ป้อนอาหารเสริม ทารกก่อน 6 เดือน อันตรายจริงหรือ?

ทารกกินอาหารเสริมก่อนวัย 6 เดือน ทำให้ลำไส้เน่าระะบบทางเดินอาหารไม่ดีจริงหรือ ทำไมเด็กบางคนลำไส้เน่าเข้าผ่าตัด ทำไมบางคนไม่เป็นอะไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุที่ไม่ควร ป้อนอาหารเสริม ทารกก่อน 6 เดือน

  1. ช่วงอายุ 6 เดือนแรกทารกจะได้รับสารอาหารเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตจากน้ำนมแม่หรือนมดัดแปลงสำหรับทารก
  2. ทารกอายุก่อน 6 เดือน ยังไม่พร้อมสำหรับสำหรับการย่อยอาหารอื่นนอกจากนม เนื่องจากยังมีน้ำย่อยสำหรับย่อยแป้ง โปรตีน และไขมันยังไม่เพียงพอ น้ำย่อยดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุ 4-5 เดือน
  3. ทารกอายุก่อน 4-6 เดือน ยังมีพฤติกรรมห่อปากและเอาลิ้นดุนอาหารออกมา ทำให้ไม่สามารถใช้ลิ้นช่วยตวัดเพื่อกลืนอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวได้
  4. ไตของทารกแรกเกิดยังไม่สามารถขับถ่ายของเสียได้ดีเหมือนผู้ใหญ่ โดยอัตราการกรองของไตจะเพิ่มขึ้นตามอายุจนเท่าผู้ใหญ่ที่อายุ 2 ปี

ดังนั้นควรเริ่มให้อาหารตามวัยเมื่อทารกอายุ 6 เดือน เนื่องจากนมแม่อย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของทารก และทารกมีความพร้อมที่จะรับอาหารอย่างอื่นนอกจากนมแม่ได้

บทความแนะนำ นมแม่หลัง 6 เดือน กินไปไร้ประโยชน์จริงหรือ??

ยิ่งไปกว่านั้นอาจเกิดผลเสียแก่ทารกหากได้รับอาหารอื่นก่อนวัยที่เหมาะสม  และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมา เช่น ภาวะลำไส้อุดตันจากอาหารในทารก ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจเกิดภาวะลำไส้ขาดเลือดและติดเชื้อตามมาได้

ดังตัวอย่างกรณีศึกษาต่อไปนี้

เด็กผู้หญิงอายุ 3 เดือน มาโรงพยาบาลด้วยอาการท้องอืด อาเจียน ไม่ดูดนม ตรวจร่างกายพบ มีภาวะขาดน้ำ หัวใจเต้นเร็ว ตรวจเลือดพบเกลือแร่ต่ำ ผลเอกซเรย์ช่องท้องพบกระเพาะอาหารขยายใหญ่ ได้รับการรักษาโดยการส่องกล้องทางเดินอาหารพบมีสิ่งแปลกปลอมอุดกลั้นทางเดินอาหารบริเวณรอยต่อของกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็ก ทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน หลังส่องกล้องท้องอืดและอาเจียนดีขึ้น และหายในวันต่อมา หลังจากซักประวัติอาหารเพิ่มเติมจึงทราบว่า 1 วันก่อนมีอาการผู้ปกครองได้ป้อนมันฝรั่งบดแก่ทารก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พญ.ภณิดา แสวงศักดิ์

กุมารแพทย์ด้านโรคทางเดินอาหารและโรคตับในเด็ก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ศูนย์สุขภาพเด็ก รพ.พญาไท 3

เอกสารอ้างอิง

  1. Lebenthal E. Impact of digestion and absorption in weaning period on infant feeding practices.
    Pediatrics 1985;75(suppl):207-13.
  2. Lebenthal E, Lee PC. Development of functional response in human exocrine pancreas. Pediatrics 1980;66:556-60.
  3. สุขเกษม โฆษิตเศรษฐ, เกศรา อัศดามงคล. การพัฒนาระบบควบคุมการทำงานของไต. ใน: วันดี วราวิทย์, เกศรา
  4. World Health Organization. Complementary feeding : family foods for breastfed children. Geneva: World Health Organization; 2000.
  5. Chao HC, et al. Intestinal Obstruction Caused by Potato Bezoar in Infancy: A Report of Three Cases. Pedneo 2012; 53 (2): 151-3.

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โซเชี่ยลแชร์! เด็กโดนป้อนกล้วยตายอายุเพียง 1 เดือนเศษ

อันตรายจากการป้อนอาหารเสริมเร็วเกินไป