ทารกในครรภ์โตช้า สังเกตอย่างไร อันตรายที่แม่ท้องต้องระวัง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่ทุกคนที่กำลังตั้งครรภ์ คงต้องการให้ทารกน้อยในครรภ์เติบโตแข็งแรง มีพัฒนาการที่สมบูรณ์ แต่ความผิดปกติบางอย่าง อาจทำให้ ทารกในครรภ์โตช้า ซึ่งแน่นอนว่าคงไม่ใช่เรื่องดีแน่นอน บทความนี้จะพาเหล่าคุณแม่มาดูกันว่าภาวะนี้ คืออะไร มีวิธีการสังเกตอย่างไร และหากทารกเป็นภาวะผิดปกตินี้ จะมีการรักษาอย่างไรบ้าง

 

ภาวะทารกในครรภ์โตช้า เกิดจากอะไร ทำไมอันตราย

ทารกในครรภ์โตช้า (Fetal Growth Restriction หรือ FGR) หมายถึง การที่ทารกในครรภ์ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มศักยภาพอย่างที่ควรจะเป็น โดยจะทำให้ทารกในครรภ์ตัวเล็กและมีน้ำหนักน้อยกว่าอายุครรภ์จริง สาเหตุการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดทั่วโลกนั้น กว่า 60 % มาจากการที่เด็กแรกคลอดมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดมาก ซึ่งก็เป็นผลมาจากภาวะทารกในครรภ์โตช้านั่นเอง ภาวะทารกในครรภ์โตช้านั้นจะแตกต่างกันไปตามสาเหตุ และอายุครรภ์ โดยความรุนแรงจากภาวะทารกในครรภ์โตช้านั้นอาจส่งผลทำให้ทารกเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

 

  • หากเกิดจากรกเสื่อม : ตั้งครรภ์เกินกำหนด หรือทารกมีภาวะขาดออกซิเจนไม่นาน เมื่อคลอดออกมาและได้รับอาหารที่เพียงพอ เด็กก็จะสามารถเติบโตได้ดีเหมือนเด็กปกติ
  • หากเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม : ทารกอาจมีชีวิตหลังคลอด หรือเสียชีวิตหลังคลอด ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความผิดปกตินั้น ๆ ด้วย หรือความแข็งแรงของร่างกายคุณแม่แต่ละคน
  • หากเกิดจากการติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์ : อาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิดได้ หากสังเกตความผิดปกติของครรภ์ใด ๆ คุณแม่ควรเข้าพบแพทย์โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

เนื่องจากสาเหตุหลากหลายที่สามารถทำให้ทารกมีการเติบโตที่ช้า ทำให้คุณแม่ไม่ควรมองข้ามการฝากครรภ์ หรือการใช้ชีวิตประจำวันทั้งการทานอาหาร หรือความเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อาจทำให้ครรภ์ไม่แข็งแรง

บทความที่เกี่ยวข้อง : พัฒนาการ ทารกในครรภ์ ตลอด 9 เดือนมีอะไรเกิดขึ้นบ้างนะ?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิดีโอจาก : โค้ชเลิศพร สอนแม่และเด็ก

 

ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดภาวะทารกในครรภ์โตช้า

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะทารกในครรภ์โตช้านั้น เกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายประการ ซึ่งเกิดได้ทั้งจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ระมัดระวัง ไปจนถึงความผิดปกติของร่างกายคุณแม่ ดังนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • มดลูกรูปร่างผิดปกติ รกเสื่อม รกลอกตัวบางส่วน รกเกาะต่ำ มีเนื้องอกของรก สายสะดือพันกัน หรือผูกเป็นปม ทำให้เลือดไปเลี้ยงทารกไม่พอเพียง ทารกจึงเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่
  • โครโมโซมผิดปกติ เช่น กลุ่มดาวน์ซินโดรม มีความพิการแต่กำเนิด ทารกในครรภ์แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวที่มีการเชื่อมต่อผิดปกติของหลอดเลือด มีการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์
  • มารดามีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ภาวะซีด โรคหัวใจทำงานผิดปกติ ทำให้การส่งออกซิเจนไปยังลูกไม่เพียงพอ
  • ระหว่างตั้งครรภ์ หากแม่ท้องมีอาการของโรคหัดเยอรมัน ซิฟิลิส หรือโรคทอกโซพลาสโมซิส ก็อาจทำให้ทารกในครรภ์โตช้าได้
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ หรือการใช้สารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ทารกในครรภ์โตช้า อีกทั้งยังทำให้ความดันในเลือดสูง การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ และเป็นอีกสาเหตุของโรคหัวใจ
  • การที่คุณแม่มีน้ำหนักตัวที่น้อยเกินไปก็อาจทำให้เกิดภาวะทารกในครรภ์โตช้าได้เช่นกัน

 

การดูแลตนเองในช่วงตั้งครรภ์เป็นวิธีที่ดีในการลดปัจจัยสาเหตุที่หลากหลายนี้ ในการป้องกันปัจจัยที่สามารถป้องกันได้ ส่วนปัจจัยทางด้านร่างกายที่ยากจะป้องกันนั้น สามารถช่วยลดความเสี่ยงได้ด้วยการไปพบแพทย์นัดเสมอ เพื่อรับการตรวจครรภ์ตามเวลาที่กำหนด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าทารกในครรภ์โตช้า

