แม่อยากคลอดจะแย่! ทำไมไม่ออกมาสักทีลูกจ๋า ปากมดลูกเปิดช้า แต่แม่เจ็บเกินทนแล้วลูก

แม่ท้องเจ็บจะแย่ ปากมดลูกเปิดช้าไม่เปิดเพิ่มสักที หมอทำไงปากมดลูกถึงจะเปิด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปากมดลูกเปิดช้า

ปากมดลูกเปิดช้า ทำไมปากมดลูกไม่เปิดเพิ่ม ปากมดลูกต้องกว้างแค่ไหน หมอถึงจะทำคลอดให้ ปากมดลูกไม่เปิดเพราะอะไรกันแน่

 

ปากมดลูกเปิดแล้วนะแม่

รู้ได้อย่างไรว่าปากมดลูกเปิด? ตามปกติแล้ว เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 9 คุณหมอมักจะตรวจปากมดลูก ถ้าปากมดลูกเริ่มเปิด ลักษณะจะอ่อนนุ่ม บางลง และย้ายไปทางด้านหน้าช่องคลอด จากเดิมที่ปากมดลูกจะปิดสนิท มีความหนา เพื่อปกป้องทารกน้อยในครรภ์

พญ. เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ อธิบายถึงการเปิดขยายของปากมดลูก (Cervical dilatation) ตอนหนึ่งว่า การเปิดขยายของปากมดลูก ซึ่งเป็นการตรวจร่างกายพื้นฐานของการประเมินผู้ป่วยที่อยู่ในระยะรอคลอด แต่เนื่องจากปากมดลูกไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก ดังนั้น การประเมินการเปิดขยายหรืออีกนัยหนึ่งคือการประเมินเส้นผ่านศูนย์กลางของปากมดลูก จึงต้องใช้ข้อมูลจากการตรวจภายในเท่านั้น เมื่อสตรีตั้งครรภ์เริ่มเข้าสู่ระยะคลอดปากมดลูกจะมีการเปิดขยายจนกระทั่งเปิดเต็มที่ (fully dilatation) เมื่อถือว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของปากมดลูกมีค่าเท่ากับ 10 เซ็นติเมตร

 

แบบไหนถึงเรียกว่าปากมดลูกเปิดช้า

ในระหว่างการตั้งครรภ์ คุณหมอจะนัดแม่ตรวจครรภ์บ่อย ๆ และจะนัดถี่มากขึ้น เมื่อคุณแม่อายุครรภ์เกิน 36 สัปดาห์แล้ว (เฉลี่ยจะอยู่ที่สัปดาห์ละครั้ง) เนื่องจากใกล้ถึงเวลาคลอด พร้อมกับตรวจภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้กับคนท้องไตรมาสสุดท้าย ดังนั้น แม่ ๆ ควรไปตามที่หมอนัดทุกครั้ง เพราะไม่แน่ว่า ปากมดลูกอาจจะเปิดแล้วก็ได้ แต่ไม่ใช่ว่า ปากมดลูกเปิด 1 เซ็นติเมตรแล้ว จะถึงเวลาคลอดนะคะ ถ้าไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย คุณหมอบางท่านอาจจะอนุญาตให้กลับบ้านไปก่อน แล้วค่อยสังเกตอาการเจ็บท้องจริง

ผศ.นพ.เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์ ได้บอกถึง อาการเจ็บท้องคลอด อาการที่บ่งบอกว่าเข้าสู่ระยะคลอด มีดังนี้

