สิทธิประกันสังคมฝากครรภ์ เพิ่ม 1 พันบาท แม่ท้องต้องทำยังไง ใช้เอกสารอะไรบ้าง

ประกันสังคม เพิ่มค่าฝากครรภ์ 1 พันบาท ตอนนี้กำลังดำเนินจากยกร่างประกาศจากคณะกรรมการการแพทย์ และจะมีผลบังบับใช้เร็วๆ นี้ แม่ท้องต้องทำอย่างไร ถึงจะไม่เสียสิทธินี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ประกันสังคม เพิ่มค่าฝากครรภ์ งานนี้แม่ท้องมีเฮ! สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงมติคณะกรรมการประกันสังคมและที่ปรึกษา มีมติเห็นชอบปรับปรุง สิทธิประกันสังคมฝากครรภ์ กรณีคลอดบุตร โดยสนับสนุนค่าฝากครรภ์เพิ่มอีก 1,000 บาท คนท้องจะได้สิทธิอย่างไร ทาง TheAsianparent เอาข้อมูลมาฝากกันค่ะ

 

สิทธิประกันสังคมฝากครรภ์ คืออะไร ต้องทำอย่างไรถึงจะได้

ปัจจุบันทาง ประกันสังคม ได้จ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร ให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 13,000 บาท ต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง ซึ่งในขณะนี้ มติคณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบให้มีการสนับสนุนค่าตรวจ และรับฝากครรภ์ เพิ่มเติมไปอีก 1,000 บาท แก่ผู้ประกันตนที่มีการเข้ารับบริการฝากครรภ์ในสถานพยาบาลตามเกณฑ์คุณภาพที่กำหนด คือ

  • ครั้งที่ 1: อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายในอัตรา 500 บาท
  • ครั้งที่ 2: อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายในอัตรา 300 บาท
  • ครั้งที่ 3: อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตรา 200 บาท

ประกันสังคมฝากครรภ์ ประกันสังคมเพิ่ม ค่าฝากครรภ์ สิทธิประกันสังคมฝากครรภ์

หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข การรับสิทธิประกันสังคมฝากครรภ์

  • ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร
  • ผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงาน เพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลา 90 วัน
  • การใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงาน เพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน
  • กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง

หากผู้ประกันตนคือสามี จะได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรจำนวน 13,000 บาท

 

ขอรับเงิน ค่าฝากครรภ์ สิทธิประกันสังคมฝากครรภ์ ต้องทำยังไง

วิธีการขอรับเงิน ค่าฝากท้อง ประกันสังคม แม่ท้องต้องเตรียมหลักฐาน การเข้ารับบริการการฝากครรภ์ จากสถานพยาบาลที่เข้าไปใช้บริการในแต่ละครั้ง แล้วนำหลักฐานนั้นไปยื่นขอรับประโยชน์ทดแทน ในส่วนของค่าตรวจ และค่าฝากครรภ์เพิ่มเติม โดยไม่ต้องรอให้มีการคลอดบุตร

ทั้งนี้ เงินที่แม่ท้องจะได้รับเพิ่มจากประกันสังคมนั่น กำลังอยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการยกร่างประกาศจากคณะกรรมการการแพทย์ และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2561 เป็นต้นไป เพื่อเป็นของขวัญวันแรงงานแห่งชาติ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีพิจารณาสั่งจ่ายเงิน สิทธิประกันสังคมฝากครรภ์

  1. กรณีเป็นเงินสด และเช็ค ผู้มีสิทธิสามารถมาขอรับด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทนก็ได้
  2. ส่งธนาณัติให้ผู้ประกันตน
  3. โอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

 

เอกสารสำหรับยื่นขอประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตร

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
  2. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  3. สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
  4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมี 11 ธนาคาร ดังนี้
    1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
    2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
    3. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
    4. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
    5. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
    6. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
    7. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
    8. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
    9. ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
    10. ธนาคารออมสิน
    11. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ: รวมแพคเกจคลอด ปี 2564 ค่าคลอดเหมาจ่าย รพ.เอกชน ในกรุงเทพฯ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ประกันสังคมเพิ่มค่าฝากครรภ์ สิทธิประกันสังคมฝากครรภ์

สถานที่ยื่นเรื่อง ขอประโยชน์ทดแทน

  1. สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่
  2. สำนักงานประกันสังคมจังหวัด
  3. สาขาของสำนักงานประกันสังคมที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

 

สิทธิประกันสังคม หลังคลอดลูก แม่ได้อะไรบ้าง

  1. ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตรหนึ่งคน แต่ท่านต้องเป็นผู้ที่ จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
  2. สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน ยกเว้น บุตรบุญธรรม หรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
  3. หากผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ บุตรยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่ท้องอย่าลืมเช็คสิทธิ และเงื่อนไขของตนเอง จะได้ไม่พลาดสิทธิในการได้รับเงิน ค่าฝากภรรค์ ค่าคลอดลูก และเงินสงเคราะห์ลูก จนถึง 6 ปี ของประกันสังคมนะคะ

หากแม่ท้องท่านไหนสนใจ คู่มือสำหรับแม่ตั้งครรภ์ ภายในจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ พัฒนาการ โภชนาการ ข้อควรระวัง และการดูแลลูกน้อยในครรภ์ ที่จัดทำขึ้นมาโดย TheAsianparent คุณสามารถกดลงทะเบียน รับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ไฟล์ PDF ได้ฟรี! ด้านล่างเลยค่ะ

ลงทะเบียนรับคู่มือ คลิก!

 

ที่มา: dailynews, sso

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

ค่าคลอดเหมาจ่าย ปี 2561 ราคาแพ็คเกจคลอด ของโรงพยาบาลทั่วไทย

สิทธิบัตรทอง คนท้อง และลูกน้อย สิทธิประโยชน์ดีๆ ที่แม่ควรรู้

เพิ่มเงินบัตรคนจนเป็น 500 บาทต่อเดือน เริ่มกลางมีนาคม 2561

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Khunsiri