อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่ ๆ รู้ไหม อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ ลูกโตขนาดนี้แล้ว ช่วงนี้ทารกในครรภ์จะมีความยาว 11.6 เซนติเมตร เทียบเท่ากับลูกอะโวคาโด 1 ลูกเลยแหละ เรื่องอะไรบ้างที่คุณแม่ควรรู้ในช่วงนี้ มาอ่านกันเลย

 

อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์เป็นอย่างไร

  • ลูกกำลังเสริมสร้างกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กล้ามเนื้อบริเวณหลังและกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า
  • หนูน้อยทำหน้านิ่วคิ้วขมวด และหรี่ตาได้แล้วนะ
  • เปลือกตาของลูกตรวจจับแสงได้แล้วเช่นกัน
  • คิ้วและขนตาของลูก งอกยาวสมบูรณ์แล้ว
  • กระดูกชิ้นน้อย ๆ พัฒนาขึ้นแล้วในหูของเจ้าตัวเล็ก สอดคล้องกับพัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์ที่เริ่มขึ้นแล้ว

 

อาการคนท้อง 16 สัปดาห์

  • แม่ท้องบางท่านจะเริ่มสัมผัสได้ว่าลูกดิ้น แต่การเคลื่อนไหวของทารกน้อยนั้นก็เป็นไปอย่างเบา ๆ
  • จากการขยายตัวของมดลูกไปเบียดปอด ทำให้คนท้องหายใจลำบาก หายใจได้ไม่สุด อึดอัดหน่อยนะแม่
  • มดลูกจะขยายไปกดแถวลำไส้ ทำให้แม่ท้องผูกได้
  • ช่วงนี้นี่เองที่เส้นผมและเล็บจะยาวเร็วขึ้น เส้นผมแม่ท้องก็จะเปล่งประกายงดงาม นี่แหละ Pregnancy Glow ที่ใคร ๆ ก็พูดถึง

 

 

การดูแลตัวเองตอนท้อง 16 สัปดาห์

  • ขอแนะนำให้แม่ท้องเริ่มออกกำลังกายอย่างเบา ๆ โดยเน้นการบริหารกล้ามเนื้อหลัง และกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ค่อย ๆ ยืดกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการเจ็บปวด
  • ยังเป็นช่วงที่แม่ต้องควบคุมการรับประทานอาหาร แม้ว่าจะรู้สึกหิวบ่อยแค่ไหน ก็ต้องตั้งสติก่อนกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์นะ
  • แม่ท้องอาจมีอาการคัน และมีผิวพรรณที่แห้งลอกได้ง่าย ต้องคอยบำรุงผิวอย่างสม่ำเสมอ อย่าลืมซื้อมอยส์เจอไรเซอร์ไว้ติดบ้าน

 

เรื่องที่ควรทำตอนท้อง 16 สัปดาห์

  • ลูกในท้องเริ่มได้ยินเสียงแล้ว ตอนนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกับลูกด้วยคำไพเราะ คำหวาน ๆ เพื่อให้ลูกได้คุ้นเคยเสียงพ่อแม่กัน
  • ไม่แปลกนะ ถ้าแม่ท้องจะขี้ลืม สิ่งนี้เรียกว่า Pregnancy Brain เกิดจากสมองของแม่ท้องคิดถึงแต่เรื่องลูก นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมถึงฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้ขี้ลืมมากกว่าปกติ ช่วงนี้ก็ลิสต์สิ่งที่ต้องทำ ของที่ต้องซื้อ จดใส่กระดาษ หรือบันทึกไว้ในมือถือ จะช่วยได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ช่วง อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ ถ้าคุณแม่ถ่ายไม่ออกหรือท้องผูก ก็ควรเลือกรับประทานผักและผลไม้ รวมทั้งอาหารที่ย่อยง่าย ๆ แม่จะได้รู้สึกสบายตัว แต่ถ้าแม่เริ่มหายใจลำบาก หายใจได้ไม่ลึก จนรู้สึกไม่สบาย อย่านิ่งนอนใจ รีบไปปรึกษาคุณหมอ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

 

