12 เรื่องที่แม่จ๋าอาจไม่รู้ คุณหมอทำอะไรกับ ทารกหลังคลอด

ใกล้คลอดโค้งสุดท้าย แน่นอนว่าคุณแม่ต้องเตรียมทุกอย่างไว้พร้อมแล้วสำหรับการที่จะได้เห็นหน้าลูกน้อยในอีกไม่ช้า หลังจากที่รอคอยมาเกือบ 40 สัปดาห์ ที่จะได้เห็นหน้าลูกน้อย แต่หลังคลอดนั้นแม่จ๋าอาจจะยังไม่ได้เห็นหน้าหรือสัมผัสลูกน้อยในทันที แม่จ๋ารู้ไหม..ระหว่างนี้คุณหมอจะทำอะไรกับหนูบ้างนะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

นอกจากความตื่นเต้นเมื่อได้เข้ามาอยู่ในห้องคลอดแล้ว ในขณะที่คุณแม่อาจใช้เวลาเบ่งคลอดซักระยะ หรือผ่าคลอดเพียงไม่กี่นาที และได้ยินเสียงอุแว้ของเจ้าตัวน้อย แล้วหลังจากนั้นคุณหมอจะทำอะไรกับ ทารกหลังคลอด กันบ้างนะ

12 เรื่องที่แม่จ๋าอาจไม่รู้ คุณหมอทำอะไรกับ ทารกหลังคลอด

1.ในนาทีแรกที่เจ้าตัวน้อยออกมาลืมตาดูโลก คุณหมอจะดูดน้ำคร่ำออกจากปากและจมูก เพื่อให้ทารกหายใจได้เอง แต่ถ้าทารกยังไม่หายใจ คุณหมอจะใช้ออกซิเจนเพื่อกระตุ้นการหายใจทารก

2.ตัดสายสะดือ

3.ตรวจสอบการหายใจของทารก ดูว่าทารกมีการหายใจสม่ำเสมอหรือไม่ เพื่อเช็กว่าปอดของทารกแข็งแรงหรือไม่

4.ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจและชีพจร ซึ่งถ้านับได้มากกว่า 100/นาที ถือว่าปกติค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5.ตรวจการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อว่าแข็งแรงเคลื่อนไหวเป็นปกติหรือไม่

6.ทำการตรวจสีผิวของทารกว่ามีสีแดง หรือ ชมพู เล็บมือเล็บเท้าต้องไม่เขียวหรือจางม่วง

7.เช็กการตอบสนองของทารกว่าส่งเสียงร้องดังหรือเบา หรือนิ่งไม่มีเสียง

8.ทำการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของทารก และทำความสะอาดตัว ล้างเลือด และนำทารกไว้ในเครื่องเพื่อควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้อบอุ่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

9.พยาบาลจะตรวจนิ้วมือนิ้วเท้าเช็กอวัยวะของทารกว่าครบสมบูรณ์หรือไม่ วัดรอบศีรษะและรอบลำตัวของทารก

10.หยอดยาฆ่าเชื้อที่ดวงตาทารก เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากน้ำคร่ำหรือเลือดที่ดวงตาตอนคลอด

11.หลังทำความสะอาดและตรวจเช็กร่างกายทารกหลังคลอดเรียบร้อย บางโรงพยาบาลจะนำทารกไปให้คุณแม่ที่คลอดเองได้ดูดนมแม่ทันที หรือให้คุณแม่ที่อ่อนเพลียจากการเบ่งคลอดได้นอนพักฟื้นร่างกายก่อนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง นางพยาบาลจะมารับคุณแม่ไปให้นมลูกที่ห้องเด็กแรกเกิด แต่สำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอดที่ต้องเจอกับฤทธิ์ยาต้องพักฟื้นร่างกายอย่างน้อย 24 ชั่วโมงเช่นกัน หรือมากกว่านั้นเพื่อให้ทุเลาจึงจะสามารถให้นมลูกได้

12.หลังลูกน้อยคลอด คุณหมอจะตรวจอาการลูกเป็นระยะ เช่น ตรวจการเต้นของหัวใจ การหายใจ ภาวะพิการ ภาวะตัวเหลือง เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากทารกและตัวคุณแม่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ แข็งแรงทั้งแม่ลูก ประมาณ 2 วันคุณแม่ที่คลอดด้วยตนเอง ก็สามารถพาลูกกลับบ้านได้ ส่วนคุณแม่ผ่าคลอดอาจใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลอย่างน้อย 3-4 วันจึงจะพาลูกน้อยกลับบ้านได้ค่ะ

คุณรู้ไหม 24 ชั่วโมงแรงหลังคลอดที่โรงพยาบาล ทารกต้องเจอกับอะไรบ้าง

วันที่ลืมตาดูโลก: เกิดอะไรกับลูกบ้างที่โรงพยาบาล?