ไม่จำเป็นว่าทารกที่มีขนาดตัวเล็กจะมีภาวะทารกในครรภ์โตช้าเสมอไป โดยในช่วงแรกนั้น แม่ท้องอาจจะต้องสังเกตจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น หากว่ามีการผิดปกติ ควรไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการวินิจฉัย โดยคุณแม่ท้องสามารถติดตามเรื่องน้ำหนักตัวที่เหมาะสมตอนท้องได้จากบทความด้านล่างนี้ครับ หากคุณแม่สงสัยว่าจะมีภาวะทารกในครรภ์โตช้า ในระหว่างที่ไปพบคุณหมอ คุณหมอมักจะทำการวินิจฉัยจากน้ำหนักตามอายุครรภ์ของทารก และซักประวัติโรคประจำตัว หรืออาการต่าง ๆ ของคุณแม่ เช่น

 

  • คุณแม่มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องหรือไม่
  • คุณแม่เคยอยู่ในภาวะโตช้าในครรภ์มาก่อนหรือไม่
  • นี่เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรกหรือไม่
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ก่อนอายุ 19 ปีหรือไม่
  • คุณแม่ตั้งครรภ์มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปหรือไม่
  • คุณแม่ตั้งครรภ์มากกว่า 5 ครั้งขึ้นไปหรือไม่

 

หลังจากนั้นคุณหมอก็อาจจะตรวจดูจากการอัลตราซาวนด์ โดยคุณหมอจะทำการอัลตราซาวนด์โดยวัดขนาดของอวัยวะสำคัญ ได้แก่ ความกว้างของศีรษะ เส้นรอบวงศีรษะ เส้นรอบท้อง ความยาวกระดูกต้นขา เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยที่แม่นยำ ว่าทารกในครรภ์อยู่ในภาวะโตช้าหรือไม่ นอกจากนั้นแล้วการทำอัลตราซาวนด์ยังสามารถวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับรก และปริมาณน้ำคร่ำได้อีกด้วย

นอกเหนือจากนั้นก็อาจจะมีการตรวจในเรื่องของการติดเชื้อต่าง ๆ อัตราการเต้นของหัวใจ หรืออาจมีการเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจสอบสภาวะของทารกในครรภ์ เพื่อหาสาเหตุต่าง ๆ ต่อไปครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง : อัลตราซาวนด์ครั้งแรก กี่สัปดาห์ คนท้องจะได้รู้อะไรบ้าง ?

 

 

ทำอย่างไรดีหากทารกในครรภ์โตช้า ?

ในช่วงเวลาที่คุณแม่ยังมีอายุครรภ์ไม่ถึง 34 สัปดาห์ คุณแม่ควรใส่ใจสุขภาพมากเป็นพิเศษ หากพบอาการผิดปกติใด ๆ ไม่ควรรอช้า ให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจในทันที เบื้องต้นให้คุณแม่ดูแลตนเองด้วยวิธีการง่าย ๆ ตัวอย่างเช่น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • พักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 8 – 10 ชั่วโมง และควรนอนกลางวันอย่างน้อย ครึ่งชั่วโมง ถึง 1 ชั่วโมงต่อวัน
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ โดยเพิ่มพลังงานจากอาหารวันละ 300 กิโลแคลอรีเพื่อให้เพียงพอที่จะไปเสริมสร้างการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์
  • ไม่ใช้สารเสพติด งดบุหรี่ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ปรับเปลี่ยนท่าทางและพฤติกรรม เพื่อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ลูกได้รับออกซิเจนมากขึ้น เช่น คุณแม่ควรนอนตะแคงซ้าย เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกและรกมากที่สุด
  • ควรนับลูกดิ้น โดยลูกควรจะดิ้นไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง ภายในเวลา 12 ชั่วโมง
  • ระวังหากมีโรคประจำตัวและควรไปตรวจหาโรคต่าง ๆ อย่างละเอียด
  • ระหว่างนี้แม่ท้องควรอยู่ในการดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิด ไปตามที่คุณหมอนัดอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการผิดปกติควรไปพบคุณหมอทันที ไม่ต้องรอครบกำหนดนัดครั้งต่อไป

 

ภาวะทารกในครรภ์โตช้า เป็นเรื่องอันตรายแต่ก็สามารถป้องกันได้ การใส่ใจสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่มีอีกหนึ่งชีวิตอยู่ในท้องกับคุณแม่ด้วยแล้ว ยิ่งต้องดูแลเป็นพิเศษ หากคุณแม่กังวลหรือพบว่ามีอาการผิดปกติต่าง ๆ เกิดขึ้น อย่าลังเลที่จะรีบไปพบคุณหมอนะครับ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

การตั้งครรภ์ 1-9 เดือน ของหนูในท้องแม่ พัฒนาการทารกในครรภ์ตลอด 40 สัปดาห์

จุดสังเกต การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ลูกเราโตขนาดไหนกันแล้วนะ

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกในครรภ์สมบูรณ์ ลูกในครรภ์ของคุณครบ 32 หรือเปล่า

ที่มา : w1.med.cmu.ac.th

บทความโดย

P.Veerasedtakul