ทำไมเด็กไม่ต้องดื่มน้ำ กินนมแม่อย่างเดียวจะเพียงพอสำหรับลูกหรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำไมเด็กไม่ต้องดื่มน้ำ เป็นคำถามที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนสงสัย ให้ลูกกินแต่นมอย่างเดียวลูกจะอิ่มหรือไม่ วันนี้เราเอาคำตอบมาฝากค่ะ ว่า ทำไมเด็กไม่ต้องดื่มน้ำ

 

เด็กทารกไม่ควรกินน้ำ 

เนื่องจากเด็กแรกเกิด - 6 เดือน ไม่จำเป็นจะต้องดื่มน้ำเปล่าเพิ่ม เนื่องจากกระเพาะของทารกยังเล็กมาก การให้ลูกกินน้ำตามเข้าไปจะทำให้น้ำเข้าไปแทนที่นมในกระเพาะ ลูกจะอิ่มและไม่อยากกินนม และอาจทำให้ทารกได้รับสารอาหารและพลังงานไม่เพียงพอ นอกจากนี้ หากป้อนน้ำมากหรือบ่อยเกินไป อาจอันตรายต่อทารกได้

 

หากทารกกินน้ำมากเกินไป ส่งผลอย่างไร 

ทำไมเด็กไม่ต้องดื่มน้ำ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ได้รับประโยชน์จากนมแม่น้อย
  • เสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการล่าช้า
  • ระบบทางเดินอาหาร ยังไม่สามารถย่อยสลายและดูดซึมอาหาร อาจส่งผลให้ท้องอืดและปวดท้องได้
  • ปัญหาเกลือแร่ในร่างกายต่ำ
  • อาการซึม เบื่ออาหาร และป่วยตามมาได้

 

ควรให้ลูกเริ่มกินน้ำเมื่อไหร่ 

เมื่อทารกอายุมากกว่า 6 เดือน ก็สามารถให้ดื่มน้ำเปล่ารวมถึงอาหารต่าง ๆ นอกจากนมได้ เนื่องจากร่างกายเริ่มต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้น สามารถให้ทารกรับประทานอาหารเสริมอื่น ๆ ที่เหมาะสมตามแต่ละช่วงวัย โดยอาหารเหล่านี้จะทำให้ทารกต้องการปริมาณน้ำมากขึ้นสำหรับการกลืนและย่อย ดังนั้น จึงให้ลูกดื่มน้ำได้บ้าง แต่ไม่ควรให้มากเกินไป เพราะอาจทำให้ปริมาณการกินนมแม่ลดลง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ดีอย่างไร 

  • ประโยชน์ต่อลูก

นมแม่มีสารอาหารครบถ้วนกระตุ้นการเติบโตของสมอง และอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งไม่มีอยู่ในนมชนิดอื่น ทารกที่ทานนมแม่จึงเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ทั้งทางร่างกาย และสมอง มีผลให้เชาว์ปัญญาดี

นมแม่มีคุณสมบัติพิเศษ มีสารภูมิต้านทานป้องกันโรคติดเชื้อต่าง ๆ เช่น โรคหวัด ปอดอักเสบ โรคลำไส้อักเสบ ทารกจะได้รับภูมิคุ้มกันนั้นทันที ตั้งแต่การกลืนนมแม่มื้อแรก ๆ

  • ประโยชน์ต่อแม่ และครอบครัว
    • เกิดความรัก และผูกพันต่อลูก
    • ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ช่วยขับน้ำคาวปลา
    • โอกาสที่แม่จะเป็นมะเร็งเต้านมน้อยลง
    • ทำให้แม่ไม่อ้วน เพราะไขมันที่สะสมไว้ขณะที่แม่ท้องจะค่อย ๆ ถูกนำมาสร้างน้ำนมสำหรับลูก
    • สะดวก ประหยัดเงิน และเวลา

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สารอาหารในน้ำนมแม่ 

ทำไมเด็กไม่ต้องดื่มน้ำ

น้ำนมแม่เปรียบเหมือนวัคซีนหยดแรกของทารก มีสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย ดังนี้

  • โปรตีน
    • ปริมาณสัดส่วนพอเหมาะ ย่อยง่าย ไตทำงานน้อย
    • มีโปรตีนป้องกันเชื้อโรคและพัฒนาการสมอง
    • ไม่มีเบต้าแลกโตโกลบุลินที่ทำให้เกิดภูมิแพ้

 