ช่วงที่อยู่โรงพยาบาลหลังลูกลืมตาดูโลก 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด คุณอาจไม่ทราบว่าลูกน้อยแรกเกิดของคุณจะมีธุระยุ่งวุ่นวายมากกว่าคุณเป็นสองเท่า เพียง 5 นาทีหลังลืมตาดูโลก ลูกจะถูกจิ้ม ถูกเขี่ย ถูกวัด ถูกทดสอบ ได้รับการชำระล้างทำความสะอาดและห่อตัวมิดชิด ขั้นตอนการทำคลอดของทุกโรงพยาบาลแตกต่างกันไป แต่นี่คือสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในชีวิตวันแรกของลูกน้อยค่ะ

                                     

24 ชั่วโมงแรงหลังคลอด

24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด

วันแรกของคุณกับลูกจะน่าตื่นเต้น (และเปี่ยมด้วยหลากอารมณ์) ขณะที่หมอกับพยาบาลตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกแข็งแรงดีและสอนเรื่องจำเป็นในการดูแลลูกน้อยให้แก่คุณ การได้รู้ถึงสิ่งที่อาจคอยอยู่เบื้องหน้าจะช่วยให้คุณสุขใจกับช่วงเวลาแสนพิเศษนี้มากขึ้น และรู้สึกท่วมท้นน้อยลง แม้ว่าแต่ละโรงพยาบาลจะมีกระบวนการต่างกันไป แต่ตารางเวลาของเราต่อไปนี้จะช่วยให้คุณทราบคร่าว ๆ ว่าตามปกติแล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เริ่มตั้งแต่นาทีที่ลูกลืมตาดูโลกเลยค่ะ

นาทีแรก

ทันทีที่ลูกน้อยลืมตาดูโลก หมอจะดูดปากและจมูกเพื่อกำจัดเมือกและน้ำคร่ำให้หมดไปและลูกควรเริ่มหายใจได้ด้วยตัวเอง จากนั้นหมอจะหนีบและตัด (หรือให้คู่ชีวิตของคุณเป็นคนตัด) สายสะดือก่อนจะตรวจลูกน้อยของคุณเพื่อให้คะแนนแอพการ์สกอร์ (Apgar Score) ซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราการเต้นของหัวใจ สีของทารก การตอบสนองต่อสิ่งเร้า การเคลื่อนไหวและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ รวมถึงการหายใจใน 1 นาทีและ 5 นาทีแรกหลังคลอด คะแนนจะอยู่ในระดับ 0-10 ถ้าได้เจ็ดขึ้นไปก็ถือว่าแข็งแรงดีแล้วค่ะ ทารกส่วนใหญ่ได้ 8 หรือ 9 คะแนน แต่หากลูกของคุณได้คะแนนต่ำ ก็จะมีการค้นหาสาเหตุ (เช่น ลูกอาจหายใจลำบาก) และทดสอบต่อทุก 5 นาทีจนกว่าปัญหาจะหมดไป ไม่ต้องวิตกไปนะคะ ทารกส่วนมากที่ได้คะแนนต่ำตอนแรกเกิดเติบโตขึ้นเป็นเด็กสุขภาพแข็งแรงดี

นพ.ไมเคิล เอ. โพเซนเชก ผู้อำนายการด้านการแพทย์ห้องเด็กแรกเกิดของโรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลับเพนน์ซิลเวเนียกล่าว “ขณะที่คุณคลอดรก ลูกน้อยจะถูกชั่งน้ำหนักและวัดความยาวตัว โดยปกติแล้วพยาบาลจะเช็ดตัวลูกจนสะอาดและวางลูกลงบนเครื่องให้ความอบอุ่นทารกจนกว่าลูกจะรักษาอุณหภูมิร่างกายได้ด้วยตนเอง นี่เป็นขั้นตอนที่อาจกินเวลาตั้งแต่ 2-3 นาทีไปจนถึง 2 ชั่วโมง” คุณอาจได้เห็นเหตุการณ์ทั้งหมดนี้หรือหมออาจจะกำลังเย็บแผลให้คุณหากจำเป็น