  1. อาการมูกเลือดออกทางช่องคลอด การตั้งครรภ์ทั่วไปจะไม่มีเลือดออกทางช่องคลอด หากพบว่ามีเลือดสดออกให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องไปพบสูติแพทย์โดยด่วน แต่หากเป็นการเข้าสู่ระยะคลอดตามปกติ เมื่อมีการเปิดของปากมดลูกแล้ว มักจะมีมูกปนเลือดออกมาทางช่องคลอดได้ ลักษณะเป็นเมือกใส เหนียวคล้ายน้ำมูกมีสีแดงปนได้
  2. อาการน้ำคร่ำรั่ว หรือ น้ำเดิน เมื่อมีน้ำไหลออกมาทางช่องคลอด มารดาควรสังเกตให้ดีว่าเป็นน้ำใส ไม่มีกลิ่น เหลว อาจมีเศษตะกอนสีขาวปนเล็กน้อยคล้ายน้ำซาวข้าวแสดงว่าเป็นน้ำคร่ำเดิน ไหลเป็นพักๆหรือต่อเนื่องก็ได้ จะออกมากขึ้นเมื่อขยับตัวหรือเดิน ซึ่งจำเป็นต้องแยกกับตกขาวในช่องคลอดซึ่งจะมีลักษณะเป็นน้ำสีขาวข้นคล้ายนม มีกลิ่นคาวหรือคันร่วมด้วย ในกรณีที่พบว่าเป็นน้ำปนกับตะกอนสีเขียวเข้มแสดงว่าเด็กทารกมีการถ่ายขี้เทาออกมาปนในน้ำคร่ำด้วย กรณีนี้ให้รีบมาพบสูติแพทย์โดยด่วนเนื่องจากทารกอยู่ในภาวะเสี่ยงภัยด้วย
  3. อาการเจ็บครรภ์จริง ในช่วงใกล้คลอดมักจะมีอาการเจ็บครรภ์เตือนบ่อยครั้ง ทั้งนี้เป็นการซ้อมของกล้ามเนื้อมดลูกในการหดรัดตัว ซึ่งการเจ็บครรภ์เตือนนี้มักจะเกิดเป็นพักๆ ไม่สม่ำเสมอ เป็นการบีบตัวเบาๆ ไม่มีรูปแบบ เป็นเวลาสั้นๆ เกิดที่มดลูกในตำแหน่งทั่วไปไม่จำเพาะ เมื่อนอนพักนิ่งๆ อาการจะค่อยทุเลาได้เอง ซึ่งอาการเจ็บครรภ์เตือนนี้ไม่มีอันตรายต่อทั้งมารดาหรือทารกในครรภ์ สามารถสังเกตอาการต่อที่บ้านได้ กรณีที่เจ็บครรภ์จริงมักจะเริ่มมีการหดรัดตัวของมดลูกบริเวณยอดมดลูกก่อนและค่อยกระจายไปทั่วทั้งมดลูก เกิดได้บ่อยขึ้น นานขึ้น แรงขึ้น จนมารดารู้สึกอึดอัดมากขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งอาจมีการรัดตัวอยู่นานเป็นนาทีได้ มีช่วงพักคลายตัว 2-3 นาทีแล้วจึงกลับมาบีบรัดตัวใหม่อย่างสม่ำเสมอต่อไป
  4. อาการลูกดิ้นน้อยลง เนื่องด้วยเมื่อมีอาการเจ็บครรภ์ถี่ขึ้น ทำให้มารดาไม่สามารถรับรู้ลูกดิ้นได้ทุกครั้ง จึงรู้สึกเสมือนว่าลูกดิ้นน้อยลง นอกจากนี้ยังไม่สามารถแยกจากทารกที่มีปัญหาลูกดิ้นน้อยลงจริงได้ จึงควรมาโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจประเมินจากสูติแพทย์โดยตรง

 

ปากมดลูกเปิดช้าไหม

การตรวจสอบว่าปากมดลูกเปิดเท่าไรแล้วจะวัดจากความกว้างของปากมดลูกที่นิ้วมือสามารถสอดเข้าไปได้ หากสามารถสอดปลายนิ้วเข้าไปได้ 1 นิ้ว หมายความว่าปากมดลูกเปิด 1 ซม. หากสอดได้ 2 นิ้ว หมายความว่าปากมดลูกเปิด 2 ซม. หากสอดสองนิ้วแล้วกางนิ้วออกไปชนที่ขอบปากมดลูกได้ ความกว้างของนิ้วที่กางเพิ่มขึ้นจะทำให้สามารถกะได้ว่าปากมดลูกเปิดเพิ่มขึ้นเท่าไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ปากมดลูกเปิด 1 ซม. จัดกระเป๋าเตรียมคลอดให้พร้อม เพราะนั่นเป็นสัญญาณว่า ร่างกายของคุณพร้อมสำหรับการคลอดแล้ว ในระยะนี้ หากนับตั้งแต่เจ็บครรภ์จริงถึงปากมดลูกเปิด 2.5-3 ซม. ใช้เวลาเฉลี่ย 8 ชั่วโมง 30 นาที ในครรภ์แรก และ 5 ชั่วโมง 30 นาที ในครรภ์หลัง ทั้งนี้ไม่ควรเกิน 20 ชั่วโมงในครรภ์แรก และ 14 ชั่วโมงในครรภ์หลัง
  • ปากมดลูกเปิด 4 ซม. ตอนนี้ปากมดลูกของคุณบางลงมากแล้ว จึงเปิดอย่างรวดเร็วจาก 4-9 ซม. ใช้เวลาเฉลี่ย 5 ชั่วโมงในครรภ์แรก และ 2 ชั่วโมง 30 นาที ในครรภ์หลัง การหดตัวของมดลูกจะเพิ่มขึ้น ทำให้เจ็บท้องปานกลางถึงมาก
  • ปากมดลูกเปิด 10 ซม. เรียกว่าระยะเบ่ง โดยนับตั้งแต่ปากมดลูกเปิด 10 ซม. จนกระทั่งสิ้นสุดการคลอด ใช้เวลา ไม่เกิน 2 ชั่วโมงในครรภ์แรก และ ไม่เกิน 1 ชั่วโมงในครรภ์หลัง เมื่อปากมดลูกเปิดหมดแล้ว คุณหมอและพยาบาลจะบอกให้คุณเบ่งคลอด

