พัฒนาการของลูกน้อย
คุณแม่มือใหม่หลายๆ ท่านมักเป็นห่วงเรื่อง พัฒนาการของลูกน้อย ทั้งด้านการเจริญเติบโต สติปัญญา และทักษะทางสังคม ระยะเวลาแต่ละช่วงของพัฒนาการของเด็กแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน เด็กบางคนอาจพูดได้ก่อน บางคนอาจเดินได้ก่อน หรือเด็กบางคนอาจทำได้หลายๆ อย่างพร้อมกัน
ระยะเวลาของพัฒนาการต่างๆ
ลูกของคุณอาจมีพัฒนาการด้านร่างกายที่เด่น (เช่น สามารถกลิ้ง นั่ง คลาน หรือเดิน) ขณะที่เด็กบางคนอาจมีทักษะการเข้าสังคม (เช่น การสบตา การตอบสนองต่อเสียง การพยายามพูด) และในช่วงขวบปีแรกนี้เอง ที่สมองของลูกน้อยจะพัฒนาและสามารถจดจำสิ่งที่ถูกสอน ถูกฝึกได้อย่างรวดเร็วเหมือนเป็นฟองน้ำซับน้ำเลยทีเดียว ดังนั้น คุณแม่ควรใจเย็นๆ ค่อยๆ ฝึกลูกให้ค่อยๆ เรียนรู้ เพื่อที่เด็กจะได้ใช้เวลาจดจำทักษะแต่ละด้านอย่างค่อยเป็นค่อยไปครับ
พัฒนาการที่สำคัญของลูกน้อย
- ยิ้ม
ลูกสามารถทำให้คุณยิ้มได้ เมื่อได้เห็นรอยยิ้มของลูกตั้งแต่อาทิตย์แรกที่เกิดมา
- ลูกของคุณจะเรียนรู้การแสดงความสุขออกมาทางรอยยิ้ม ช่วง 1 – 3 เดือนแรก
- ลูกจะเริ่มหัวเราะตั้งแต่ช่วง 3 เดือนเป็นต้นไป
- เพราะฉะนั้นตั้งแต่ 3 เดือนเป็นต้นไป คุณพ่อคุณแม่สามารถทำเสียงแปลกๆ ตลกๆ ให้ลูกหัวเราะและยิ้มได้เต็มที่เลยครับ
- คอแข็ง
คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยให้คอลูกแข็งแรกตั้งแต่เดือนแรกๆ
- ให้ลูกฝึกนอนคว่ำ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อคอลูกแข็งแรง
- การนอนคว่ำช่วยลดแก็ซในท้อง และช่วยบรรเทาอาการโคลิก
- เด็กจะเริ่มคอแข็งช่วงเดือนที่ 2 – 6
- กลิ้ง
ควรให้ลูกนอนคว่ำให้พอดีตั้งแต่เกิด (เริ่มตั้งแต่อายุ 7 – 10 วันจนโต)
- คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลหรือจัดให้มีคนดูแลระหว่างที่ลูกกลิ้งไปมาอย่างใกล้ชิด
- ควรเริ่มให้ลูกม้วนตัวให้ได้ 2 นาที แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาให้นานขึ้น
- นอกจากการกลิ้งแล้ว ควรสลับให้ลูกออกกำลังกายกล้ามเนื้อคอ ด้วยการให้นอนหงาย และมีของเล่นล่อให้ลูกนอนหงายได้นาน
- เมื่อลูกกลิ้ง ควรมีของเล่น หรือทำให้ลูกสนุก
- ลูกจะเริ่มกลิ้งได้ตั้งแต่ช่วง 3 เดือนครึ่งไปจนถึง 1 ขวบ
ติดตาม พัฒนาการของลูกน้อย ต่อในหน้าถัดไปครับ
- นั่ง
ลูกของคุณอาจนั่งได้โดยมีตัวช่วยพยุงตั้งแต่ 3 – 4 เดือน เด็กหลายคนจะเริ่มนั่งได้เองระหว่างช่วง 6 – 1 ขวบ กับอีก 3 เดือน
- คุณควรนั่งอยู่ด้านหลังลูก เพื่อคอยพยุงระหว่างที่ลูกหัดนั่ง
- การควบคุมหลังส่วนล่างของลูกจะค่อยๆ พัฒนา ระหว่างที่หัดนั่ง และช่วยให้ลูกนั่งได้ด้วยตัวเอง
- ช่วงแรกๆ ลูกอาจนั่งได้ไม่นาน คุณพ่อคุณแม่ควรค่อยๆฝึกให้ลูกนั่งอย่างค่อยเป็นค่อยไป
- พอนั่งเป็น ลูกจะนั่งเองได้ และนั่งได้นานขึ้น
- คลาน
เมื่อลูกนั่งเป็นแล้ว ต่อไปลูกจะเริ่มคลาน
- ควรมีพื้นที่ให้ลูกคลานอย่างเพียงพอ (ควรเป็นพื้นราบ เพื่อไม่ให้ลูกประสบอุบัติเหตุ)
- ควรมีของเล่นล้อมรอบตัวลูก และคุณพ่อคุณแม่ควรอยู่ด้วย หรือให้มีคนอยู่ด้วยเสมอ
- หลีกเลี่ยงของแตกง่าย หรือมีคม หรือของชิ้นเล็กๆ ควรนำฟองน้ำกันกระแทกหุ้มเหลี่ยมโต๊ะหรือเตียง เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ
- ลูกจะหัดคลานตั้งแต่อายุ 6 – 10 เดือน
- เด็กบางคนอาจข้ามการคลานไปสู่การเดินได้โดยมีคนพยุง หากลูกของคุณไม่คลาน ก็ไม่ควรกังวลไปนะครับ เพราะลูกสามารถฝึกเดินได้โดยไม่มีปัญหาอะไร
- ดึง
ลูกดึงของได้และสามารถลุกขึ้นเองได้
- ลูกอาจเริ่มดึงด้วยการเกาะขอบเปล คลาน หรือดึงโซฟา
- ลูกจะเริ่มดึงหลังจากที่ลูกนั่งได้ ในช่วยระยะ 6 เดือน – 1 ขวบ กับอีก 3 เดือน
- เดิน
ก้าวแรกที่ลูกเดินได้ เป็นก้าวมหัศจรรย์ของลูกน้อยและคุณพ่อคุณแม่
- เมื่อลูกผ่านพัฒนาการข้อก่อนหน้า คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะเตรียมกล้องถ่ายรูป หรือกล้องถ่ายวิดีโอให้พร้อม เพื่อเก็บภาพลูกน้อยเดิน หรือพลาดล้ม เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำดีๆครับ
- ลูกต้องใช้ความพยายามและกล้าหาญมากที่จะเดินและล้มหลายๆ ครั้งกว่าที่ลูกจะเดินเป็น
- หลังจากลูกเดินได้ด้วยตัวเอง ลูกจะเริ่มวิ่งตั้งแต่ 10 – 18 เดือน
ติดตาม พัฒนาการของลูกน้อย ต่อในหน้าถัดไปครับ
- พูด
ลูกจะเริ่มออกเสียงตั้งแต่ 4 – 5 เดือน เช่นเสียง “ยา” “กากากา”
- ลูกจะเริ่มออกเสียงคำว่า “มามา” ได้ตั้งแต่ 6 เดือน โดยที่ลูกอาจจะไม่ได้หมายถึงคุณแม่
- ระยะ 7 – 12 เดือน ลูกจะเริ่มเรียก “มามา” ซึ่งหมายถึงคุณแม่ และเรียก “ปาปา” ซึ่งหมายถึงคุณพ่อ
- ช่วงนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรกระตุ้นให้ลูกออกเสียงพูดเยอะ หรืออ่านหนังสือให้ฟัง พูดอะไรก็ได้กับลูก เพื่อให้ลูกคุ้นเคยกับเสียง และลูกจะพยายามเลียนแบบเสียงของพ่อแม่ หรืออาจจะร้องเพลงกล่อมเด็ก หรือบทกลอนกล่อมเด็กก็ได้เช่นกัน
- ยิ่งลูกได้ยินเสียงมากเท่าไหร่ ลูกจะยิ่งพูดเก่ง พูดเป็นเร็วขึ้น
- หากบ้านของคุณพูด 2 ภาษา ควรพูดทั้ง 2 ภาษาให้ลูกได้ยิน เพราะจะช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้หลายๆ ภาษาให้ลูกได้ในอนาคต
- ระยะ 12 – 18 เดือน ลูกจะเริ่มพูดและเข้าใจคำอื่นๆ มากขึ้น
- สอนลูกพูดคำใหม่ๆ ทุกวัน อีกไม่นานลูกจะเริ่มพูดเป็นประโยคได้ครับ
สิ่งสำคัญ:
- เป็นเรื่องปกติที่เด็กอาจมีพัฒนาการบางอย่างช้ากว่าเกณฑ์ ในขณะที่เด็กบางคนอาจเรียนรู้เร็ว หากคุณพ่อคุณแม่กังวลว่าลูกจะเรียนรู้ช้า ควรปรึกษาแพทย์จะดีที่สุดครับ
- เกณฑ์การเรียนรู้ข้างต้นไม่ใช่ตัวกำหนดว่าเด็กจะเรียนรู้เร็วหรือช้าเมื่อเด็กโตขึ้น เพราะหลังจากนี้ลูกยังต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะโตเป็นผู้ใหญ่
- หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบลูกของคุณกับเด็กอื่นๆ อย่าบังคับให้ลูกนั่งหรือยืน หากลูกยังไม่พร้อม
คุณพ่อคุณแม่ควรสนุกและมีความสุขที่เห็นพัฒนาการของลูก และอย่าลืมที่จะเก็บความทรงจำนี้ไว้ให้ลูกได้ดูเมื่อโตขึ้น
เพราะ “ครั้งแรก” ของพัฒนาการแต่ละข้อของลูกมีแค่ครั้งเดียวเท่านั้น เตรียมกล้องให้พร้อม แล้วเริ่มเก็บภาพกันเลยครับ!
ที่มา momjunction
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
เคล็ดลับการให้นมลูกตอนกลางคืน ช่วยลูกหลับต่อสบาย
จะรู้ได้อย่างไร ว่าลูกได้รับนมแม่เพียงพอ?