ตารางการนอนทารกแรกเกิด - 15 เดือน ทารกควรนอนนานเท่าไหร่ นอนกี่ครั้งต่อวัน

ตารางการนอนทารกแรกเกิด - 15 เดือน พ่อแม่รู้ไหมว่าลูกน้อยควรนอนนานเท่าไหร่ในแต่ละวัน แบ่งเป็นกลางวันกี่ชั่วโมง การคืนกี่ชั่วโมง และจำเป็นต้องนอนบ่อยแค่ไหนกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตารางการนอนทารกแรกเกิด – 15 เดือน พ่อแม่รู้ไหมว่าลูกน้อยควรนอนนานเท่าไหร่ในแต่ละวัน แบ่งเป็นกลางวันกี่ชั่วโมง การคืนกี่ชั่วโมง และจำเป็นต้องนอนบ่อยแค่ไหนกันนะ วันนี้เราจะมาบอก ตารางการนอนทารกแรกเกิด ที่ควรนอนในแต่ละวัน ลูกน้อยควรนอนนานเท่าไหร่ถึงจะดีต่อทารกที่สุด มาดูกันเลย

 

เริ่มฝึกลูกนอนเป็นเวลาได้ตอนอายุเท่าไหร่

การนอนหลับของทารก เป็นหนึ่งในพัฒนาการของเด็กเช่นเดียวกัน ซึ่งพ่อแม่ไม่สามารถทำได้ภายใน 4 – 5 สัปดาห์แรกหลังจากที่ลูกคลอดออกมา เพราะว่าเด็กยังมีพัฒนาการทางด้านระบบประสาทไม่ดีพอ ต้องรอให้ทารกอายุได้ประมาณ 4 เดือนก่อน พ่อแม่จึงจะเริ่มฝึกลูกให้นอนเป็นเวลาได้ ซึ่งก็ต้องค่อยๆ ปรับ ค่อยๆ ฝึกลูกกันไป ให้ลูกน้อยได้พัฒนาเรื่องการนอนด้วยตัวเอง

โดยทาง American Academy of Pediatrics ระบุว่า ทารกยังไม่มีวงจรการนอนหลับแบบปกติจนกว่าพวกเขาจะมีอายุ 6 เดือน ดังนั้น พ่อแม่อาจต้องอดทนรอไปจนกว่าลูกน้อยจะพร้อมในการฝึกการนอนเป็นเวลา

 

ตารางการนอนของทารก

ช่วงอายุของทารก จำนวนการนอน (ครั้ง/วัน) ชั่วโมงการนอนกลางวัน ชั่วโมงการนอนกลางคืน
แรกเกิด – 4 เดือน 4 – 5 7-8 15 – 16
4 – 6 เดือน 3 3 – 4½ 10 – 12
6 – 9 เดือน 2 3 – 4 10½ – 12
9 – 12 เดือน 1 3 + 10½ – 12
12 – 15 เดือน 1 2 – 2½ 10½ – 12

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีพาลูกเข้านอนในแต่ละวัน

สำหรับคุณแม่ที่ต้องพาลูกเข้านอนในช่วงกลางวัน แนะนำว่า ให้ลูกเข้านอนในช่วงเวลาไม่เกินบ่าย 2 หรือ บ่าย 3  เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกนอนนานเกินไปจนไม่สามารถนอนตอนกลางคืนได้ โดยที่ระหว่างวันคุณแม่ต้องปล่อยให้ลูกได้เล่นได้อย่างเต็มที่ หรือถูกกระตุ้นด้วยการพูดคุย การร้องเพลง การอ่านหนังสือ การให้เจ้าตัวน้อยได้เล่นระหว่างวันจะทำให้ลูกนอนหลับได้ดีในตอนกลางคืน

สำหรับในช่วงกลางคืน แนะนำว่า คุณแม่ควรทำให้ลูกหลับภายในระยะเวลา 30 นาที และควรพาลูกเข้านอนก่อนเวลา 20:00 น. เพราะถ้าหากลูกนอนดึกไปมากกว่ากว่านี้จะยิ่งทำให้ลูกหลับยากขึ้น และตื่นกลางดึกบ่อย คุณแม่ก็จะเหนื่อยมากขึ้น และได้พักผ่อนน้อยลงไปอีก ซึ่งวิธีการกล่อมลูกนอนหลับ มีดังต่อไปนี้

1. หรี่ไฟในห้องนอนลง อย่าให้สว่างเกินไป หรือมืดเกินไปจนคุณมองไม่เห็น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2.  อ่านหนังสือ หรือ อ่านนิทานให้ลูกฟัง

3. ร้องเพลงเบา ๆ เพื่อขับกล่อมให้ลูกนอน

4. นวดผ่อนคลายลูกเบา ๆ

5.ใช้ผ้าห่อตัวลูก แต่อย่าให้แน่นเกินไป และควรเว้นบริเวณช่วงจมูกไว้ด้วย เพื่อป้องกันโรคไหลตายในทารก

6. หากลูกติดผ้าหรือตุ๊กตาก็ควรหยิบมาให้ลูกกอด

8. ตบหลังลูกเบา ๆ เป็นจังหวะให้ลูกเคลิ้มจนหลับไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

9. ใช้เสียงธรรมชาติให้ลูกหลับ ที่เรียกว่า White Noise เช่น เสียงพัดลม เสียงฝน

10. อุ้มลูกแล้วโยกตัวไปมา จนกว่าลูกเคลิบเคลิ้มแล้วหลับไป

 

 

วิธีทำให้เด็กหลับยาวมากยิ่งขึ้น

1. การพาเด็กเข้าห้องนอนก่อนเด็กจะหลับ เป็นอีกวิธีทำให้เด็กหลับยาว

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ มักจะเผลอปล่อยให้ลูกนอนหลับขณะที่ตนกำลังอุ้มลูกอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการอุ้มพาดบ่า หรืออุ้มแนบอก การที่เด็กหลับขณะที่เราอุ้มอยู่นั้นจะทำให้เด็กติดเป็นพฤติกรรม หมายความว่า ต่อจากนี้ไป เด็กจะไม่ยอมนอนจนกว่าเราจะอุ้มไว้ และเมื่อเราเอาลูกไปวางบนที่นอนหลังจากที่หลับคาอกเราแล้ว เมื่อเด็กตื่นขึ้นมา เด็กจะร้องและไม่สามารถหลับต่อได้เอง เนื่องจากว่าสภาวะก่อนที่เขาจะหลับได้เปลี่ยนไปแล้ว

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะพาลูกไปนอนยังที่นอนของเขาก่อนที่เขาจะหลับเสมอ หากเป็นช่วงที่กินนม แล้วเขาเผลอกินแล้วหลับละก็ ลองอุ้มลูกไปที่นอนจากนั้นก็อาจจะกระตุ้นให้แกตื่นด้วยการลูบเบา ๆ ที่หัวแม่เท้า หรือจักจี้ที่ฝ่าเท้าเบา ๆ เพื่อเด็กรู้สึกตัวอีกครั้ง จากนั้นคุณค่อยให้ลูกนอนหลับ  ฝึกแบบนี้บ่อย ๆ จะทำให้เด็กชินกับที่นอนมากกว่าการนอนบนอกหรือบ่าของคุณพ่อคุณแม่ หรืออาจจะเลื่อนเวลาในการให้นมให้เร็วขึ้นอีกนิด เพื่อที่เขาจะได้กินนมหมด แล้วยังพอมีเวลาที่คุณจะพาแกไปยังที่นอน 

2. วิธีทำให้เด็กหลับยาว ด้วยการบอกเด็กทุกครั้งว่าถึงเวลาเข้านอน

การพูดกับลูก แม้ว่าลูกจะยังเป็นทารก หรือเด็กที่เริ่มโตแล้วก็ตาม เด็กจะสามารถเรียนรู้ได้ อย่าเพิ่งคิดว่าแกฟังไม่รู้เรื่อง หากคุณพาแกไปยังที่นอนแล้ว คุณควรที่จะใช้คำพูดเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ทุกครั้งในการบอกแกว่า ได้เวลานอนแล้ว น้ำเสียงควรจะเป็นโทนต่ำ ราบเรียบ เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กได้เรียนรู้ว่า เมื่อพ่อแม่พูดคำนี้ น้ำเสียงแบบนี้บนที่นอน นี่คือสัญญาณว่าได้เวลานอนแล้ว