  • ไขมัน
    • อุดมด้วยโอเมก้า 3, 6 คือ DHA และ AA
    • มีคอเลสเตอรอลสร้างเส้นใยประสาท
    • มีน้ำย่อยไขมันไลเปสช่วยในการย่อยและดูดซึมไปใช้ได้ดี

 

  • คาร์โบไฮเดรต
    • มีน้ำตาลนม (แล็กโตส) สูง ช่วยเสริมพัฒนาการสมอง
    • มีโอลิโกแซคคาไรด์สูงมาก ช่วยส่งเสริมสุขภาพของลำไส้

 

  • วิตามินและแร่ธาตุ
    • ดูดซึมได้ดีกว่า โดยเฉพาะธาตุเหล็ก (ดูดซึม 50 – 75%) สังกะสีและแคลเชียม
    • มีซิลีเนียมที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

 

  • สารป้องกันเชื้อโรค
    • มีเม็ดเลือดขาวและภูมิคุ้มกันโรคจำนวนมาก

 

  • สารช่วยการเจริญเติบโต
    • มีสารช่วยการเจริญเติบโตของสมองและอวัยวะต่าง ๆ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • น้ำย่อยและฮอร์โมน
    • มีน้ำย่อยมากมาย เช่น น้ำย่อยไขมันและแป้ง
    • มีฮอร์โมนนานาชนิด

 

เคล็ดลับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

  • ดูดเร็วที่สุด

ยิ่งลูกดูดเร็วเท่าไร ตั้งแต่ใน 30-40 นาทีแรก หลังคลอดจะเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายเร่งผลิตน้ำนมออกมามากเท่านั้น แม่ควรรีบให้ลูกดูดนมทันทีทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีน้ำนม เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สร้างน้ำนม นอกจากนั้นในช่วง 2-3 วันแรก จะมี หัวน้ำนม สีเหลืองซึ่งมีสารอาหารโปรตีน และสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันอย่างเข้มข้น ลูกจึงควรได้ดูดนมเหลืองนี้ - ดูดบ่อย เมื่ออยู่ที่โรงพยาบาล แม่ควรจะขอลูกมานอนข้างเตียงแม่ตลอดเวลา เพื่อให้ลูกได้มีโอกาสดูดนมแม่เสมอตามความต้องการของลูก การดูดบ่อยจะเป็นการกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมมากขึ้น และจะช่วยลดอาการนมคัดในกรณีที่มีน้ำนมมาก

 

  • ดูดให้ถูกท่า

การดูดที่ถูกท่า ทำให้ลูกดูดได้อย่างสบายเต็มที่ และกระตุ้นให้หลั่งน้ำนมได้เป็นอย่างดี โดยแม่อุ้มลูกกระชับอก ใช้มือประคองเต้านม พยายามสอบหัวนมให้เข้าปากลูกให้ลึกพอจนถึงลานหัวนม ถ้าลูกอมเฉพาะหัวนมจะทำให้แม่เจ็บ และหัวนมแตก

 

  • ดูดให้หมดเต้า

ควรให้ทารกทานนมทั้งสองเต้า เพราะจะเป็นการกระตุ้นแต่ละข้างให้ผลิตน้ำนม และป้องกันไม่ให้นมคัด เมื่อลูกอิ่ม หรือต้องการหยุดดูดให้กดเต้านมออกจากมุมปาก อย่าดึงเต้านมออกตรง ๆ จะทำให้หัวนมเป็นแผล และเป็นอันตรายต่อเหงือกของลูก เมื่อจะให้นมมื้อถัดไปควรให้เด็กเริ่มดุดจากข้างที่ให้ดูดทีหลังก่อน เพราะน้ำนมที่ค้างจะมีประโยชน์มาก

 

ภาวะขาดสารอาหาร 

ภาวะขาดสารอาหารหมายถึงภาวะที่ร่างกายขาดสารที่ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้เติบโตและแข็งแรงและสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย เมื่อเด็กเกิดภาวะขาดสารอาหารก็จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโต เนื่องจากร่างกายจะไม่สามารถดึงดูดสารอาหารที่สำคัญไปใช้ได้ โดยมักพบในทารกและเด็กวัยก่อนเรียน ซึ่งเป็นวัยที่ต้องการสารอาหารและร่างกายกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

 

อาการของ ภาวะขาดสารอาหาร 

  • มีอาการซึมเศร้า ไม่ร่าเริง
  • น้ำหนักน้อยกว่าปกติ
  • รู้สึกกระสับกระส่าย ไฮเปอร์อยู่ตลอดเวลา
  • มีอาการตาเหลือง
  • มีภาวะพูดช้า
  • ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
  • ผิวหนังแห้ง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับเส้นผมบาง ผมขาดง่าย ไม่เเข็งแรง
  • รู้สึกเบื่ออาหาร
  • ผิวหนังเหี่ยวย่น ตาลึก แก้มตอบ

