100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 60 ปัจจัยสำคัญของพัฒนาการลูกในครรภ์

คุณแม่สงสัยกันหรือไม่ว่า พัฒนาการของลูกในครรภ์นั้นเป็นอย่างไร วันนี้ขอนำบทความที่เกี่ยวกับ ปัจจัยสำคัญของพัฒนาการลูกในครรภ์ มาฝากคุณแม่มือใหม่ทั้งหลายกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่สงสัยกันหรือไม่ว่า พัฒนาการของลูกในครรภ์นั้นเป็นอย่างไร วันนี้ theAsianparent Thailand ขอนำบทความที่เกี่ยวกับ ปัจจัยสำคัญของพัฒนาการลูกในครรภ์ มาฝากคุณแม่มือใหม่ทั้งหลายกัน เพื่อจะได้นำไปปรับใช้และเสริมสร้างพัฒนาการให้กับทารกในครรภ์ได้ดียิ่งขึ้น

 

กระตุ้นพัฒนาเด็กเมื่ออยู่ครรภ์

ปัจจัยสำคัญ ของพัฒนาการลูกในครรภ์

คุณแม่รู้หรือไม่ว่า สมองของลูกนั้นสามารถพัฒนาได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 8 ของการตั้งครรภ์ไปจนถึง 2 ขวบ โดยช่วงเวลาดังกล่าวเหมาะสำหรับการเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองให้กับเด็กเป็นอย่างมาก โดยความฉลาดของลูกนั้นมีปัจจัยที่สำคัญทั้งหมด 3 อย่างด้วยกัน ได้แก่ 1.พันธุกรรม 2.อาหาร 3.สภาพแวดล้อม

  • พันธุกรรม : แม่ที่เฉลียวฉลาดก็จะถ่ายทอดลักษณะที่ดีนี้มาให้ลูกได้ เหมือนกับโรงงานไหนที่ผลิตสินค้าที่คุณภาพดี ก็จะผลิตแต่สินค้าคุณภาพดี แต่บางโรงงานที่มีความสามารถในการผลิตสินค้าได้แค่เพียงสินค้าคุณภาพต่ำ ผลิตอย่างไรสินค้าก็คุณภาพดียาก
  • อาหาร : นอกจากพันธุกรรมที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว การดูแลเอาใจใส่ในเรื่องของโภชนาการก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน  โดยในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่คุณแม่สามารถเสริมสร้างได้เองโดยไม่ได้ต้องพึ่งพันธุกรรมใด ๆ

1. กรดโฟลิก หรือโฟเลต เป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยสร้างเซลล์สมอง ระบบประสาท และไขสันหลังให้ทารกในครรภ์ และการได้รับโฟเลตไม่เพียงพอ ยังอาจส่งผลให้ทารกในครรภ์เกิดความพิการทางสมอง และมีความเสี่ยงต่อการเป็นท่อระบบประสาทผิดปกติได้

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ทั่วไป แนะนำให้ทานโฟเลต หรือกรดโฟลิก ในปริมาณ 0.4 มิลลิกรัม ต่อวัน ก่อนการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 – 3 เดือน และทานต่อเนื่องไปตลอดการตั้งครรภ์ แต่ในสตรีตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูงบางราย อาจต้องทานในปริมาณที่มากขึ้นถึง 4 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจาก กรดโฟลิก ที่คุณหมอให้แล้ว

คุณแม่ท้องสามารถทานอาหารที่มีโฟเลตสูง ซึ่งมีอยู่ในผักใบเขียวเกือบทุกชนิด เช่น คะน้า ปวยเล้ง กะหล่ำปลี หน่อไม้ฝรั่ง บล็อกโคลี่ ถั่วลันเตา นอกจากนั้นยังมีแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วย กรดโฟลิก หรือ โฟเลต อีกมากมายอย่างเช่น ปลา นมสด ธัญพืชที่ไม่ขัดสี ข้าวซ้อมมือ และผลไม้ตระกูลส้ม เป็นต้น

2. ธาตุเหล็ก จะช่วยเสริมสร้างการทำงานของฮีโมโกบิลในเม็ดเลือดแดง ซึ่งจะช่วยลำเลียงออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงทารก ถ้าหากคุณแม่ท้องขาดธาตุเหล็ก ทารกในครรภ์ก็จะขาดออกซิเจนตามไปด้วย ซึ่งก็จะส่งผลทำให้ทารกมีความเสี่ยงต่อการที่จะมีพัฒนาการที่ล่าช้า และอาจจะมีระดับไอคิวที่ไม่สูงเท่าที่ควรจะเป็นได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ท้องควรได้รับธาตุเหล็กวันละ 30 มิลลิกรัม โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณของเลือด และสะสมน้ำนม โดยธาตุเหล็กนั้นสามารถหาได้จากอาหารอย่างเช่น เนื้อวัว เนื้อหมู ตับ ไข่แดง หอยกาบ หอยนางรม ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช ถั่วต่าง ๆ ข้าวโอ๊ต หรือผักอย่างเช่น หน่อไม้ฝรั่ง ผักกูด ถั่วฝักยาว ผักแว่น เห็ดฟาง พริกหวาน ใบแมงลัก ใบกะเพรา เป็นต้น

3. ไอโอดีน เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อพัฒนาการสมอง ระบบประสาท และความจำของทารกในครรภ์ ถ้าคุณแม่ท้องได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอต่อความต้องการในช่วงตั้งครรภ์ ก็อาจจะส่งผลต่อพัฒนาการสมองของทารกตั้งแต่ในท้องแม่ นอกจากนั้นยังอาจจะทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย หรือแคระแกร็นได้ คุณแม่ท้องควรได้รับไอโอดีน วันละ 175 – 200 ไมโครกรัม โดยแหล่งอาหารที่มีไอโอดีนสูงได้แก่ อาหารทะเล เช่น ปลาทะเล กุ้ง ปู หอย เป็นต้น

