น้ำตาจะไหล โถววว ลูกเอ๊ย ปฏิกิริยาวินาที เด็กหูหนวกได้ยินเสียงแม่ครั้งแรก (มีคลิป)

น้ำตาจะไหล ปฏิกิริยาวินาทีที่ เด็กหูหนวกได้ยินเสียงแม่ครั้งแรก เว็บไซต์นิวส์เนอร์เผยคลิปเรียกน้ำตา จากเด็กเพศหญิงตัวน้อยหูหนวก กับการได้ยินเสียงแม่บอกรักเป็นครั้งแรก หลังใส่เครื่องช่วยฟัง ถึงน้ำตาไหลหลังเสียงของแม่ด้วยความตื้นตันใจ

ปฏิกิริยาวินาที เด็กหูหนวกได้ยินเสียงแม่ครั้งแรก

เด็กตัวน้อยนามว่า ชาร์ลี ชื่อย่อของ ชาร์ล็อตต์ เกิดมาพร้อมกับสภาพผิดปกติจากการได้ยิน ไม่ตอบสนองกับเสียงใด ๆ ที่พ่อแม่พูด ทำให้เกิดความสงสัยแก่ผู้ปกครอง จึงพาเชอร์ลี่ไปหาแพทย์เพื่อตรวจสอบหาอาการผิดปกติ ต่อมาก็นำเครื่องช่วยฟังติดให้กับเด็กหญิงคนนี้

หลังจากใส่เครื่องช่วยฟังแล้ว แม่ของชาร์ลีก็พยายามสื่อ พร้อมกับบอกรักลูกด้วยเสียงแห่งความหวัง และห่วงใย ระหว่างนั้นเองท่าทีตอบสนองของเด็กก็ทำเอาผู้ที่ชมคลิปวิดีโอถึงกับน้ำตาไหลตาม หลังชาร์ลีตอบสนองด้วยการแสดงอารมณ์ พร้อมน้ำตาที่ไหลออมาจากดวงตาใส ๆ

ปฏิกิริยาวินาทีเด็กหูหนวกได้ยินเสียงแม่ครั้งแรก

หูหนวกแต่กำเนิด ความผิดปกติทางด้านการสื่อสารของทารกแรกเกิด

บทความ : ลูกจะได้ยินที่แม่พูดหรือเปล่า 10 ปัจจัยเสี่ยง ภาวะสูญเสียการได้ยินของทารกแรกเกิด

ภาวะสูญเสียการได้ยินของทารกแรกเกิด คือมีลักษณะประสาทหูพิการสองข้างระดับรุนแรงตั้งแต่แรกเกิด เมื่อโตขึ้นจะส่งผลให้เป็นใบ้ได้ ซึ่งจะทำให้เด็กมีความบกพร่องทางด้านการสื่อสาร อาจจะพูดได้ช้ากว่าเด็กปกติ ทำให้กลายเป็นเด็กด้อยโอกาสทางสังคม ทางการศึกษา และการประกอบอาชีพ ส่งผลให้เกิดปัญหาในครอบครัวขึ้น แต่มีหลักฐานในต่างประเทศพบว่า หากสามารถให้การวินิจฉัยภาวะสูญเสียการได้ยินในเด็กทารกแรกเกิดได้ในระยะแรกก่อนอายุ 3 เดือน และทำการรักษาฟื้นฟูก่อนอายุ 6 เดือน จะทำให้สมรรถภาพในด้านการฟังและการพูดมีการพัฒนาได้ใกล้เคียงเด็กปกติ

ปฏิกิริยาวินาทีเด็กหูหนวกได้ยินเสียงแม่ครั้งแรก

10 ปัจจัยเสี่ยง ภาวะสูญเสียการได้ยินของทารกแรกเกิด

อุบัติการณ์ที่พบในประเทศไทย มีรายงานพบอัตราการเกิดภาวะสูญเสียการได้ยิน 1.7 รายต่อ 1,000 รายของทารกที่เกิดใหม่ต่อปี ปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะนี้ขึ้นในทารกแรกเกิดถึง 2 ขวบ ได้แก่

1.พ่อแม่หรือญาติใกล้ชิดเป็นโรคประสาทหูพิการ เป็นใบ้ตั้งแต่กำเนิดหรือตั้งแต่วัยเด็กเล็ก

2.เกิดภาวะทารกติดเชื้อในครรภ์ หรือมารดาติดเชื้อขณะตั้งครรภ์

3.ในขณะตั้งครรภ์แม่ได้รับยาหรือสารที่เป็นพิษ ซึ่งมีผลกระทบต่อลูกในท้องหรือขณะคลอด

4.ทาแรกเกิดมีความผิดปกติของรูปใบหน้า ศีรษะ รวมทั้งความผิดปกติของรูปร่างใบหู และช่องหู

