ไขข้อข้องใจ ทำไมทารกกินน้ำผึ้งแล้วตาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จากข่าวใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับโบทูลิซึม ทำให้หลาย ๆ คนหันมาสนใจ โรคหน่อไม้ปี๊บ หรือโบทูลิซึม กันมากขึ้น โดยเฉพาะพ่อแม่ วันนี้เราจึงมาไขข้อข้องใจว่า ทำไมทารกกินน้ำผึ้งแล้วตาย แล้วอาหารอะไรบ้างที่พ่อแม่ต้องระวัง

 

ทำไมทารกกินน้ำผึ้งแล้วตาย สาเหตุเพราะอะไร

เพจ Ramathibodi Poison Center ได้โพสต์ว่า ในปีนี้มีการบาดเจ็บจากโบทูลิซึม (อาการทางระบบประสาท) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อโรคหน่อไม้ปี๊บ 2 เหตุการณ์ด้วยกัน

  • เหตุการณ์แรกคือ เด็กชาวญี่ปุ่นอายุหกเดือนที่กินน้ำผึ้งแล้วมีภาวะหายใจล้มเหลว
  • อีกข่าวคือคนที่กินนาโชชีส 9 รายในแคลิฟอร์เนียแล้วป่วยจากโบทูลิซึม ในจำนวนนี้มีผู้ที่เสียชีวิตด้วย

จะเห็นได้ว่า โบทูลิซึม ทำอันตรายต่อร่างกายได้มากกว่าที่คิด แล้วโบทูลิซึมที่ว่านั้นคืออะไรกันแน่

 

อะไรคือโบทูลิซึม ?

โบทูลิซึม (Botulism) คือ อาการป่วยจากพิษโบทูลินัม (botulinum toxin) ซึ่งถูกสร้างจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Clostridium botulinum (C. botulinum) เจ้า C.botulinum มันชอบที่ ๆ ไม่มีออกซิเจน ที่ ๆ มีความเข้มข้นของเกลือและกรดด่างน้อย ๆ มันจะโตและสร้างพิษออกมา แต่สปอร์ของเจ้าแบคทีเรียชนิดนี้มันทนความร้อนได้ดีมาก ๆ แต่พิษโบทูลินัมนี่ไม่ทนร้อนนะฉะนั้นอุ่นอาหารก่อนพิษก็สลายไปได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกวัย 6 เดือน เสียชีวิตจากน้ำผึ้ง ด้วยโรคโบทูลิซึม

 

วิดีโอจาก : เรื่องเล่าเช้านี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พิษโบทูลินัมจะเจอจากอะไรได้บ้าง

ทางเพจอธิบายไว้ 3 ข้อ แต่ที่พ่อแม่ต้องใส่ใจมาก ๆ คือ อาหารที่มีแบคทีเรีย C.botulinum โตอยู่มักจะถูกเก็บซีลไม่ให้มีอากาศเข้า (ออกซิเจนน้อย) และ/หรือมีเกลือและความเป็นกรดด่างต่ำ ที่เราเคยได้ยินกันก็ พวกอาหารกระป๋องที่บุบ ๆ บิบ ๆ (มีทางให้แบคทีเรียเข้าไปโตได้) ไส้กรอก (เอาเนื้อบดไปยัดไส้แล้วมัดปิดอากาศเข้าไม่ได้) แต่ที่โด่งดังที่สุดก็หน่อไม้ปี๊บบ้านเรานี่ล่ะ

ส่วนสาเหตุที่ทารกวัย 6 เดือน เสียชีวิตจากน้ำผึ้งนั้น เพราะน้ำผึ้งมีเชื้อ Clostridium botulinum ซึ่งคนในครอบครัวให้เด็กดื่มเพื่อหย่านม จึงถูกวินิจฉัยสาเหตุการเสียชีวิตว่าเกิดจาก โรคโบทูลิซึมในทารก (Infant botulism) ซึ่งเกิดจากการเจริญของเชื้อ Clostridium botulinum และสร้างสารพิษโบทูลิซึมในทางเดินอาหารของทารก ทั้งนี้ โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงการให้อาหารที่อาจปนเปื้อนเชื้อ Clostridium botulinum เช่น น้ำผึ้ง ในเด็กทารกที่อายุน้อยกว่า 1 ปี

