– คุณแม่จะฟื้นตัวหลังคลอดได้เร็วกว่าคุณแม่ที่ผ่าคลอด
– เมื่อคลอดเสร็จแล้วมดลูกจะหดตัวเล็กลงตามกลไกธรรมชาติ
– ไม่มีบาดแผลที่มดลูก
– ให้นมบุตรได้ทันทีหลังจากคลอดลูก
– สามารถมีลูกมากกว่า 3 คนขึ้นไป
– ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการผ่าคลอด
– ข้อดีสำหรับทารก คือ ระบบการหายใจของทารกจะทำงานได้ดี เพราะในจังหวะที่คลอดลูกนั้น ลูกจะค่อยๆเคลื่อนตัวช้าๆผ่านช่องคลอดที่มีความยืดหยุ่นแนบกระชับตลอดทั้งลำตัวตั้งแต่ส่วนศีรษะจรดปลายเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้ลูกหายใจเร็วจนเกินไปจนเกิดการสำลักน้ำคร่ำนั่นเอง
อย่างไรก็ตามการคลอดเองได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ทารกมีขนาดศีรษะที่ใหญ่กว่าอุ้งเชิงกรานมาก ภาวะรกเกาะต่ำ การวางตัวของทารกอยู่ในท่าก้น คุณแม่มีภาวะความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรงหรือที่เรียกกันว่าครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น หากมีภาวะดังกล่าวแน่นอนว่าคุณแม่ต้องใช้วิธีการวิธีการผ่าคลอดแน่นอน
คุณแม่บางท่านอาจจะมีคำถามว่าหากท้องแรกผ่าคลอดแล้ว ท้องสองจะสามารถคลอดเองได้หรือไม่ ขอตอบว่าได้ค่ะแต่ต้องอยู่ในดุลพินิจของคุณหมอและปัจจัยประกอบหลายๆอย่าง ขอนำเรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรงของคุณแม่บี ปัจจุบันคุณแม่บีอาศัยอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส มีลูกชายน่ารักสองคน โดยคนแรกผ่าคลอด และคนที่สองคลอดเองค่ะ คลอดที่โรงพยาบาลในประเทศฝรั่งเศส เรามาฟังประสบการณ์ของคุณแม่บีกันนะคะ
อ่านประสบการณ์ของคุณแม่บีในหน้าถัดไป
คุณแม่บีเล่าให้ฟังว่า ท้องแรกตั้งใจที่จะคลอดเองเพราะการคลอดเองคุณหมอบอกว่าดีทั้งต่อตัวผู้เป็นแม่และต่อทารกอีกทั้งร่างกายของคุณแม่จะฟื้นตัวได้เร็ว แต่พอถึงเวลาคลอดจริง ๆ เริ่มเจ็บท้องคลอดแล้วแต่ปรากฏว่า ปากมดลูกเปิดช้ามากคุณหมอตรวจเช็คอาการทารกพบว่า เด็กเริ่มเหนื่อยเพราะหัวใจเต้นช้าลงจึงตัดสินใจผ่าคลอดทันทีแต่โชคดีที่การคลอดเป็นไปด้วยดีจึงปลอดภัยทั้งแม่และลูก
พอท้องสองความตั้งใจที่อยากจะคลอดเองของคุณแม่บีก็ยังมีอยู่ คุณหมอจึงทำการ X-ray ดูอุ้งเชิงกรานเพื่อดูว่าสามารถคลอดเองได้หรือไม่ ปรากฏว่าอุ้งเชิงกรานอยู่ในขนาด minimum พอจะคลอดเองได้แต่ทั้งนี้ก็ต้องรอดูว่าช่วงใกล้คลอดเด็กจะตัวโตหรือกลับหัวอยู่ในท่าปกติหรือไม่ซึ่งทางคุณหมอเองก็ได้เตรียมการผ่าคลอดไว้เช่นกัน
เมื่อถึงวันคลอดก็มีน้ำเดินตามปกติแต่ออกมาค่อนข้างมากแล้ว จึงรีบไปโรงพยาบาลทันทีปรากฏว่าหมอที่ฝากท้องประจำไม่อยู่แต่มีหมอท่านอื่นทำหน้าที่ดูแลแทน เมื่อตรวจดูปรากฏว่าปากมดลูกเปิดแล้วหมอให้ลองเบ่งคลอดเอง เมื่อตรวจเช็คดูเด็กแข็งแรงปกติดี แต่ระหว่างคลอดเด็กออกมาค่อนข้างลำบากเพราะอุ้งเชิงกรานแคบไปนิดและเด็กก็ค่อนข้างตัวใหญ่ หมอจึงต้องใช้คีมหนีบออกมา
คุณแม่บีเล่าอย่างติดตลกว่าฉุกกระชากกันอยู่สักพัก คุณแม่ยังแอบบอกว่าดีนะที่บล็อกหลังไว้ สุดท้ายเด็กออกก็มาอย่างปลอดภัยแต่มีรอบคีมหนีบเป็นแผลเล็กน้อยแต่ไม่เป็นปัญหาเพราะปัจจุบันนี้รอยแผลดังกล่าวก็ไม่ปรากฏแต่อย่างใด
จากข้อมูลเบื้องต้นคงเป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจสำหรับคุณแม่หลายๆท่านที่ยังสงสัยอยู่ว่าผ่าคลอดแล้วท้องต่อไปจะคลอดเองได้หรือไม่
สำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอดในท้องแรกและท้องสองมีความประสงค์อยากจะคลอดเอง ลองมาสำรวจกันคร่าวๆ นะคะว่าเข้าข่ายคลอดเองได้หรือไม่
1.ต้องเป็นคุณแม่ที่เคยผ่าคลอดทางขวางเท่านั้น ตรงนี้ต้องปรึกษาคุณหมอที่เคยทำการผ่าคลอดให้นะคะว่าคุณแม่ได้รับการผ่าในแนวไหน
2.คุณหมอจะทำการตรวจสอบอุ้งเชิงกรานของคุณแม่ว่ามีขนาดเหมาะสมหรือมีขนาดกว้างพอที่จะคลอดเองได้หรือไม่
3.ต้องไม่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับมดลูกหรือผ่าตัด เช่น กรณี ผ่าตัดเนื้องอกมาก่อน
4.ไม่เคยมีปัญหาเรื่องมดลูกแตกมาก่อน
5.ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ โดยเฉพาะภาวะครรภ์เป็นพิษมาก่อน
6.ต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากหมออย่างใกล้ชิด
อย่างไรก็ตามคุณแม่ที่ต้องการคลอดเองหลังจากที่ท้องแรกผ่าตัดคลอดมาแล้ว คุณแม่ต้องตัดสินใจร่วมกับคุณหมอที่ฝากครรภ์ ทั้งนี้ คุณหมอจะเป็นผู้วินิจฉัยเองว่า คุณแม่จะสามารถคลอดเองได้หรือไม่
บทความอื่น ๆ
ชั่วโมงเตรียมคลอดลูก (แบบใช้ยากระตุ้น)