 

ปัญหาที่พบบ่อยในระยะเดือนแรก 

ทำไมเด็กไม่ต้องดื่มน้ำ

  • อาการสะอึก ไม่มีอันตรายจะหายไปเอง
  • จามบ่อย พบได้ในทารกปกติ จะค่อยๆลดลง
  • สะดือ จะหลุดใน 7-10 หลังคลอด หลังจากหลุดจะมีน้ำเหลืองหรือเลือดซึมๆใช้แอลกอฮอล์เช็ดจนกว่าจะแห้ง
  • หายใจเสียงดังครืดคราด มักชัดเจนเวลากลางคืนในห้องแอร์ ควรปรับอุณภูมิห้องนอนประมาณ 25-26 องศาเซลเซียส  ใช้ไม้พันสำลีเช็ดในรูจมูก
  • ถ่ายบ่อย เมื่อลูกอายุประมาณ 5-7 วัน อาจจะถ่ายเหลวและบ่อย อาจถึง15-20 ครั้ง จนก้นแดงเปื่อย ไม่ใช่อาการท้องเสีย ควรแก้ไขโดยบีบนมแม่ส่วนต้นทิ้งไปประมาณ 20-30 มล. เพื่อให้ลูกดูดนมแม่ส่วนหลังซึ่งมีปริมาณไขมันมากกว่าจะอิ่มได้นานไม่ตื่นมาดูดบ่อย ส่วนบริเวณก้นให้เช็ดทำความสะอาด ผึ่งลมให้แห้งและเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยขึ้น
  • ร้องกวนมาก เมื่อลูกอายุประมาณ 2-3สัปดาห์ อาจร้องกวนมากโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะช่วงเย็นๆหรือดึก จับดูหน้าท้องขณะที่ร้องจะเกร็งแข็งมากที่เรียกกันว่า “โคลิค” ให้คุณแม่คอยเปลี่ยนท่าอุ้ม โดยอุ้มขึ้นพาดไหล่แล้วลูบหลังเบาๆเดินไปเดินมา บางครั้งอาจใช้ยาขับลมที่มีตัวยา Simethicone
  • ตัวเหลือง ลูกอายุ 2-3 วัน อาจจะเริ่มตัวเหลือง ถ้าเหลืองน้อยๆไม่ต้องทำอะไร แต่ถ้าระดับความเหลืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจเป็นอันตรายต่อสมอง แพทย์อาจจะหยุดยั้งมิให้เหลืองเพิ่มขึ้น โดยส่องไฟPhoto Therapyบริเวณผิวหนังของลูก ถ้าความเหลืองอยู่ในระดับปกติแพทย์ก็จะอนุญาตให้กลับบ้านได้ ไม่จำเป็นต้องตากแดดหรือดื่มน้ำมากๆ
  • ตาแฉะ ลูกอาจมีน้ำตาไหลข้างเดียวหรือสองข้าง ซึ่งมักเกิดจากท่อระบายน้ำตาบริเวณจมูกตีบหรืออุดตัน ควรนวดและคลึงบริเวณหัวตาต่อกับดั้งจมูก ทำวันละ 2 ครั้ง ถ้ามีขี้ตาสีเหลือง เขียว คล้ายหนอง ควรรีบพาไปพบแพทย์

 

หากลูกมีอาการเหล่านี้ ควรพบแพทย์ 

  • ผื่นแดงเล็กๆตามลำตัวและใบหน้า
  • ตุ่มขาวเล็กๆรอบๆจมูก บนเหงือกหรือบนเพดานปาก
  • ตุ่มขาวเข้มที่หัวนม
  • ขาและข้อเท้าโกง หรือแบะออกเล็กน้อย
  • ลูกผู้หญิงอาจมีเลือดไหลออกจากช่องคลอดเมื่ออายุ 2-3วัน
  • เวลาฉี่หรืออึ ลูกจะเบ่งออกแรงมาก

 

ที่มา : (1),(2),(3)

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :

นมแม่ ของขวัญล้ำค่า จากอกแม่สู่ลูกน้อย

ลูกท้องอืด ทำอย่างไรดี สาเหตุที่ทำให้ลูกท้องอืดคืออะไร รับมืออย่างไรให้ถูกวิธี

10 สัญญาณเตือน ลูกของคุณกำลังขาดสารอาหาร

บทความโดย

nantichaphothatanapongbow