สำหรับพิษโบทูลินัมที่ชื่อคุ้น ๆ เพราะสิ่งที่ฉีดลดรอยเหี่ยวย่นนี้ก็คือ พิษโบทูลินัมเหมือนกัน แต่เขาเลือกชนิดและปริมาณที่เหมาะสมมาให้มีการใช้ทางคลินิกอื่น ๆ เช่นแก้ตาเข แก้ไมเกรน แก้คอเอียง (torticollis) หากฉีดเกินขนาดจนพิษกระจายไปทั่วร่างกายก็ก่อเรื่องได้เช่นกัน นอกจากนี้ พวกฉีดยาเสพติด ต้องยอมรับว่าพวกนี้อาจจะฉีดสารที่ปนเปื้อนแบคทีเรียหรือสปอร์ของแบคทีเรียเข้าไปใต้ผิวหนังเชื้อก็โตและสร้างพิษออกมา

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พิษโบทูลินัม ทำไมมันถึงได้อันตรายล่ะ

  • พิษโบทูลินัมทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและสุดท้ายคือกล้ามเนื้ออ่อนแรงมากจนหายใจไม่ได้ หรือป้องกันการสำลักน้ำลายตัวเองไม่ได้
  • ปกติกล้ามเนื้อจะหดตัวทำให้เกิดการขยับได้ต้องอาศัยสารสื่อประสาท acetylcholine จากปลายประสาท มาจับที่กล้ามเนื้อ
  • เจ้าพิษโบทูลินัมนี่จะไปยับยั้งการหลั่งสารสื่อประสาท acetycholine

(โดยการตัด SNARE protein ที่ใช้ในการเชื่อม acetycholine vesicle กับเยื่อหุ้มเซลล์) ทำให้ไม่มีสาร acetycholine ไปกระตุ้นกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหดตัวไม่ได้ ก็อ่อนแรง

 

 

อาการของคนที่ถูกพิษโบทูลินัม จะเป็นอย่างไร

หากกินอาหารที่มีพิษโบทูลินัมแล้ว ประมาณ 4-6 ชม. อาจจะมีอาการเริ่มต้นเป็นคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย จากนั้นที่ประมาณ 10 ชม. จะเริ่มมีอาการอ่อนแรงโดยมันจะทำให้มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้า คอ และต้นแขนต้นขาก่อนที่จะทำให้อ่อนแรงทั้งตัว (อัมพาต) และเสียชีวิตจากการหายใจล้มเหลว การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้านี่สังเกตเริ่มต้นคือ หนังตาตก พูดไม่ชัด พิษนี้ทำให้อ่อนแรง “แต่ไม่ทำให้ชา” (ผิดกับพิษปลาปักเป้าที่ต้องชาก่อนเสมอ)

หากตรวจร่างกายอาจจะพบลักษณะของ Anticholinergic (antimuscarinic) toxidrome เช่น ผิวแห้งไม่มีเหงื่อ ปากคอแห้ง การบีบตัวของลำไส้ลดลง ม่านตาขยาย เพราะ acetylcholine ไม่ถูกหลั่งไปจับกับตัวรับของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทพาราซิมพาเทติกในผู้ใหญ่ทั่วไปตัวแบคทีเรียและสปอร์ไม่สามารถโตในกระเพาะลำไส้เราได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

แต่ในเด็กอายุน้อยกว่า 12 เดือน เกลือแร่และความเป็นกรดด่างในน้ำย่อยน้อยและเชื้อแบคทีเรียเจ้าถิ่นก็น้อย สปอร์ของ C.botulinum สามารถมาโตในลำไส้ของเด็กได้ ฉะนั้นแม้กินสปอร์เด็กก็ป่วยได้ อาหารที่มีความเสี่ยงต่อการมีสปอร์ C.botulinum หลงเหลือได้คือ น้ำผึ้ง และ แยม