ชั่วโมงที่ 1

ระหว่างที่คุณยังอยู่ในห้องคลอด ลูกน้อยจะได้รับน้ำมันหยอดตาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันดวงตาติดเชื้อซึ่งอาจเป็นผลจากการที่ลูกผ่านทางช่องคลอดออกมา นอกจากนี้ลูกยังอาจถูกฉีดวิตามินเคที่ต้นขาเพื่อป้องกันปัญหาเลือดเป็นลิ่ม คุณควรลองให้นมลูกทันที แม้ว่าคุณจะผ่าคลอด แต่ก็สามารถเริ่มให้นมลูกได้ทันทีที่ออกจากห้องผ่าตัดถ้าคุณรู้สึกสบายดี ตื่นตัวและไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ถ้าหมอส่งลูกน้อยไปห้องอภิบาลทารกแรกเกิด (NICU) เพราะลูกคลอดก่อนกำหนดหรือมีความเสี่ยงติดเชื้อ ช่วงเวลาแห่งการผูกสายสัมพันธ์นี้จะถูกเลื่อนออกไปก่อนค่ะ

                                             

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

24 ชั่วโมงแรงหลังคลอด

ชั่วโมงที่ ถึง 3

เมื่อการทดสอบขั้นต้นของลูกน้อยครบถ้วนแล้ว คุณกับลูกจะใช้เวลาร่วมกันในห้องพักคนไข้หรือห้องพักฟื้นหลังคลอด ตราบใดที่คุณทั้งคู่แข็งแรงดี พยาบาลจะตรวจลูกน้อยเป็นระยะเพื่อดูว่าทารกปรับตัวกับชีวิตแรกเกิดได้ดีมากน้อยเพียงใด รวมทั้งวัดชีพจร กดท้อง ตรวจว่าอวัยวะเพศสมบูรณ์ดีและมีนิ้วมือนิ้วเท้าครบ พยาบาลจะบันทึกบัลลาร์ดสกอร์ (Ballard Score) ซึ่งประกอบด้วยความยาวเส้นรอบศีรษะ เส้นรอบอกและความยาวตัวเพื่อยืนยันระยะเวลาที่ลูกอยู่ในครรภ์ของคุณ

ถ้าคุณคลอดก่อนกำหนด ก็มีความเป็นไปได้มากว่าลูกจะต้องอยู่ในห้องเด็กแรกเกิด ซึ่งจะมีการเฝ้าติดตามอุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ และอัตราหายใจของลูกอย่างใกล้ชิด คุณสามารถไปเยี่ยมลูกได้ สัญญาณชีพของลูกจะได้รับการตรวจวัดทุก 30 นาทีในช่วง 2 ชั่วโมงแรก จากนั้นจะเป็นทุก 4-6 ชั่วโมงหากทุกอย่างปกติดี ถ้าสัญญาณชีพของลูกไม่เสถี

ชั่วโมงที่ ถึง 22

คุณจะใช้เวลาช่วงนี้เรียนรู้การดูแลลูกน้อยแรกเกิด คุณอาจช่วยพยาบาลอาบน้ำให้ลูกเป็นครั้งแรกและเปลี่ยนผ้าอ้อมเมื่อลูกถ่ายอุจจาระครั้งแรกหรือที่เรียกว่าขี้เทา คุณยังจะได้เรียนรู้วิธีห่อตัวและอุ้มลูก การดูแลขั้วสายสะดือและแผลขลิบ (ถ้าลูกชายของคุณขลิบ) สำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณจะให้นมลูกทุก 2-3 ชั่วโมง โรงพยาบาลส่วนมากมีคลินิกนมแม่ซึ่งจะเข้ามาดูแลว่าคุณให้นมเป็นอย่างไรบ้าง แม้ว่าคุณจะเคยให้นมลูกมาก่อนก็ตาม

