ปล่อยให้ลูกร้องไห้นาน บริหารปอดหรือส่งผลร้ายต่อสมองและจิตใจกันแน่!

มันอาจจะมีสถานการณ์ที่เจ้าตัวน้อยร้องบ่อย ๆ แล้วได้ยินญาติผู้ใหญ่เปรยออกมาว่า ปล่อยให้เด็กร้องไห้ขยายปอดบ้างเถอะ เดี๋ยวก็หยุดร้องเองเกิดขึ้น หรือพ่อแม่บางคนกลับโดนบอกว่า การอุ้มลูกน้อยที่กำลังร้องไห้ขึ้นมานั้นเป็นการ “ทำให้ลูกเสียนิสัย”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความเชื่อที่ว่าการปล่อยให้ลูกร้องไห้นั้นจะช่วยให้ลูกสูดหายใจเข้าออก ทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น และจะช่วยบริหารปอดให้แข็งแรงขึ้น แม้การที่เด็กร้องไห้นั้นเป็นหนึ่งในพัฒนาการที่บ่งบอกถึงการมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงของลูก แต่การ ปล่อยให้ลูกร้องไห้นาน อาจส่งผลร้ายต่อพัฒนาการทั้งสมองและอารมณ์ของลูกได้

ปล่อยให้ลูกร้องไห้นาน บริหารปอดหรือส่งผลร้ายต่อสมองและอารมณ์กันแน่!

เด็กที่ถูกปล่อยให้ร้องไห้เป็นเวลานานเกินไป จะทำให้สมองหลั่งฮอร์โมนความเครียดคอร์ติโซล์ (cortisol) ออกมามากกว่าปกติ เมื่อเพิ่มสูงขึ้นฮอร์โมนความเครียดดังกล่าวก็จะไปขัดขวางพัฒนาการของเนื้อเยื่อระบบประสาทในสมอง ยับยั้งการเจริญเติบโต และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันลดต่ำลง ส่งผลให้ความสามารถในการเรียนรู้และความจำของเด็กลดลง รวมไปถึงไปขัดขวางกระบวนการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ ๆ อีกด้วย แต่ถ้าหากลูกได้รับการปลอบโยน ร่างกายจะหลั่งสารอะดรีนาลีนออกมา ระดับฮอร์โมนคอร์ติโซล์ก็จะลดลง ซึ่งโดยปกติแล้วเด็กจะร้องไห้ไม่เกิน 15 นาที ดังนั้นพ่อแม่จึงไม่ควรปล่อยให้ลูกน้อยร้องไห้นานเกิน 20 นาที และการเพิกเฉยต่อลูกน้อยที่กำลังร้องไห้นั้นไม่ใช่ความคิดที่ดี โดยเฉพาะกับเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี

ผลลัพธ์จากการเพิกเฉยทารกที่กำลังร้องไห้อาจส่งผลร้ายต่อพัฒนาการ

การร้องไห้เป็นหนทางเดียวในการสื่อสารของทารก

ทารกที่ยังส่งเสียงเป็นคำพูดไม่ได้นั้นจะมีภาษาที่แสดงออกให้พ่อแม่รู้คือการส่งยิ้มและร้องไห้ อารมณ์ทั้งสองเป็นไปตามธรรมชาติและเป็นการสื่อสารอารมณ์เพียงวิธีเดียวที่จะทำให้พ่อแม่ตอบสนอง การที่พ่อแม่เพิกเฉยต่ออารมณ์ของลูก ขาดการอุ้มและปลอบโยนจะส่งผลต่อจิตใจ ขาดความรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยซึ่งส่งผลต่อภาวะมั่นคงทางอารมณ์ได้

การเพิกเฉยต่อเสียงร้องไห้ของลูกอาจส่งผลเสียต่อการแสดงออกทางคำพูด

เมื่อพ่อแม่ไม่ตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ เด็ก ๆ ก็จะเรียนรู้ไปว่าพวกเขาไร้ซึ่งพลังในการสื่อสารความรู้สึกทุกข์ใจ เกิดความรู้สึกไม่มีคุณค่าในตัวเอง ผลของมันอาจทำให้เด็กมีปัญหาในการทำความเข้าใจกับอารมณ์ตนเอง ในที่สุดแล้วอาจส่งผลถึงทักษะทางด้านภาษา ทำให้ลูกมีปัญหาในการพูดออกมาเป็นคำพูด