 

หมอกระตุ้นปากมดลูกยังไง หากปากมดลูกเปิดช้า

หากปากมดลูกเปิดช้า หรือท้องเกิน 40 สัปดาห์ แต่ปากมดลูกไม่เปิด ซึ่งนับว่าเป็นการตั้งครรภ์เกินกำหนด เพราะทางการแพทย์นับว่า

  • คลอดครบกำหนด (term) ตั้งแต่ 37-40 สัปดาห์
  • คลอดเลยกำหนดคลอด (post date) เมื่อคลอดระหว่าง 40-41 สัปดาห์
  • ครรภ์เกินกำหนด (post term) เมื่อคลอดหลัง 42 สัปดาห์

ดังนั้น เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทั้งแม่และลูก หมอมักจะนัดมาเร่งคลอด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีเร่งคลอดเมื่อปากมดลูกเปิดช้าหรือมีอายุครรภ์เกิน 40 สัปดาห์

นอกจากปากมดลูกเปิดช้า ยังมีหลาย ๆ สาเหตุ ที่ทำให้คุณหมอใช้วิธีการเร่งคลอด เช่น แม่ท้องเกิน 40 สัปดาห์, แม่ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด หรือก่อนที่อายุครรภ์จะครบ 37 สัปดาห์, ทารกในครรภ์เติบโตช้าหรือมีน้ำหนักตัวน้อย และแม่ท้องมีความดันโลหิตสูงหรือครรภ์เป็นพิษ โดยวิธีการเร่งคลอดมี ดังนี้

  1. การกวาดปากมดลูก วิธีการนี้จะคล้าย ๆ กับการตรวจภายใน เพราะคุณหมอจะใช้นิ้วกวาดบริเวณปากมดลูกเพื่อค่อย ๆ ขยายปากมดลูกและกระตุ้นให้มีเจ็บท้องคลอด
  2. การเจาะถุงน้ำคร่ำ วิธีการนี้คุณหมอจะใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีหน้าตาคล้ายกับเข็มถักโครเช เพื่อเจาะถุงน้ำคร่ำให้แตกเป็นการกระตุ้นคลอดทำให้มดลูกหดรัดตัว แต่วิธีนี้ก็ไม่ยืนยันว่าจะได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์
  3. การใช้ฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน วิธีการนี้คุณหมอจะใช้ฮอร์โมนในรูปของเจลหรือยา เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์โดยเหน็บช่องคลอดโดยสอดเข้าไปที่บริเวณคอมดลูกเพื่อกระตุ้นการเจ็บครรภ์
  4. ยาเร่งคลอด วิธีการใช้ยาเร่งคลอดจะให้ผ่านสายน้ำเกลือ อาจกระตุ้นให้มีการหดรัดตัวของมดลูกค่อนข้างแรง ดังนั้น คุณแม่จึงอาจต้องใช้การฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังเพื่อระงับความเจ็บปวดด้วย วิธีนี้มักจะใช้ร่วมกับการเจาะถุงน้ำคร่ำ

 

ถ้าปากมดลูกเปิดช้าหรือปากมดลูกไม่เปิดเพิ่ม คุณหมอจะพิจารณาเองว่า ควรทำอย่างไร ดังนั้น คุณแม่ไม่ควรชะล่าใจ ไม่ไปตรวจครรภ์ตามที่หมอนัด เพื่อให้คุณหมอได้วินิจฉัยอาการของแม่ท้อง ตรวจดูความเสี่ยงของการตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา : https://www.med.cmu.ac.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เจ็บท้องหลอก ต่างจากเจ็บท้องจริงอย่างไร เจ็บแบบไหนใกล้คลอด

ประสบการณ์คลอดลูกคนแรก คลอดธรรมชาติ ฟื้นตัวไว น้ำหนักลดเร็ว แม่ขอบอก!

ส่อง! อาการคนท้องไตรมาสสุดท้าย สัญญาณเปลี่ยนแปลงของร่างกายเมื่อท้องแก่เต็มที!

ท้องพร้อมเนื้องอก! แม่ท้องมีเนื้องอกมดลูกเกือบ30ซม. เบียดทารกอยู่ในท่าผิดปกติ

 

บทความโดย

Tulya