ชั่วโมงที่ 23-24

ถึงตอนนี้ลูกน้อยของคุณจะได้รับการประเมินอย่างเป็นทางการจากกุมารแพทย์แล้ว เว้นแต่ในกรณีที่พบปัญหาตั้งแต่แรกคลอดซึ่งกุมารแพทย์จะตรวจตอนนั้นในทันทีค่ะ หมอจะประเมินปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ ตรวจหาความพิการและดูให้แน่ใจว่าลูกน้อยของคุณดื่มนมและหายใจได้ดี ลูกจะได้รับการตรวจหาภาวะตัวเหลืองซึ่งเกิดจากการที่สารบิลิรูบินไม่ถูกย่อยในตับ ทารกที่มีภาวะตัวเหลืองอาจต้องรับแสงพิเศษซึ่งช่วยย่อยบิลิรูบินและคุณควรหมั่นให้นมลูกเพื่อกำจัดสารดังกล่าวทางอุจจาระของลูก ในน้อยกรณีที่เด็กไม่ได้รับการรักษา ภาวะตัวเหลืองอาจทำให้สมองบกพร่องได้ นอกจากนี้ยังอาจมีการจิ้มส้นเท้าของลูกเพื่อเอาเลือดไปตรวจหาโรคต่าง ๆ มากถึง 50 โรค รวมทั้งโรคเม็ดเลือดแดงผิดปกติและโรคทางพันธุกรรมฟีนิลคีโตนูเรีย (PKU) การตรวจหาโรคเหล่านี้ก่อนหน้านี้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด เนื่องจากระดับเลือดของทารกจะไม่สูงขึ้นจนกว่าจะ 24 ชั่วโมงหลังเริ่มได้รับนมแม่หรือนมผงดัดแปลงสำหรับทารก จึงอาจก่อให้เกิดผลลบลวงได้มากหากตรวจหาเร็วเกินไป การประเมินนี้มีความสำคัญยิ่งยวด ถ้าลูกน้อยเป็นโรคใดโรคหนึ่งที่กล่าวมา การตรวจพบและรักษาแต่เนิ่น ๆ จะช่วยบรรเทาอาการของโรคได้อย่างมาก

ก่อนออกจากโรงพยาบาล

คุณจะอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลา 24 ถึง 48 ชั่วโมงหลังการคลอดตามธรรมชาติ แต่ถ้าคุณผ่าคลอด ก็อาจต้องอยู่ 3-4 วันเป็นปกติ ก่อนที่คุณจะออกจากโรงพยาบาล จะมีการทดสอบการได้ยินของลูกน้อยซึ่งลูกจะต้องสวมหูฟังและนักโสตสัมผัสวิทยาจะดูการตอบสนองของคลื่นสมองลูกต่อเสียง นอกจากนี้ก็จะมีการชั่งน้ำหนักตัวลูก คุณอาจสังเกตว่าลูกน้ำหนักลดลงเมื่อเทียบกับตอนแรกเกิด ไม่ต้องตกใจไปนะคะ ของเหลวกำลังเคลื่อนจากระบบนอกหลอดเลือดสู่หลอดเลือด เพิ่มความดันโลหิตและการไหลเวียนออกซิเจนสู่อวัยวะของลูก ลูกปัสสาวะของเหลวส่วนเกินออกมา จึงทำให้น้ำหนักตัวลดลงร้อยละ 5 ถึง 7 ของน้ำหนักแรกเกิด แต่ลูกจะกู้น้ำหนักคืนมาได้หลังดื่มนมไป 2-3 วันค่ะ

เมื่อคุณออกจากโรงพยาบาลแล้วและตระหนักว่าจากนี้ไปคุณต้องพึ่งตัวเอง คุณอาจรู้สึกว่ามันท่วมท้นล้นมือ “อย่าตื่นตระหนกไป” ดร.บราวน์กล่าว “ไม่มีใครกลับบ้านโดยรู้สึกว่าพร้อมเต็มร้อยหรอกค่ะ” พยายามผ่อนคลาย พอรู้ตัวอีกทีคุณจะกลายเป็นคุณแม่มือโปรไปแล้วค่ะ


ที่มา : thairoutrew.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

รีบเช็ก! ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ทารกสูญเสียการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด!!

ลูกตาแฉะ ตื่นมาขี้ตาเขรอะ จะหาวิธีแก้ยังไงดี?

บทความโดย

Napatsakorn .R