กลายเป็นเด็กเก็บกด

เมื่อการร้องไห้ของลูกถูกเพิกเฉย อารมณ์เศร้าที่ต้องการสื่อสารบอกพ่อแม่ถูกละเลย อาจส่งผลในระยะยาวเมื่อโตขึ้น เด็กจะติดการเก็บกดอารมณ์ “เศร้า” จนถือเป็นเรื่องปกติ การที่พ่อแม่ไม่ใส่ใจอารณ์ลูก จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อทั้งตัวเด็กและพ่อแม่ เนื่องจากอารมณ์ของลูกที่ถูกมองข้ามไปจะทำให้ลูกไม่เห็นความสำคัญที่จะต้องพูดคุยกับพ่อแม่อย่างเปิดใจ

ไม่รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

เมื่อพ่อแม่ไม่สนต่อเสียงร้องไห้ ลูกก็จะเติบโตมาด้วยการไม่รู้จักเข้าอกเข้าใจผู้อื่น ดังนั้นถ้าพ่อแม่ต้องการให้ลูกเป็นคนที่มีความเมตตา อย่าได้ปฏิเสธที่จะให้ความรักและความสนใจเมื่อลูกร้องไห้

แม้การร้องไห้นั้นเป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับมนุษย์ทุกคน แต่สำหรับเด็กทารกแล้วพ่อแม่อาจไม่ควรปล่อยให้ลูกร้องไห้นาน หากลูกส่งเสียงร้องไห้ควรเข้าไปค้นหาสาเหตุการร้องไห้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าหิวหรือเจ็บปวด หรือต้องการให้พ่อแม่ตอบสนองความต้องการ การปลอบเพื่อทำให้ลูกน้อยหยุดร้องไห้นั้น จะทำให้พวกเขาได้รับรู้ถึงความอบอุ่นและปลอดภัย สัมผัสจากพ่อแม่ที่ทำให้ลูกหยุดร้องนั้น จะช่วยให้ฮอร์โมนความเครียดที่เกิดขึ้นให้ลดลง ส่งผลต่อพัฒนาการสมองที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และการจดจำได้ดี และเป็นการสร้างรากฐานทางอารมณ์ที่แข็งแกร่งให้กับลูกน้อยที่จะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีจิตใจดีต่อไป.

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีคุยกับลูกวัย 0-1 ปีให้สื่อถึงใจลูกที่สุด

ใช่ว่าลูกเล็กจะไม่เข้าใจที่พ่อแม่สื่อสารกับเขา เพราะถึงแม้ลูกจะยังไม่สามารถตอบกลับได้ แต่พ่อแม่ก็ไม่ควรเป็นผู้สื่อสารอยู่เพียงฝ่ายเดียว เราต้องดูปฏิกิริยาของลูกด้วย  และยิ่งคุยกับลูกบ่อยเท่าไหร่ พัฒนาการของลูกก็จะยิ่งดีขึ้นมากเท่านั้น มาดูกันดีกว่าว่าพ่อแม่จะมี วิธีสื่อสารกับทารก ได้อย่างไรบ้าง

1.ภาษาท่าทางและน้ำเสียง

ท่าทางที่เปี่ยมไปด้วยความรักจำเป็นมาก เพื่อให้ลูกรู้สึกอบอุ่น ไว้วางใจ ห้ามอารมณ์เสียใส่ลูก เพราะลูกยังเล็กเกินกว่าจะรู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควรทำ

2.ใช้คำซ้ำและเน้นคำที่สำคัญ

โดยเฉพาะช่วงเวลาที่กำลังพยายามจะสอนลูก เช่น การเรียกชื่อลูกบ่อยๆ เพื่อให้เขารู้จักชื่อตัวเอง

3.เรียกชื่อสิ่งที่เห็น

แม้ลูกจะยังพูดตามไม่ได้ แต่ลูกก็สามารถจดจำและเข้าใจสิ่งที่พ่อแม่พูดได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4.มีเสียงประกอบสิ่งที่พูดถึง

