ปวดหลังระหว่างตั้งครรภ์ ท้องปวดหลัง สาเหตุและบรรเทาอาการอย่างไร

ยิ่งน้ำหนักครรภ์มากขึ้นเท่าไหร่ คุณแม่ตั้งครรภ์ก็จะเริ่มรู้สึกถึงอาการปวดหลังไม่มากก็น้อย ถึงแม้เป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่ที่ต้องอุ้มท้องชีวิตน้อย ๆ นานถึง 9 เดือน หากแต่ก็ต้องใส่ใจเรื่องสุขภาพด้วยเช่นกัน มาทำความรู้จักเรื่องอาการปวดหลังระหว่างตั้งครรภ์ทั้งสาเหตุและวิธีป้องกันกันเลย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดยทั่วไปอาการนี้มักจะเกิดกับคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสสุดท้ายก่อนถึงกำหนดคลอด ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำหนักของครรภ์ถ่วงอยู่บริเวณด้านหน้า ทำให้ต้องเกร็งกล้ามเนื้อส่วนหลังมากขึ้น นอกจากนี้ ในขณะที่ร่างกายปรับสภาพเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด เส้นเอ็นต่าง ๆ ของร่างกายจะอ่อนนุ่มขึ้นกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้คุณปวดบริเวณเชิงกราน และอาการปวดอาจลามไปถึงบริเวณก้นกบได้ ซึ่งมีอยู่หลายวิธีที่สามารถช่วยป้องกันและรักษาอาการ ปวดหลังระหว่างตั้งครรภ์ ท้องปวดหลัง ได้ เดี๋ยวเรามาดูลักษณะอาการของคนท้องกันก่อนเลย

 

ปวดหลังระหว่างตั้งครรภ์

ลักษณะอาการของคนท้อง

นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ที่จะช่วยตอกย้ำความสงสัยได้ว่าคุณ “น่าจะตั้งครรภ์แล้ว” ได้แก่

1. หน้าท้องขยายใหญ่ขึ้น เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ได้ 3 เดือน และจะค่อย ๆ โตขึ้น และจะคลำพบก้อนนูน ๆ บริเวณเหนือหัวหน่าวในตอนเช้า

2. รู้สึกเด็กดิ้น เมื่อมีอายุครรภ์ประมาณ 4-5 เดือน คุณแม่อาจรู้สึกได้ว่าเจ้าตัวน้อยกำลังเคลื่อนไหวเบา ๆ อยู่ในท้องได้ แต่คุณแม่ครรภ์แรกจะมีความรู้สึกนี้ช้ากว่าคุณแม่ครรภ์หลัง

3. มีอาการหดรัดตัวของมดลูกเป็นบางครั้ง ซึ่งมักจะสังเกตได้เมื่อตั้งครรภ์ไปแล้วประมาณ 4 เดือน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. มีการเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนัง โดยเพิ่มการสร้าง Pigmentation ของผิวหนังมากขึ้น ทำให้บริเวณใบหน้า คอ รักแร้ อวัยวะเพศ มีสีคล้ำขึ้น ไม่ขาวผ่องเหมือนเคย นอกจากนี้เส้นที่กลางท้องอาจจะมีสีคล้ำที่เรียกว่า “Striae” ด้วย

5. รู้สึกขม เฝื่อน หรือมีรสชาติแปลก ๆ ในปาก ซึ่งเป็นอาการของโรคกรดไหลย้อนที่เป็นมากในหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นในขณะตั้งครรภ์นั้นทำให้หูรูดหลอดอาหารอ่อนแอลงและมดลูกที่ขยายตัวเพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหาร หากคุณมีอาการดังกล่าวในขณะตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์

6. ความต้องการทางเพศเปลี่ยนแปลง ขณะตั้งครรภ์ระยะแรกจะเกิดการเปลี่ยนฮอร์โมนและกระทบไปยังภาวะทางอารมณ์ ทำให้คุณแม่บางรายอาจมีความต้องการทางเพศลดลง หรือบางรายก็เพิ่มขึ้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติเมื่อเข้าสู่การตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่สอง

7. ตกขาวเล็กน้อย อาการตกขาวกับคนท้องนั้นเป็นของคู่กัน เนื่องจากบริเวณปากมดลูกและช่องคลอดจะมีการสร้างของเหลวออกมาเพื่อหล่อลื่นบริเวณปากช่องคลอดอยู่แล้ว เมื่อมีการตั้งครรภ์ทั้งสรีระและฮอร์โมนในร่างกายก็มีการปรับตัวสูงขึ้น จึงทำให้พบอาการตกขาวในปริมาณที่มากขึ้นกว่าปกติ โดยจะมีลักษณะเป็นมูกเหลวสีขาวขุ่นหรือสีครีม แต่ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด เพียงแต่คุณแม่อาจจะต้องใส่ใจในเรื่องการทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เกิดความอับชื้นจนก่อให้เกิดเชื้อรา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

8. มีลมในกระเพาะมากขึ้น คุณแม่อาจจะรู้สึกว่าท้องตัวเองป่องขึ้นเล็กน้อย ซึ่งอาจเกิดจากการที่ฮอร์โมนโปรโจสเตอโรนเพิ่มสูงขึ้นและส่งผลต่อระบบการย่อยอาหาร จึงทำให้ระบบย่อยอาหารของคุณแม่ทำงานช้าลง มีแก๊สในกระเพาะมากขึ้น และอาจส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกได้อีกด้วย

9. ท้องผูกมากกว่าปกติ ซึ่งสาเหตุมาจากเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น การบีบตัวของลำไส้ลดลง มดลูกทับลำไส้ใหญ่ แต่คุณแม่สามารถแก้ไขหรือช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง ดื่มน้ำให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ ก็จะช่วยแก้ไขอาการท้องผูกได้

10. ปวดหลัง คุณแม่อาจมีอาการปวดหรือเจ็บหลังช่วงล่างแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งอาการปวดแบบนี้อาจหมายถึงการผ่อนคลายหรือการยืดหยุ่นมากขึ้นของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นก็ได้ ทั้งนี้อาการปวดหลังอาจเกิดขึ้นได้กับคุณตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ เนื่องจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและศูนย์กลางของการทรงตัวของคุณแม่เปลี่ยนไป จึงทำให้ท่าทางในการยืน การนั่ง หรือการเดินของคุณมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ตั้งครรภ์กับอาการปวดหลัง

ท้องปวดหลัง ทำไงดี คุณแม่ตั้งครรภ์กับอาการปวดหลัง

ปัญหาที่พบบ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ มักหนีไม่พ้นอาการปวดหลัง โดยเฉพาะเมื่อมีอายุครรภ์มากขึ้น อาการปวดหลังจะมีมากหรือน้อยแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล ซึ่งบางครั้งอาจปวดหลังจนกระทั่งหลังคลอดแล้วนานเป็นเดือนหรือหลายเดือนเลยทีเดียว เนื่องจากร่างกายต้องใช้เวลาในการปรับสมดุลฮอร์โมนและฟื้นฟูให้กระดูกสันหลังที่เคยแอ่นระหว่างการตั้งครรภ์กลับเข้าที่

 

สาเหตุคุณ อาการปวดหลังของคนท้อง

  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น น้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นและการถ่วงของครรภ์ที่อยู่ด้านหน้าส่งผลให้กระดูกสันหลังแอ่นเป็นเวลานาน หลังต้องแบกรับน้ำหนักตัวมากขึ้นจนทำให้คุณแม่มีอาการปวดหลัง
  • ฮอร์โมนเปลี่ยน หญิงตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนรีแลกซิน (Relaxin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากรังไข่ ขณะตั้งครรภ์ ช่วยกระตุ้นการคลายตัวเอ็นยึดกระดูกเชิงกราน ให้คลอดง่ายขึ้น ซึ่งบางครั้งส่งผลให้มีอาการปวดหลังได้ รวมถึงเมื่ออายุครรภ์ 5 เดือนเป็นต้นไป ทารกจะดึงแคลเซียมจากกระแสเลือดคุณแม่ไปใช้ในการสร้างกระดูกและฟัน เป็นเหตุให้เกิดการกร่อนของกระดูก นำมาซึ่งอาการปวดหลังในที่สุด
  • กล้ามเนื้อส่วนกลางของลำตัวแยกตัว เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ทารกมีการเจริญเติบโต มดลูกขยายใหญ่ขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อตรงส่วนกลางของลำตัวเกิดการแยกตัว ทำให้เกิดอาการปวดหลังตามมา
  • การทรงตัวและท่าทางต่างๆ คุณแม่ที่มีหน้าท้องใหญ่มากขึ้น มักเดินตัวแอ่นไปข้างหลังเพื่อพยุงตัว แต่หารู้ไม่ว่าการแอ่นตัวรวมถึงการนั่งหรือก้มหยิบสิ่งของไม่ถูกวิธี ก็เป็นสาเหตุให้คุณแม่ปวดหลัง
  • ความเครียดขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มีความกังวลและความเครียดซ่อนอยู่ ทำให้กล้ามเนื้อต่างๆในร่างกายเกิดการตึงตัว มีผลต่ออาการปวดหลังได้ด้วยเช่นกัน

 