4. กรดไขมันโอเมก้า 3 มีความสำคัญต่อคุณแม่ท้องอย่างมาก เพราะการได้รับโอเมก้า-3 ที่เพียงพอ จะช่วยลดปัญหาในระหว่างการตั้งครรภ์ได้แล้ว ก็ยังจะช่วยให้ลูกน้อยในครรภ์มีความแข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากนี้ กรดไขมันโอเมก้า 3  ยังจะช่วยกระตุ้นสมอง บำรุงเซลล์สมอง ช่วยเสริมประสิทธิภาพความจำที่ดี ทำให้ทารกในครรภ์มีความฉลาด

กรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นได้เอง โดยจะหาได้จากปลาทะเล รวมทั้งในเมล็ดพืชบางชนิด ซึ่งอาหารทะเลที่คุณแม่ท้องควรทาน เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแมคคาเรล ปลาแซลมอน ปลาทูน่า รวมถึง ปลาทู ปลาเก๋า และปลาสำลี เป็นต้น คุณแม่ท้องควรหลีกเลี่ยง หรือระมัดระวังสารปรอทที่อาจเจือปนอยู่ในปลาบางชนิด หรือบางตัวด้วย โดยปลาที่ควรหลีกเลี่ยง อย่างเช่น ปลาอินทรี ปลาไทล์ฟิช ปลากระโทงแทงดาบ เป็นต้น

 

ปัจจัยสำคัญของพัฒนาการลูกในครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5. โปรตีน คุณแม่ท้อง ควรได้รับโปรตีนวันละ 60 กรัม โดยโปรตีนนั้น มีความสำคัญอย่างมาก โดยโปรตีนนั้น เป็นสารอาหารหลักที่ช่วยในการสร้างและเพิ่มขนาดเซลล์ เพิ่มปริมาณเลือด สร้างน้ำย่อย เสริมภูมิคุ้มกัน และช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ นอกจากนี้ยังช่วยสร้างเซลล์ของทารกในครรภ์ และการเจริญเติบโต ของสมองทารก หากได้รับโปรตีนในปริมาณที่ไม่เพียงพอ ยังอาจส่งผลทำให้ทารกมีสมองที่เล็กกว่าปกติได้

อาหารที่มีโปรตีน ที่คุณแม่ท้องควรทานได้แก่ อาหารประเภทเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์ เช่น เนื้อวัวไม่ติดมัน เนื้อปลา นม ไข่ รวมถึงถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองด้วย เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ เป็นต้น

6. วิตามินบี 1 เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก สำหรับพัฒนาการทางสมองส่วนกลาง ของทารกในครรภ์ โดยคุณแม่ท้องควรได้รับวิตามินบี 1 วันละ 1.5 -1.6 มิลลิกรัม ซึ่งแหล่งอาหารที่พบวิตามินบี 1 ได้แก่ ผัก โฮลวีท ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต ถั่วลิสง นม ไข่แดง เนื้อปลา เนื้อหมูไม่ติดมัน เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

7. วิตามินบี 2 เป็นวิตามินที่ช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโต ช่วยให้เม็ดเลือดแดงคงสภาพ รักษาสุขภาพของระบบประสาท และการพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ โดยคุณแม่ท้องควรได้รับวิตามินบี 2 วันละ 1.6 มิลลิกรัม ซึ่งแหล่งอาหารที่พบวิตามินบี 2 ได้แก่ ไข่ นม ถั่ว โยเกิร์ต ชีส ผักใบเขียว ปลา ตับ เป็นต้น

  • สภาพแวดล้อม : ในส่วนสภาพแวดล้อมนั้น ค่อนข้างสอดคล้องไปถึงอารมณ์ของแม่ขณะนั้น เนื่องจากว่าหากสภาพแวดล้อมดีก็จะส่งผลให้แม่ท้องอารมณ์ดี โดยจากการศึกษาทางการแพทย์พบว่าคุณแม่ที่อารมณ์ดีอยู่เสมอจะทำให้ร่างกายมีการหลั่งสารแห่งความสุขที่เรียกว่า เอนดอร์ฟิน (endorphin) ออกมาผ่านไปทางสายสะดือไปยังลูกทำให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีทั้งสมอง (IQ) และอารมณ์ (EQ)  ในทางตรงกันข้ามคุณแม่ที่มีอารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย ร่างกายจะหลั่งสารแห่งความเครียดที่เรียกว่า อะดรีนาลิน (adrenalin) ออกมาผ่านไปยังลูก ผลดังกล่าวจะทำให้ลูกคลอดออกมาเด็กงอแง เลี้ยงยาก พัฒนาการช้านั่นเอง

ปัจจัยสำคัญของพัฒนาการลูกในครรภ์

 

โดยปัจจัยที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก รวมไปถึงการพูดคุยกับลูกขณะตั้งครรภ์ การลูบท้อง ร้องเพลง และลูบท้องลูก การทำพฤติกรรมใด ๆ ก็ตามที่เป็นการสื่อสารกับลูกน้อยในครรภ์เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการในครรภ์ของลูกน้อยอย่างดี

 

Source : 1 , 2

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 59 นมแม่กับพัฒนาการด้านต่าง ๆ

พัฒนาการทางภาษา เด็กวัย 10 เดือน มีพัฒนาการอย่างไรบ้าง

พัฒนาการทางภาษา เด็กวัย 1 เดือน พัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Khattiya Patsanan