เช่น พูดถึงแมว ก็ออกเสียง “เมี๊ยว” และทำท่าเลียนแบบแมวไปด้วย

5.พูดชมลูก

ทุกครั้งที่ลูกพยายามพูดหรือสื่อสารได้ถูกต้อง อย่าลืมกล่าวชมเป็นกำลังใจให้ลูกด้วย

6.สบตา

ทุกครั้งที่พูดคุยกับลูก เพื่อให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่ตั้งใจคุยกับเขา

พ่อแม่ที่ใช้เสียงพูดคุยกับลูก ส่งเสียงต่างๆ กับลูก จะช่วยกระตุ้นการพูดคุยของลูก หรือการให้ลูกได้เลียนเสียงต่างๆ จะส่งผลดีต่อระบบประสาทด้านการรับฟัง ทำให้ลูกมีสมาธิ และช่วยเรื่องการแยกแยะเสียงได้ดี ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการสะกดคำ การเชื่อมโยงพยัญชนะกับสระต่างๆ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการเรียน การอ่าน และการเขียนที่ดีต่อไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาลูกให้ครบตามประสาทสัมผัสทั้ง 7 ด้าน

เด็กๆ จะเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 7 ด้านผสานกัน ถ้าคุณพ่อคุณเเม่อยากฝึกให้ลูกเป็นเด็กที่เก่ง ก็ควรฝึกลูกน้อยตั้งเเต่เเรกเกิดไปจนถึงประมาณ 3 ปี เพราะเป็นช่วงที่สมองเด็กพัฒนาเยอะ เรามาดูกันดีกว่าประสาทสัมผัส 7 ด้านมีอะไรบ้าง เเล้วจะพัฒนาผ่านกิจกรรมอะไรได้บ้างนะ

1. การมองเห็น

เด็กๆ จะพัฒนาด้านการมองเห็นด้วยการกะระยะ การแยกเเยะความต่างของสิ่งรอบตัว
วัยทารก 

  • เล่นจ๊ะเอ๋
  • ให้มองกระจกเงา
  • เเต่งห้องนอนให้สว่าง
  • เล่นกับไฟฉาย (เด็กจะสนใจการมองตามเเสงไฟ)
  • ให้เล่นของเล่นสีสันสดใส

วัยเรียน
เกมฝึกสายตา เช่น เกมจับคู่ภาพ เกมหาจุดต่างในภาพ

2. การสัมผัส

การรับรู้ด้านการสัมผัสพัฒนาได้ง่ายกว่าด้านอื่น เพราะเด็กทุกช่วงวัยจะมีการเล่น หยิบจับสิ่งของ อยู่เเล้ว

การฝึกฝน:
วัยทารก 

  • พ่อเเม่สัมผัสลูกผ่านการอุ้ม
  • อาบน้ำให้ลูกโดยใช้ฟองน้ำถูตัว
  • นวดตัวให้ลูก

วัยเรียน 

  • เล่นปั้นดินน้ำมัน
  • เล่นทราย
  • สัมผัสพื้นหญ้า

3. การฟัง

ประสาทสัมผัสด้านนี้ถูกพัฒนาขึ้นตั้งเเต่ลูกยังเป็นเด็กทารก ซึ่งถ้าพัฒนาดีๆ ก็จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการด้านการสื่อสารที่ดีด้วย

การฝึกฝน:
วัยทารก 

  • ฟังเสียงธรรมชาติ
  • พูดคุยกับลูกบ่อยๆ
  • เล่นของเล่นที่มีเสียงกับลูก (กรุ๋งกริ๋ง)

วัยเรียน 

  • ให้เล่นดนตรี
  • ให้ลองฟังเสียงสัตว์เเล้วบอกว่าเป็นตัวอะไร
  • ให้ลองจับคู่เสียงที่เหมือน

4. การรับกลิ่น

การรับรู้กลิ่นก็คือการรับรู้สัมผัสทางอากาศ ซึ่งคุณพ่อคุณเเม่ควรให้ลูกดมกลิ่นหลายๆ แบบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การฝึกฝน