ความน่ากลัวคือการฟื้นตัวจากการอ่อนแรงนี้มันช้ามาก ๆ ถึง 2-3 เดือนได้เลย (เพราะต้องให้เซลล์ประสาทสร้าง SNARE protein ขึ้นมาใหม่ ซึ่งเซลล์ประสาทนี่สร้างอะไร ๆ ได้ช้า) ซึ่งหากอัมพาตหรือหายใจล้มเหลวนาน ๆ ก็จะมีการติดเชื้อแทรกซ้อนตามมาได้ แต่การได้รับการรักษาโดยยาต้านพิษในวันแรก ๆ จะช่วยยับยั้งการดำเนินโรคไม่ให้การอ่อนแรงลุกลาม และอาจช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้นด้วย

 

 

ดูแลรักษาคนที่ถูกพิษโบทูลินัมอย่างไร

  • ขั้นแรกดูก่อนว่าหายใจไหวไหม ไม่ไหวใส่ท่อช่วยหายใจและช่วยหายใจก่อน
  • ประเมินแรงกล้ามเนื้อ และ parameter ของการหายใจเช่น vital capacity, negative inspiratory pressure, หรือจะเป่า peak flow ก็ได้
  • หากมีการลุกลามของการอ่อนแรง ต้องรีบให้ยาต้านพิษซึ่งเป็นเซรุ่มจากม้า เพื่อหยุดการดำเนินโรค และอาจจะช่วยให้ฟื้นไวขึ้นบ้าง (มี stock ในศูนย์พิษรามาฯ และองค์การเภสัชกรรมตรงข้ามรามาฯ เท่านั้น…มีเคสโทร 1367 …มาช่วยกันยืนยันการวินิจฉัยและประเมินความจำเป็นก่อนนะครับ)
  • อย่าลืมแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบแหล่งที่มาของโบทูลิซึมด้วย จะได้ไม่มีเคสต่อไป

 

ป้องกันไม่ให้ได้รับพิษโบทูลินัมยังไงดี ?

  1. เลี่ยงอาหารที่น่าสงสัย ไม่กินอาหารกระป๋องบุบบิบ
  2. อุ่นอาหารให้ร้อนก่อนกินเสมอ (โดยเฉพาะไส้กรอก อาหารกระป๋อง) ถ้าทำได้ เข้าไมโครเวฟไปเลย ไม่งั้นต้องร้อน 100c อย่างน้อย 10 นาที หรือ 80c นาน 30 นาที
  3. บางครั้งอาหารบางชนิดมันสุดวิสัยมากอุ่นให้ร้อนจริง ๆ เช่นเหตุการณ์ที่เกิดโบทูลิซึมจาก โยเกิร์ตในอังกฤษ และ ทิรามิสุในอิตาลี โดยทั่วไปอาหารพวกนี้จะมีการสุ่มตรวจคุณภาพอยู่แล้ว อันนี้ต้องฟังข่าวว่ามีการเรียกเก็บผลิตภัณฑ์หรือเตือนโดย อย. กรมควบคุมโรค หรือแหล่งข่าวอื่นไหม
  4. หากจะทำของบรรจุกระป๋องเองต้องแน่ใจว่า ไม่มีสปอร์ของแบคทีเรียเหลือ คร่าว ๆ คือ 120c 30 นาที
  5. ไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 12 เดือนกินน้ำผึ่ง แยม และอาหารกระป๋อง (เสี่ยงเจอสปอร์ของ C.botulinum)
  6. อย่าเล่นยาเสพติด
  7. หากจะฉีดโบท็อกซ์ ซึ่งก็คือ พิษโบทูลินัมชนิดเอ เพื่อลดรอยเหี่ยวย่น ควรฉีดโดยผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ เท่านั้น

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

กินน้อยหรือมากเกินไปลูกไม่โต วิกฤติหนักเด็กไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ

6 ลักษณะแม่ท้องที่ต้องระวังทารกตายในครรภ์!!

กินยาไม่ครบ ทำลูกน้อยป่วยเป็นโรคดื้อยา อาจอันตรายถึงชีวิต

ที่มาข้อมูล : facebook komchadluek

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya