ทารกนอนกรน ปกติไหม ลูกเป็นอะไรหรือเปล่า

เมื่อได้ยินเสียง ทารกนอนกรน พ่อแม่คงจะตกใจ สำหรับลูก เสียงคล้ายคลื่นโหมกระหน่ำนั่น บางครั้งก็เป็นเสียงปกติ แต่การกรนก็อาจจะเป็นอันตรายกับลูกได้เช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อได้ยินเสียงลูก ทารกนอนกรน บ่อย ๆ คุณพ่อคุณแม่ก็คงจะตกใจว่าลูกจะเป็นอะไรหรือเปล่า การกรนในผู้ใหญ่ อาจเป็นอันตรายในขณะนอนหลับ แต่สำหรับเด็กน้อย เสียงที่คล้ายคลื่นโหมกระหน่ำนั่น บางครั้งก็เป็นเพียงเสียงลมหายใจของเด็กแรกเกิดเท่านั้นเอง อย่างไรก็ตาม การกรนก็อาจจะเป็นอันตรายกับลูกได้เช่นกัน

สาเหตุที่ทารกนอนกรน เป็นเพราะช่องทางเดินหายใจที่เล็ก และแคบของลูก บางครั้งที่ช่องจมูกแห้ง หรือขี้มูกเยอะ ๆ ก็ทำให้ลูกหายใจเสียงดัง หรือกรนได้เช่นเดียวกัน เมื่อโตขึ้นเสียงหายใจก็จะค่อย ๆ เบาลง เหมือนการหายใจของผู้ใหญ่

ทารกนอนกรน เกิดจากอะไร ?

คุณพ่อคุณแม่ไม่ใช่คนเดียวแน่ ๆ ที่กำลังหนักใจว่า ทารกนอนกรน ทำไมลูกทารกจึงนอนกรนได้ขนาดนี้นะ เด็ก 7 – 12 เปอร์เซ็นต์ จะนอนกรนอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ สาเหตุที่ ทารกนอนกรน เป็นเพราะช่องทางเดินหายใจที่เล็ก และแคบของลูก บางครั้งที่ช่องจมูกแห้ง หรือขี้มูกเยอะ ๆ ก็ทำให้ลูกหายใจเสียงดัง หรือกรนได้เช่นเดียวกัน เมื่อโตขึ้น เสียงของการหายใจก็จะค่อย ๆ เบาลง เหมือนการหายใจของผู้ใหญ่

อย่างไรก็ตาม การกรนของทารกก็อาจจะเป็นอันตราย หรือบ่งบอกว่าคุณพ่อคุณแม่ควรจะพาลูกไปพบแพทย์ได้เช่นกัน โดยสาเหตุที่ทำให้ลูกส่งเสียงกรนขณะนอนหลับ อาจมาจากสิ่งเหล่านี้

อันตรายจากการนอนกรน ทารกนอนกรน

การนอนกรนที่เป็นอันตรายของเด็กทารก 1 – 3 เปอร์เซ็นต์ อาจส่งผลให้ลูกมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ โดยจะมักจะเกิดขึ้นตอนอายุ 3 – 6 ปี เด็กบางคนมีการกรน ทานอาหารได้น้อย น้ำหนักต่ำ อาจจะมีความเสี่ยงที่เกี่ยวกับปาก ช่องคอ ปอด หรือหัวใจได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสั่งเกตวิธีการหายใจของลูก ว่าลูกหายใจแรงหรือไม่ หายใจหอบถี่ หรือหายใจทางปาก แล้วรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยต่อไป

สาเหตุที่ทำให้ลูกทารกนอนกรน

น้ำมูกไหล

ส่วนหนึ่งของทารกกรน เกิดจากการที่มีน้ำมูกอุดตันในรูจมูก ทำให้ช่องทางเดินหายใจถูกปิดกั้น เมื่อลูกโตขึ้น มีรูจมูกที่ใหญ่ขึ้น การอุดตันภายในจมูกก็จะหายไปเอง

การดูดน้ำมูกที่อุดตันในรูจมูกออก จะช่วยให้ทางเดินหายใจของลูกโล่งขึ้น ข้อควรระวัง และควรสังเกตคือ หากลูกกรนมาก ดังขึ้น ถี่ขึ้น หลังจากการดูดน้ำมูกออกแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ หากทำการดูดน้ำมูกให้ลูกด้วยตัวเอง ก็ควรจะอัดวิดีโอเอาไว้ เพื่อให้คุณหมอได้วินิจฉัยได้ด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ต่อมทอนซิล หรือต่อมอะดีนอยด์โต

ต่อมทอนซิล หรือต่อมอะดีนอยด์ คืออวัยวะที่อยู่ด้านหลังของจมูก และคอ ทำหน้าที่เป็นเสมือนหน่วยลาดตระเวนของร่างกาย คอยผลิตเซลล์คุ้มกัน และทำลายเชื้อโรค หรือไวรัสก่อนที่จะเข้าสู่ร่างกาย ต่อมทอนซิล หรือต่อมอะดีนอยด์โตกว่าปกติ จะไปบดบังช่องทางเดินหายใจ เกิดเป็นเสียงกรนขณะหายใจนั้นเอง

ภาวะผนังกั้นช่องจมูกคด

ในขณะที่สาเหตุอื่น ๆ ของการกรน จะค้นพบได้ก็ต่อเมื่อลูกโตขึ้นนิดหน่อยแล้ว แต่โรคผนังกั้นช่องจมูกคดเป็นโรคที่มาพร้อมกับวันแรกที่ลูกลืมตาดูโรค

โรคผนังกั้นช่องจมูกคด จะมีอาการหายใจสองข้างไม่เท่ากัน น้ำมูกไหล คัดจมูก หากไม่มีอาการมาก หรือไม่เป็นปัญหากับการใช้ชีวิต ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา

กระดูกกล่องเสียงอ่อนยวบ

การกรนในเด็กทารกอาจจะมีสาเหตุมาจากเนื้อเยื่อกล่องเสียงอ่อนตัว ย้อยลงมาบดบังส่วนหนึ่งของช่องทางเดินหายใจ 90 เปอร์เซ็นต์ของเด็กที่มีอาการกล่องเสียงอ่อนยวบ พบว่า อาการนี้จะหายไปเองเมื่อทารกอายุ 18 – 20 เดือน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับทารกที่มีภาวะกล่องเสียงอ่อนยวบรุนแรง ซึ่งอาจทำให้การหายใจ การรับประทาน นั้นเกิดปัญหา การใช้ท่อช่วยหายใจ หรือการผ่าตัดก็อาจจะช่วยให้หายจากภาวะนี้ได้

อย่างไรก็ตามจุดประสงค์ของการผ่าตัด คือการทำให้เด็กมีระบบทางเดินหายใจที่เป็นปกติเท่านั้น ซึ่งอาจส่งผลต่อเสียง และเนื้อเยื่อภายใน

พาลูกไปหาหมอหาก ลูกนอนหลับยากในเวลากลางคืน ลูกหายใจลำบาก หายใจหอบ รับประทานอาหารลำบาก กรนหนัก และหยุดหายใจชั่วขณะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การกรนส่งผลให้การนอนหลับไม่เพียงพอ

การกรนอาจจะทำให้เด็กไม่ได้รับการพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กดังนี้

  • น้ำหนักตัวลด
  • โรคสมาธิสั้น
  • ปัสสาวะรดที่นอน
  • ฝันผวา
  • โรคอ้วน

เมื่อไหร่ที่ลูกควรไปหาหมอ ?

  • ลูกนอนหลับยากในเวลากลางคืน
  • ลูกหายใจลำบาก
  • หายใจหอบ
  • รับประทานอาหารลำบาก
  • กรน และหยุดหายใจชั่วขณะ

ทารกนอนกรน ทำอย่างไรดี

คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูกได้ หากลูกนอนกรน ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • จัดห้องนอนให้มืด น่านอน เงียบสงบ
  • ห้องนอนลูกควรมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • ปรับเปลี่ยนท่านอนของลูก ยกตัวอย่างเช่น การนอนตะแคงข้าง
  • วางหมอน หรือผ้าซ้อนกันประมาณ 3 – 4 นิ้ว เพื่อให้ศีรษะของลูกยกสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะนอนหลับ
  • ในห้องไม่ควรมีสิ่งของที่อาจเป็นตัวช่วยกระตุ้นการให้เกิดภูมิแพ้ ยกตัวอย่างเช่น ดอกไม้ พรม เป็นต้น
  • หากมีสัตว์เลี้ยงในบ้าน ให้อยู่ห่างจากห้องนอนของลูก
  • งดทานผลิตภัณฑ์จากนมสัก 1 – 2 สัปดาห์

เปอร์เซ็นต์ของเด็กที่กรนรุนแรง อาจมีภาวะการหายใจผิดปกติ SBD (sleep disordered breathing) และหยุดหายใจชั่วคราวขณะนอนหลับ OSA (obstructive sleep apnea) ประกอบร่วม

ภาวะการหายใจผิดปกติขณะนอนหลับในเด็ก

3 เปอร์เซ็นต์ของเด็กที่กรนรุนแรง อาจมีภาวะการหายใจผิดปกติ SDB (sleep disordered breathing) และหยุดหายใจชั่วคราวขณะนอนหลับ OSA (obstructive sleep apnea) ประกอบร่วม

การหยุดหายใจชั่วคราวขณะนอนหลับ จะกินเวลาราว ๆ 10 วินาที โดยไม่มีการหายใจเกิดขึ้น ขณะที่ลูกหายใจเข้า แต่ไม่สามารถผ่านเข้าไปทางช่องคอได้ จึงทำให้เกิดเสียงกรนหยาบ ๆ การหยุดหายใจ 10 วินาทีอาจจะดูน่ากลัว แต่โดยทั่วไป ลูกมักจะรู้สึกตัว และตื่นขึ้นมาหายใจอีกครั้งโดยอัตโนมัติ ภายใน 10 – 15 วินาทีสัญญาณของการหายใจผิดปกติคือ อ้าปากขณะนอนหลับ น้ำลายไหลเลอะหมอน มีเสียงหายใจฟึดฟัดขณะนอนหลับ ปวดหัวมาก และนอนหลับนานกว่าปกติ การหายใจผิดปกติขณะนอนหลับ มักจะเกิดขึ้นในเด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน

เด็กที่นอนหลับไปพร้อมกับการหายใจที่ผิดปกติ (SBD) มักจะสะดุ้งตื่น ส่งเสียงคราง หรืออ้าปากพะงาบ ๆ นับครั้งไม่ถ้วนในแต่ละคืน จึงไม่แปลกเลย ที่เด็กเหล่านี้จะตื่นขึ้นมา พร้อมกับดวงตาคล้ำ ความเกรี้ยวกราด ไฮเปอร์ หงุดหงิด และขี้ลืม เนื่องจากการพักผ่อนที่ไม่เหมาะสมตลอดคืน SDB ยังจะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ต่ำลง ไม่สามารถเรียนรู้ได้เต็มที่ เกิดความเครียด และนำไปสู่โรคอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจอีกด้วย

การกรนในเด็กทารกจะว่าเป็นเรื่องปกติ ก็ปกติ เนื่องจากทางเดินหายใจที่เล็ก และแคบ ทำให้เกิดเสียงขณะหายใจได้ หากแต่ก็สามารถนำไปสู่ภาวะเสี่ยงต่าง ๆ ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุเบื้องต้นที่ทำให้ลูกทารกกรนขณะนอนหลับ เด็กหลาย ๆ คนเลิกกรนหลังจากที่ได้รับคำปรึษาจากแพทย์ ในการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม และอาหารการกินเพียงเท่านั้น การกรนที่เกิดจากน้ำมูกอุดตัน ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องน่ากังวลใจ และสามารถแก้ไขได้ที่บ้าน แต่หากลูกกรนรุนแรง สาเหตุคือ อวัยวะภายใน เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบ ภาวะผนังช่องจมูกคด และอื่น ๆ เหล่านี้ ต้องปรึกษาแพทย์โดยด่วนเท่านั้น

 

ที่มา: Saintmedical , Mom Junction , Happiestbaby

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

การนอนของลูกนั้นสำคัญไฉน

3 คำถามคุยกับลูกวัยอนุบาลก่อนนอน

ทารกได้ยินตอนไหน การได้ยินของทารกเริ่มเมื่อไหร่ กระตุ้นการได้ยินอย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Muninth