วัยทารก
กอดลูกบ่อยๆ เพื่อให้ลูกจำกลิ่นพ่อเเม่ได้

วัยเรียน
เล่นปิดตาดมกลิ่นเเล้วทายว่าเป็นกลิ่นอะไร เช่น กลิ่นมะนาว กลิ่นดอกไม้ กลิ่นอาหาร ฯลฯ

5. การรับรส

พัฒนาการด้านนี้เป็นการฝึกให้รับรู้เเละเเยกเเยะรสชาติ เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม ซึ่งเด็กๆ เริ่มต้นมาจากการรับรู้รสชาติของน้ำนมเเม่

การฝึกฝน:
วัยทารก 

  • ดื่มนมเเม่
  • ทานอาหารรสชาติอ่อน

วัยเรียน 

  • ทานอาหารรสชาติหลากหลาย
  • ทานอาหารที่มีอุณหภูมิร้อน-เย็น

6. การทรงตัว

การทรงตัวถือเป็นอีกด้านที่สำคัญ เพราะเป็นการฝึกระบบการเคลื่อนไหวเลย การฝึกฝนส่วนใหญ่ควรเป็นกิจกรรมที่ให้ขยับเยอะๆ

การฝึกฝน:
วัยทารก 

  • นั่งบนลกบอลใหญ่ๆ
  • นอนในเปลญวณ
  • นั่งทรงตัวตรงๆ
  • ลองให้ลูกโยก ซ้าย,ขวา,หน้า,หลัง

วัยเรียน 

  • ปั่นจักรยาน
  • กระโดด
  • ยืนขาเดียวบนกระดานทรงตัว
  • นั่งชิงช้า
  • เต้น
  • ตีลังกา

7. การรับความรู้สึก ของส่วนต่างๆ ในร่างกาย

การรับรู้ส่วนต่างๆ ในร่างกายช่วยให้เด็กๆ รู้จักตัวเองดีขึ้น สามารถเคลื่อนไหวได้ไม่ติดขัด มั่นใจ กล้าทดลองทำสิ่งใหม่ๆ

การฝึกฝน:
วัยทารก 

  • ฝึก กลิ้ง คืบ คลาน เเละเดิน
  • ให้เอื้อมหยิบของเล่น

วัยเรียน
ให้เล่นเล่นปีนป่าย ห้อยโหน เพื่อฝึกกล้ามเนื้อ

กิจกรรมเหล่านี้ช่วยพัฒนาเส้นใยประสาทในสมองของเด็ก ช่วยให้เรียนรู้ได้ดี โดยใยประสาทที่ได้รับการพัฒนาจะคงอยู่ ส่วนใยประสาทที่ไม่ถูกพัฒนาก็จะหายไปตอนช่วงอายุประมาณ 6-10 ปี ถ้าได้รับการฝึกฝนพัฒนาอย่างดีก็จะเป็นพื่นฐานให้เด็กใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

โรคซึมเศร้าในเด็ก ภัยเงียบที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

พ่อแม่หลายท่านมักจะกังวลว่าเมื่อลูกเราโตขึ้นจนกระทั่งเริ่มเข้าสู่วัยเรียน อาจมีการปรับตัวเข้าสู่สังคม การใช้ชีวิตของลูกเราจะเป็นอย่างไรบ้าง บางครั้งลูกๆ อาจพบความเครียดจนกระทั่งความเครียดสะสม มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เริ่มเก็บตัว ไม่ค่อยพูด ก็ทำให้พ่อแม่กังวลใจไม่น้อย

ลูกแค่เศร้า…หรือเข้าข่ายเป็น “โรคซึมเศร้า” กันแน่!

โรคซึมเศร้า (depression)   เป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่ง ที่อารมณ์ซึมเศร้าจะมีมากกว่าปกติ คือมีอารมณ์เศร้าติดต่อกันเกือบทั้งวัน ติดต่อกันทุกวันนานเกิน  2 สัปดาห์