3. วิธีทำให้เด็กหลับยาว ด้วยการให้เด็กหลับด้วยวิธีเดียวกันเสมอ ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไม่ว่าจะเป็นการนอนตอนกลางวัน กลางคืน คุณควรที่จะฝึกให้เขาเรียนรู้ว่า เมื่อคุณปฏิบัติตามเคล็ดลับที่ 1 และ 2 แล้ว นั้นคือเวลาเข้านอนของเขาแล้ว แรก ๆ เด็กอาจจะปรับตัวไม่ได้ แต่ว่าเมื่อเวลาผ่านไป เด็ก ๆ จะสามารถเรียนรู้ได้เอง คุณพ่อคุณแม่ต้องอดทนและให้เวลากับลูกให้มาก

4. วิธีทำให้เด็กหลับยาว ด้วยการพยายามอย่าอุ้มเด็กขึ้นมาเมื่อเด็กตื่น

หากลูกรู้สึกตัว อาจเกิดจากกำลังขับถ่าย หรืออาจจะเพราะได้ยินเสียงดังเลยตกใจตื่น หรือด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตามที่เราเห็นว่าแกยังนอนไม่เต็มอิ่ม คุณไม่ควรที่จะอุ้มแกขึ้นมากล่อม แค่เพียงพูดคุยในประโยคเดิม ๆ ว่าได้เวลานอนแล้ว สัมผัสแกให้รู้ว่าคุณอยู่ข้าง ๆ และให้แกรู้สึกว่าปลอดภัย จะสามารถแก้ไขปัญหาที่ต้องมาคอยอุ้มกล่อมลูกในยามดึกได้

5. จัดบรรยากาศของห้องนอน เป็นอีกหนึ่งวิธีทำให้เด็กหลับยาว

ก่อนที่ลูกจะหลับตาลงนั้น สภาวะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแสง อากาศ เสียง หรืออุณหภูมิในห้อง เด็ก ๆ ล้วนบันทึกไว้ก่อนหลับแล้ว คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรที่จะเปลี่ยนหรือทำให้สภาวะห้องเปลี่ยนไป เพราะเมื่อเด็กตื่นขึ้น หากเขาเห็นว่าห้องไม่เหมือนเดิม เขาจะรู้สึกไม่ปลอดภัย และร้องไห้มากกว่าเดิม

คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มฝีกได้ตั้งแต่วัยแบเบาะเลย ไม่ยากใช่ไหม ยิ่งเริ่มฝึกเร็วยิ่งส่งผลดีแต่คุณพ่อคุณแม่ ลูกน้อยจะมีพฤติกรรมการนอนที่ดี ส่งผลให้พัฒนาการทางกายดีและพัฒนาการทางอารมณ์เยี่ยมไปด้วยเช่นกัน

ท่านอนที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก

 

1) ช่วงแรกเกิด – 3 เดือน

เด็กทารกในช่วงวัยนี้กระดูกด้านหลังยังไม่แข็งแรงดี การจัดท่านอนที่เหมาะสมควรให้ลูกน้อยนอนหงายสลับกับนอนตะแคงไปมา เพื่อให้ทารกได้หายใจอย่างสะดวก เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ SIDS ขณะนอนหลับ

 

2) ช่วง 4 – 6 เดือน

ในช่วง 4-6 เดือนนี้ กระดูกช่วงหลังของทารกจะเริ่มแข็งแรงขึ้น ซึ่งท่านอนที่ปลอดภัยสำหรับเด็กช่วงวัยนี้คือการคว่ำไปด้านหน้า เพราะลูกน้อยจะสามารถยกศีรษะได้บ้างแล้ว ซึ่งคุณแม่สามารถปรับท่าให้นอนคว่ำ วางแขนและขาของลูกน้อยให้อยู่ในท่าที่เหมาะสมและจับศีรษะลูกหันไปทางด้านใดด้านหนึ่ง ที่สำคัญควรจับศรีษะลูกนอนบนหมอนแบน ๆ วิธีนี้จะทำให้ทารกนอนหลับสนิทไม่สะดุ้งตื่นง่ายอีกด้วยค่ะ

 

3) ช่วง 7 – 12 เดือน

ในช่วงวัยนี้ ร่างกายของลูกน้อยจะเริ่มเข้าที่และแข็งแรงขึ้นมากแล้วค่ะ ลูกน้อยสามารถเริ่มนอนพลิกตัวได้ไปมา สิ่งที่สำคัญคือ คุณพ่อคุณแม่จะต้องเลือกที่นอนจัดที่นอนของลูกให้เหมาะสมและเป็นระเบียบกับลูกน้อย เช่น มีราว หรือ คอกกั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยตกเตียงค่ะ

หมายเหตุ: สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวังก็คือ เด็กขวบปีแรกเสี่ยงเป็น SIDS ที่สุด SIDS หรือ Sudden Infant Death Syndrome มักเกิดในเด็กแรกเกิด – 1 ปี ส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็กอายุ 2 – 4 เดือน ซึ่งเสียชีวิตขณะนอนหลับ คือนอนแล้วไม่ตื่นอีกเลย โดยที่ก่อนนอนนั้นเด็กไม่มีโรคหรืออาการผิดปกติแต่อย่างไร แต่มักพบว่า เด็กที่เสียชีวิตด้วยโรค SIDS นั้น ส่วนใหญ่มารดาสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า อายุน้อยกว่า 20 ปี ขณะตั้งครรภ์ เป็นเด็กคลอดก่อนกำหนด หรือ เด็กทารกที่แรกคลอดน้ำหนักตัวน้อย และ ยังพบในเด็กที่อยู่ในบ้านที่มีผู้สูบบุหรี่อีกด้วย

 

 

คำแนะนำสำหรับการนอนที่ปลอดภัย

1. นอนหงายเท่านั้น เว้นแต่มีคำแนะนำจากแพทย์เป็นบางกรณี

2. ก่อนลูกนอนตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีวัสดุนุ่มนิ่ม เช่น ผ้าห่มฟูๆ หมอน หมอนข้าง วัสดุกันกระแทกรอบๆเตียงที่อาจอุดจมูกหรือปากของลูกจนหายใจไม่ได้

3. เลือกใช้อุปกรณ์สำหรับทารกนอนหรือเตียงชนิดที่มีมาตรฐานความปลอดภัย

4. ห้องนอนลูกควรมีอุณหภูมิที่เย็นพอ ไม่อุ่นหรืออบอ้าวจนเกินไป เพราะอากาศร้อนอบอ้าวจะทำให้หายใจได้ลำบากขึ้น

5. คุณแม่ไม่ควรใส่เสื้อผ้าหลายชั้นหรือพันแน่นตัวลูกเกินไป ทำให้หายใจไม่สะดวก และความร้อนมากเกินไปเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะ SIDS

6. คนในบ้านไม่สูบบุหรี่ในที่มีลูกน้อย เพราะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะ SIDS และเป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูก

อ่านมาถึงจุดนี้แล้ว คุณแม่หลายๆคนกังวลใจ จนไม่นอนหลับนั่งจ้องลูกทั้งคืน หากคุณแม่จัดสิ่งแวดล้อมและท่านอนตามคำแนะนำข้างต้นแล้ว ก็อย่าได้กังวลใจไปเลย ที่สำคัญตรวจสอบที่นอนก่อนลูกนอนทุกครั้ง

ที่มา: healthyway, Enfababy

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

ทำไมทารกร้องไห้หลังกินนม ลูกดูดนมแล้วร้องไห้เป็นเพราะอะไร??

ตารางพัฒนาการ ทารกแรกเกิด-6 ปี ด้านการเคลื่อนไหว มองเห็น และสื่อสารภาษา

ทารกติดโรค จากผู้ใหญ่ ทารกป่วยบ่อย ติดเชื้อจากพ่อแม่ ครอบครัว คนป่วยต้องอยู่ให้ห่างลูก

บทความโดย

Khunsiri