5.มีการเจ็บป่วยหรือภาวะที่ต้องดูในหอบริบาลวิกฤตนาน 48 ชั่วโมงหรือมากกว่า

6.มีอาการแสดงที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มโรคที่มีภาวะสูญเสียการได้ยินแบบประสาทหูชั้นในเสีย และหรือทางนำเสียงเสีย

7.ทารกมีภาวะตัวเหลือง เนื่องจากสารบิลิรูบินในเลือดสูงจนต้องถ่ายเลือด

8.ตรวจพบการติดเชื้อของทารกหลังคลอด ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะสูญเสียการได้ยิน รวมทั้งโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

9.มีความผิดปกติด้านการได้ยิน ด้านภาษา การพูดและหรือพัฒนาการล่าช้าในวัยเด็กเล็ก

10.มีโรคหูน้ำหนวกชนิดน้ำใสที่เกิดซ้ำ หรือปล่อยให้เป็นเรื้อรังนานอย่างน้อย 3 เดือน

พัฒนาการด้านภาษา และการสื่อสารของทารกที่เป็นปกติ

ระยะแรกเกิดถึง 3 เดือน

  • ทารกจะลืมตาตื่นและกะพริบตา หรือสะดุ้ง ตกใจขึ้นได้เมื่อได้ยินเสียงดัง เช่น เสียงแตรรถ หมาเห่า
  • ลูกจะทำท่าคล้ายหยุดฟังเมื่อพ่อแม่คุยกัน หรือหยุดฟังเมื่อพ่อแม่อุ้มและก้มลงคุยใกล้ ๆ

ระยะ 3 – 6 เดือน

  • ทารกสามารถหันศีรษะไปทางที่มาของเสียงด้านข้างใกล้ ๆ ตัวได้ เช่น เสียงพ่อแม่เรียกชื่อ เสียงของเล่นต่าง ๆ
  • สามารถพูดออกเสียงคล้ายพยัญชนะ และสระรวมกัน เช่น “กา-กา” “บา-บา” ซ้ำ ๆ

ระยะ 6 – 9 เดือน

  • ลูกจะหันศีรษะไปมาเพื่อหาเสียงเรียกชื่อ จากทางด้านหลังได้
  • สามารถออกเสียงพยัญชนะและสระได้มากขึ้น โดยทำเสียงติดต่อกันยาว ๆ ได้ 4-6 พยางค์ เช่น “ลา-ลา-ลา-ลา” “บาคาบาคา”
  • จะสนใจฟังและเลียนเสียงต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อม เช่น เสียงหมาเห่า เสียงจิ้งจก ตุ๊กแก

พัฒนาการด้านการได้ยินของลูก

ระยะ 9 – 12 เดือน

  • ลูกจะก้มศีรษะมองไปยังเสียงที่เกิดข้างตัวที่อยู่ต่ำกว่าระดับหูได้อย่างรวดเร็ว
  • สามารถทำตามคำสั่งแสดงท่าทางได้ถูกต้อง เมื่อพ่อแม่พูดให้ลูกทำ เช่น บ๊ายบาย สวัสดี ขอ
  • เริ่มพูดคำแรกได้เป็นคำ ๆ เช่น “แม่ หม่ำ ไป”

ระยะ 12 – 16 เดือน

  • สามารถหันหาเสียงได้ถูกต้องทุกทิศทาง
  • สามารถมองหาสิ่งของหรือคนที่คุ้นเคยได้ถูกต้อง
  • ลูกสามารถพูดเป็นคำ ๆ ได้อย่างน้อย 10-15 คำ โดยมากจะใช้คำพูดเพื่อเรียกชื่อสิ่งต่าง ๆ ที่เห็น เช่น “หมา แมว” หรือ บอกความต้องการ เช่น “เอา ไป” ได้แล้ว

ระยะ 18 – 24 เดือน

  • ลูกสามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ เมื่อพ่อแม่เรียกชื่อของสิ่งนั้น เช่น ชี้อวัยวะได้อย่างน้อย 2 อย่าง ชี้สิ่งของที่คุ้นเคยได้
  • พูดได้ประมาณ 40-100 คำ และเริ่มพูดเป็นวลีสั้น ๆ เช่น “เอามา”

ที่มา : www.khaosod.co.th 

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เด็กตู้อบก็รอดได้ ทำอย่างไรให้ทารกแรกเกิดยังมีชีวิตรอด 

สุดยอด! หนูน้อยวัย 3 ขวบ เตะบอลได้ขนาดนี้เลยหรอ (มีคลิป) 

ฟันทารกแรกเกิด ต้องถอนทิ้งหรือเก็บไว้ ภาวะฟันโผล่ในทารกแรกเกิด อันตรายไหมคะหมอ 

บทความโดย

Weerati