ทารกแรกเกิดเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง โรคที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด แม่ต้องรู้และคอยระวัง

โรค ทารกแรกเกิด ความเสี่ยงของหนู ที่แม่ต้องรู้และระวัง ปัญหาที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กน้อยที่ลืมตาดูโลกเป็นวันแรก ๆ พ่อแม่ย่อมเป็นกังวลว่า จะมีอะไรมาระคายเคืองผิวสัมผัสอันบอบบางของลูกน้อย ยังไม่นับเชื้อโรคร้ายที่คละคลุ้งอยู่ในอากาศ แม้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ด้วยช่วงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม จากท้องแม่ สู่โลกกว้าง ทารกแรกเกิดเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง คุณพ่อคุณแม่ก็ควรทราบไว้ จะได้ปกป้องลูกน้อยได้ถูกทาง

ทารกแรกเกิดเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ปัญหาที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด

หลังคลอด เมื่อทารกน้อยลืมตาดูโลก ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของทารกแรกเกิด จากที่เคยถูกปกป้องภายในท้องแม่ ก็ต้องมาเผชิญกับโลกภายนอก หายใจเอง พัฒนาอวัยวะต่าง ๆ เพื่อให้แข็งแรงและอยู่รอดได้ ดังนั้น ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้ จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญของเด็ก โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดจนถึง 1 เดือน

นพ.อดิศร์ อิงคตานุวัฒน์ กุมารแพทย์ ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 อธิบายถึงร่างกายของทารกแรกเกิดไว้ว่า ช่วงที่น่าห่วงมากที่สุดของทารกแรกเกิด คือ ช่วงที่เกิดใหม่ ๆ ไปจนถึงช่วงอายุ 1 เดือน ที่ระบบร่างกายรวมถึงหัวใจของเขาจะทำงานได้อย่างปกติด้วยตนเอง โดยพ่อแม่ต้องเอาใจใส่ ใส่ใจดูแลลูกเป็นพิเศษ และมีความอดทน เพราะทารกแรกเกิดจะสื่อสารได้ทางเดียว คือการร้องไห้ จึงควรสังเกตว่าเขาร้องไห้นั้นร้องไห้แบบไหน

  1. ร้องเพราะหิว ปากจะขยับ
  2. ร้องไห้เพราะปวดท้อง ท้องอืด พ่อแม่ก็ควรสังเกตท้อง เพราะว่าหากท้องอืด ท้องของลูกจะตึง
  3. ร้องไห้จากความไม่สบาย อาจจะก้นแฉะจากการขับถ่าย ก็เป็นได้

เมื่อสงสัยว่าลูกป่วยหรือผิดปกติจึงควรสังเกตอาการอื่นร่วมด้วย หากเด็กซึมไม่กินนมไม่ต้องรอ ให้มาพบแพทย์เลย

โรคทารกแรกเกิดที่พ่อแม่ต้องระวัง

ทารกแรกเกิดเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ภาวะติดเชื้อในเด็กแรกเกิด ต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะทารกแรกเกิด ยังมีภูมิต้านทานไม่มากพอ เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ๆ สำหรับปัจจัยที่จะทำให้เด็กติดเชื้อส่วนใหญ่เชื้อจะมาจากแม่ โดยเฉพาะแม่ที่มีภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนคลอดนาน ๆ เชื้อจากช่องคลอดจะเข้าไปในถุงน้ำคร่ำ นี่ก็เป็นสาเหตุของการอักเสบ ติดเชื้อ และเข้าสู่ร่างกายของลูกได้

ถ้าแม่มีน้ำเดินก่อนคลอด หรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนคลอด ถ้ายิ่งแตกก่อนที่จะคลอดนานเท่าไหร่ โอกาสติดเชื้อก็ยิ่งมากขึ้น เนื่องจากถุงน้ำคร่ำทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรค ถ้าถุงน้ำคร่ำยิ่งแตกนาน ก็ยิ่งเสี่ยง หากแม่ตั้งครรภ์รู้ตัว ปวดท้องหรือมีน้ำเดิน ก็ต้องรีบมาพบแพทย์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกที่คลอดออกมาแล้ว อาจมีการแสดงของการอาการติดเชื้อได้หลายอย่าง หากเห็นว่าทารกมีอาการผิดปกติ ควรรีบพาทารกมาพบแพทย์ เช่น

  • กินนมน้อย
  • ซึม
  • หายใจผิดปกติ
  • ตัวซีด

โรคทางเดินหายใจ เช่น จมูก ปอด

ทารกแรกเกิด เมื่อออกจากครรภ์มารดา ที่อาศัยการดำรงชีวิตด้วยแม่ มาหายใจด้วยตัวเอง ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้ การทำงานของปอด หรือระบบหายใจจะยังไม่เต็มที่ โดยเฉพาะเด็กที่คลอดก่อนกำหนดหรืออายุครรภ์ไม่ถึง 36 สัปดาห์ ยิ่งต้องระวังการทำงานของปอดเป็นพิเศษ

ภาวะตัวเหลืองในเด็กทารก

ทารกแรกเกิดตัวเหลือง เกิดจาก สารเคมีที่เรียกว่า บิลิรูบิน (Bilirubin) เป็นสารสีเหลืองเกิดจากการแตกของเม็ดเลือดแดงมีอยู่ในเลือดสูง โดยตับของทารกแรกเกิดยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ จึงไม่อาจกำจัดไปได้หมด

อาการตัวเหลือง โดยมากจะเกิดกับเด็กทารกในช่วง 2 – 3 วันแรกของการคลอด และมักจะไม่เกิน 10 วัน ทั้งนี้ ถ้าเด็กแรกเกิดมีอาการตัวเหลืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แพทย์จะเจาะเลือดและติดตามผล ทารกบางรายแพทย์จะใช้วิธีการส่องไฟเพื่อรักษาอาการตัวเหลือง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำตาลในเลือดผิดปกติ

ทารกที่น้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงกว่าปกติ ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจาก สองสาเหตุ

  • ตัวคุณแม่ แม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของทารก
  • ตัวลูก หากทารกที่คลอดมามีน้ำหนักต่ำกว่า หรือสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อาจจะส่งผลต่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดของทารกต่ำ

หากพบกว่าทารกที่คลอดออกมามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ แพทย์จะพิจารณาให้น้ำเกลือ ควบคู่กับการกินนมแม่

เชื่อว่าพ่อแม่ก็คงจะดูแล และเอาใจใส่ทารกน้อยเกิดใหม่ อย่างดีที่สุดอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือ พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจร่างกายของทารกแรกเกิด และดูแลลูกให้ดีโดยเฉพาะช่วง 1 เดือนแรก อย่าลืม ใส่ใจลูกแรกเกิดอย่างดี ตามที่คุณหมอสั่ง และหากพบความผิดปกติใด ๆ ต้องไม่ลังเล ที่จะรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์นะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่น รวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอด เพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  theAsianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย

ที่มา : https://www.paolohospital.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การแพ้อาหารของทารก

เงินเด็กแรกเกิดกับเงินสงเคราะห์บุตร ต่างกันมั๊ย ได้เมื่อไหร่ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

9 ของใช้เด็กแรกเกิด อะไรบ้างที่ต้องเตรียมให้พร้อม

 

บทความโดย

Tulya