โดยเมื่อลูกเป็นโรคซึมเศร้า…จะมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีอารมณ์ที่ซึมเศร้าลง เบื่อหน่ายมากขึ้น หรือบางรายอาจมีอารมณ์หงุดหงิด
  • ไม่มีความสุขความเพลิดเพลินเมื่อทำกิจกรรมที่ชอบ
  • ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลดลง หรือในขณะที่บางรายก็ทานอาหารมากเกินไป
  • นอนไม่หลับ หลับๆตื่นๆ หรือตื่นเร็วกว่าปกติ ในขณะที่บางรายนอนทั้งวัน
  • เฉื่อยชา
  • ไม่มีสมาธิในการเรียน ความจำแย่ลง
  • รู้สึกผิด โทษตัวเอง รู้สึกไร้ค่า
  • อยากฆ่าตัวตาย

สาเหตุของโรคซึมเศร้าในเด็ก มักประกอบไปด้วย

ทางชีวภาพ เกิดจาก

  • พันธุกรรม ถ้ามีประวัติโรคซึมเศร้าในครอบครัว ก็จะทำให้เด็กมีโอกาสป่วยด้วยโรคซึมเศร้า มากกว่าเด็กทั่วไป
  • ยาบางชนิดสามารถทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ เช่น ยาเคมีบำบัด ยาลดความดัน สารเสพติด เป็นต้น
  • โรคบางชนิด เช่นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เป็นต้น

ทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆ  

ประกอบไปด้วย ความเครียด ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาในครอบครัว  การทะเลาะกับแฟน ผลการเรียนตกต่ำ การคบเพื่อน ถูกเพื่อนกลั่นแกล้งเสมอ ๆ หรือรู้สึกไม่ชอบ กลัว กังวล กับบุคคลรอบข้าง หรือ เด็กขาดความมั่นใจในตนเอง กลัวการแข่งขัน

พ่อ แม่ ควรสังเกตอาการลูกด้วยตนเอง..ก่อนสายเกินแก้

  • เด็กเริ่มเก็บตัว ไม่ค่อยพูดเหมือนก่อน
  • เศร้า ร้องไห้ หงุดหงิดง่าย ทำอะไรก็ผิดหูผิดตา หงุดหงิดไปซะหมด
  • ไม่ชอบทำกิจกรรมที่เคยชอบทำมาก่อน เช่นชอบวาดรูป แต่ตอนนี้ไม่ชอบแล้ว
  • ไม่อยากทำอะไรเลย นอนทั้งวัน แอบร้องไห้คนเดียว
  • บ่นอยากตาย

วิธีรับมือ…เมื่อลูกเป็นโรคซึมเศร้า

  • พ่อแม่ควรหมั่นพูดคุยกับลูก สังเกตพฤติกรรม สอบถามอาการสารทุกข์สุกดิบ ถามถึงความสุขของลูก  เพื่อช่วยแก้ปัญหาในเบื้องต้น ก่อนที่ลูกจะตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า
  • การทำกิจกรรมร่วมกับลูก ไปทำกิจกรรมใหม่ๆ บรรยากาศใหม่ๆ เพื่อให้เด็กมีความสุขเพิ่มขึ้น แต่ต้องเป็นกิจกรรมที่ไม่ทำให้แย่ลงไปกว่าเดิม
  • พูดคุยกับลูกโดยเหตุและผล ไม่ใช้อารมณ์ ให้ความเอาใจใส่และความอบอุ่นแก่ลูกอยู่เสมอ เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่าปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่เร่งรัด ให้บรรยากาศที่ผ่อนคลาย ไม่ตึงเครียด
  • คอยสำรวจพฤติกรรมหรือขอความช่วยเหลือจากคุณครูให้ช่วยสอดส่องพฤติกรรมของลูก และเปิดเผยพูดคุยกับคุณครูเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาของลูกที่พบที่บ้านและโรงเรียน เพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด
  • หากอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาจิตแพทย์โดยด่วนเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

ที่มาจาก : www.pobpad.com

บทความใกล้เคียงที่น่าสนใจ :

ถอดรหัส เสียงร้องไห้ทารก รู้มั้ย? หนูร้องไห้แบบนี้เพราะอะไร

จู่ๆ ลูกร้องไห้แบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย เป็นเพราะ ลูกเห็นผี หรือเปล่า!!!

วิธีพัฒนาประสาทสัมผัสของลูก ตั้งแต่ในท้อง ทำอย่างไรให้ลูกตื่นตัว

บทความโดย

Napatsakorn .R