การป้องกันอาการ ปวดหลังระหว่างตั้งครรภ์   

  • ท่วงท่า – ท่วงท่าของคุณมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการป้องกันอาการปวดที่อาจจะเกิดขึ้น ในขณะที่ยืน ลองจินตนาการว่ามีเชือกเส้นหนึ่งผูกอยู่ที่กลางศีรษะและดึงร่างกายคุณให้ตั้งตรง พยายามเก็บท้องและสะโพกกับลำตัว
  • การนั่ง – ท่วงท่าในขณะกำลังนั่งหรือนอนก็เป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน พยายามหลีกเลี่ยงการนั่งหลังงอ การรองหลังด้วยหมอนหนุนก็สามารถช่วยคุณได้
  • การนอน – ในตอนกลางคืน ให้นอนตะแคงโดยมีหมอนหนุนไว้ระหว่างเข่าเพื่อช่วยให้คุณอยู่ในท่วงท่าที่ถูกต้อง หากต้องการลุกขึ้น ให้ใช้แขนทั้งสองข้างช่วยดันตัวขึ้นและพยุงท้องของคุณเอาไว้ วิธีนี้จะช่วยลดการเกร็งกล้ามเนื้อหลังได้อย่างมากและช่วยป้องกันอาการปวดหลังได้ หรือการเปลี่ยนท่านอนลองนอนในท่าที่ต่างไปจากเดิม
  • รองเท้า – ในช่วงตั้งครรภ์ควรเลือกรองเท้าที่สวมใส่สบาย เพื่อรองรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นและความปลอดภัยขณะเดิน
  • ออกกำลังกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ – สามารถช่วยลดอาการปวดหลังขณะตั้งครรภ์ได้เช่นกัน เช่น การออกกำลังกายในน้ำหรือการฝึกโยคะเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนคลอด หรือแม้แต่การว่ายน้ำและการเดินเบา ๆ เป็นประจำก็สามารถช่วยได้เช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก – ร่างกายของคุณต้องแบกรับน้ำหนักทารกที่เติบโตขึ้นทุกวันอยู่แล้ว ดังนั้น การยกของหนักจะยิ่งทำให้ร่างกายต้องทำงานหนักมากขึ้นอีก หากคุณจำเป็นต้องยกของจริง ๆ ควรจำไว้เสมอว่า ให้ย่อเข่าลงและใช้ต้นขาทั้งสองดันตัวเพื่อยืนขึ้น ห้ามก้มแล้วยกโดยเด็ดขาด
  • การนวด – การนวดแบบผ่อนคลายสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพียงแต่น้ำมันที่ใช้สำหรับนวดแบบทั่วไปอาจไม่เหมาะสำหรับหญิงมีครรภ์ ดังนั้น ก่อนนวดควรขอคำแนะนำจากสูติแพทย์เพื่อความปลอดภัย
  • การประคบร้อนหรือประคบเย็น – การประคบเย็นด้วยถุงน้ำแข็ง หรือประคบร้อนด้วยถุงร้อน ขวดน้ำอุ่นหรือขวดน้ำร้อนก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ทั้งสองวิธี
  • การหนุนรองครรภ์ – คลายอาการเกร็งกล้ามเนื้อหลังของคุณด้วยการนอนตะแคงโดยหาหมอนที่มีรูปทรงแบบลิ่ม (wedge-shaped pillow) หนุนรองไว้ใต้ครรภ์ หากคุณรู้สึกปวดมาก ให้ลองสวมเข็มขัดพยุงหลังแบบพิเศษระหว่างวัน หรือปรึกษาอาการกับพยาบาลผดุงครรภ์

อาการปวดหลังของคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจเป็นเรื่องที่สามารถทนได้ แต่หากมีอาการปวดรุนแรง จนทนไม่ไหว ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองเด็ดขาด แต่ควรปรึกษาแพทย์ที่ฝากครรภ์ เพราะยาบางประเภทอาจมีผลต่อทารกในครรภ์ รวมถึงหากมีอาการปวดร้าวไปถึงก้น ปวดร้าวลงขาอย่างรุนแรง ปวดไปถึงน่อง นิ้วมือ นิ้วเท้า หรือมีอาการเหมือนกล้ามเนื้ออ่อนแรง ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

 

คนท้องนวดได้ไหม

คนท้องนวดได้ไหม

คำถามที่แม่ท้องมักกังวล คนท้องนวดได้ไหม อยากเข้าสปานวดคลายเมื่อยทำได้หรือเปล่า ต้องระวังหรือหลีกเลี่ยงอะไร ไปนวดสปาอย่างไรถึงปลอดภัยสำหรับแม่ท้อง
แม่ท้องนวดได้ไหม กลัวพลาดแล้วลูกแท้ง คนท้องนวดคอบ่าไหล่ได้ไหม
ปัจจุบันมีการนวดสำหรับคนท้องโดยเฉพาะ คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถเข้าสปาเพื่อไปนวดตัว นวดคอบ่าไหล่ได้นะคะ เช่นเดียวกับการนวดเท้า ที่คนท้องสามารถนวดได้เช่นกัน แต่ควรเลือกร้านที่มีผู้เชี่ยวชาญในการนวดสำหรับคนท้องโดยเฉพาะ เพราะวิธีการนวดจะไม่เหมือนปกติทั่วไป จึงควรเลี่ยงการนวดกดจุดสะท้อนในบริเวณต่าง ๆ เพราะอาจจะมีผลต่อทารกในครรภ์ได้
หากคุณแม่เลือกนวดน้ำมัน ควรเลือกใช้น้ำมันที่ไม่มีกลิ่น เพราะกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยบางตัวจะมีผลต่อครรภ์ และที่สำคัญเมื่อมาทำการนวดทุกครั้งควรแจ้งถึงระยะเวลาการตั้งครรภ์ให้พนักงานทราบด้วย

สิ่งที่ควรระมัดระวังในการไปทำสปาสำหรับแม่ท้อง

  • ความร้อน แม่ท้องระวังเสี่ยงแท้ง แม่ท้องควรหลีกเลี่ยงการทำทรีทเม้นท์ที่มีความร้อนสูง เช่น การอบไอน้ำ การเข้าซาวน่า หรือการแช่นำพุงในช่วงตั้งครรภ์ เพราะการเพิ่มอุณหภูมิร่างกายให้สูงเกินไป อาจมีผลต่อระบบการไหลเวียนของเลือดและระบบการส่งอาหารไปเลี้ยงทารกได้
  • มีงานวิจัยระบุว่า การได้รับอุณหภูมิร่างกายที่สูงกว่า 38.3 องศา จะมีผลต่อความเสี่ยงภาวะการแท้งได้ โดยเฉพาะในช่วงสามเดือนแรก
  • การทำทรีทเม้นท์หน้าระหว่างตั้งครรภ์ แม่ท้องนวดหน้าได้ไหม สิ่งที่ต้องระวังคือการแพ้ต่อผลิตภัณฑ์ที่ใช้ ที่อาจมีโอกาสแพ้ได้มากกว่าตอนไม่ตั้งครรภ์ หากใช้ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับผิวแพ้ง่ายและไร้กลิ่นจะปลอดภัยที่สุด ชนิดที่ไม่มีสารเรตินอลหรือเรตินอยด์ที่เป็นประเภทหนึ่งของวิตามินเอ ซึ่งอาจมีผลกระทบกับทารกในครรภ์ได้หากใช้มากเกินไป
  • การทำเล็บระหว่างการตั้งครรภ์ แม่ ๆ ที่ทำสปา อยากทำเล็บสวย ๆ การใช้สีทาเล็บหรือน้ำยาล้างเล็บระหว่างตั้งครรภ์สามารถใช้ได้ แต่คุณแม่ต้องทราบว่าสารเคมีบางตัวหากได้รับมากเกินไปก็อาจมีผลกระทบต่อครรภ์ได้ เพื่อความปลอดภัยคุณแม่ควรเลี่ยงการไปร้านทำเล็บในช่วงสามเดือนแรกดีกว่าค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปวดหลังระหว่างตั้งครรภ์ ไม่ต้องนวดก็หายเมื่อยได้ ??

แพทย์แผนไทยแนะนำว่า กรณีที่มีอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อ เช่น ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดสะโพก ต้องหาสาเหตุก่อนว่าเกิดจากอะไร อาจเกิดจากท่าทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น
  • เดินหรือนั่งหลังค่อม
  • การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมหรือเตียงนอนแข็งหรือนุ่มเกินไป
  • อาชีพที่ต้องนั่งหรือยืนนาน ๆ

 

ปวดหลังระหว่างตั้งครรภ์ แม่ ๆ ควรแก้ไขที่สาเหตุก่อน เช่น

  • เดิน นั่ง หลังตรง
  • ใส่รองเท้าที่ส้นไม่สูงหรือเตี้ยเกินไป
  • ลุกขยับตัวขณะทำงาน เปลี่ยนท่าทางหรือเปลี่ยนฟูกที่นอนให้เหมาะสมกับสรีระร่างกาย

 

ที่มา samitivejhospitals

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ดื่มน้ำมะพร้าวทุกวัน ดีอย่างไร บำรุงคนท้อง ลูกคลอดง่าย ผิวสวยจริงเหรอ

อาหารว่างสำหรับคนท้อง คนท้องหิวบ่อย ควรทานอะไรระหว่างมื้อ

แม่จ๋ารู้มั้ย..อยู่ในท้องหนูรู้สึกอะไรบ้าง 5 เรื่องจริงที่น่าอัศจรรย์ของ ทารกในครรภ์

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังตอนท้อง ได้ที่นี่!

ปวดหลังตอนท้อง เกิดจากอะไร ทำยังไงให้ไม่ปวดคะ

บทความโดย

P.Veerasedtakul