ทารกได้ยินตอนไหน การได้ยินของทารกหลังคลอดเป็นอย่างไร

ทารกเริ่มได้ยินเสียงได้ตั้งแต่แรกคลอด จนเมื่อทารกมีอายุได้ประมาณ 1 เดือน พัฒนาการการได้ยินของทารกก็จะมีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทารกจะสามารถได้ยินเสียงได้แล้ว แต่ทารกก็อาจจะยังไม่สามารถตอบสนองต่อเสียงได้ ยังหาต้นตอของเสียงไม่ได้ ซึ่งก็อาจจะต้องใช้เวลาสักพัก จนเมื่อทารกมีอายุได้ 9 เดือน เด็กก็จะสามารถหันหาเสียงได้ทุกทิศทาง และมีพัฒนาการการได้ยินอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นพื้นฐานต่อพัฒนาการด้านอื่น ๆ ต่อไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิดีโอจาก : Family Man & พยาบาลแม่หนิว

 

วิธีเสริมพัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์

  • คุยกับลูกในท้องบ่อย ๆ รวมถึงการร้องเพลง หรืออ่านหนังสือ ก็จะเป็นการช่วยส่งเสริมพัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์ได้เช่นกัน
  • เปิดเพลงให้ลูกฟัง ไม่จำกัดว่าจะเป็นเพลงแนวไหน แค่ขอให้เป็นเพลงที่ฟังสบาย ก็จะช่วยให้ลูกรู้สึกถึงจังหวะ ซึ่งจะไปกระตุ้นพัฒนาการได้ยินของทารกในครรภ์ พัฒนาการทางอารมณ์ และพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ได้
  • หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังมาก หรือดังซ้ำ ๆ บ่อย ๆ เนื่องจากเสียงรบกวนอาจส่งผลต่อพัฒนาการของลูก และอาจทำให้ลูกน้อยที่กำลังเจริญเติบโตสูญเสียการได้ยิน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีเสริมพัฒนาการการได้ยินของทารกหลังคลอด

  • พูดคุยกับลูกบ่อย ๆ ร้องเพลงกล่อมก่อนเข้านอน หรือเปิดเพลงให้ฟัง
  • หาของเล่นที่มีเสียงให้ลูกเล่น
  • สลับให้ลูกนอนในห้องเงียบ ๆ บ้าง เพื่อหัดให้แยกแยะความแตกต่าง ระหว่างการมีเสียงและความเงียบ แต่อย่ากระตุ้นลูกด้วยเสียงดังครึกโครม เช่น การเปิดทีวี หรือวิทยุตลอดเวลา เพราะเป็นการกระตุ้นลูกที่ไม่ถูกต้อง

 

อาหารคนท้อง 16 สัปดาห์

คุณแม่บางคนที่รับประทานอาหารไม่ค่อยได้ ลูกน้อยในครรภ์ก็อาจพลอยได้รับสารอาหารน้อยลงไปด้วย อาจทำให้ลูกมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ มีอัตราเสียชีวิตหลังคลอดสูงกว่าปกติ หรือมีอัตราเสี่ยงต่อการแท้งสูงขึ้น แต่สำหรับคุณแม่ที่หิวมาก กินเยอะจนมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นผิดปกติ ช่วงหลังคลอดเมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไขมันในร่างกายส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้ในการสร้างน้ำนม แต่ไขมันที่ยังเหลืออยู่บ้างและลดลงได้ยาก หลังจากเลิกให้นมลูกแล้วคุณแม่ก็ควรจะออกกำลังกายเพื่อช่วยลดน้ำหนักด้วย

ในระหว่างการตั้งครรภ์คุณแม่จะต้องกินอาหารให้ได้ในปริมาณที่เพียงพอและมีอัตราส่วนของสารอาหารที่ถูกต้อง ครบถ้วน อย่างเหมาะสม เพื่อให้ตัวคุณแม่เองแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่เหนื่อยง่าย และช่วยลดอาการแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ และเพื่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ ซึ่งความต้องการอาหารของคุณแม่อาจไม่เท่ากันตลอดระยะการตั้งครรภ์

ในขณะที่ตั้งครรภ์ ธรรมชาติจะทำให้ร่างกายคุณแม่ได้รับสารอาหารเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากฤทธิ์ของฮอร์โมนชนิดหนึ่งทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้ช้าลง จึงส่งผลให้อาหารถูกดูดซึมเข้าร่างกาย แต่ผลของการที่ลำไส้เคลื่อนไหวช้านี้ก็อาจทำให้คุณแม่รู้สึกคลื่นไส้ พะอืดพะอมบ้าง ถ้าคุณแม่ได้รับอาหารที่ถูกส่วนแล้ว อาหารที่ได้เพิ่มขึ้นก็จะเพียงพอสำหรับร่างกาย

ในระยะที่ตั้งครรภ์ใหม่ ๆ และคุณแม่ควรระลึกไว้เสมอว่า “ตอนท้อง ต้องกินหนึ่งเผื่อสอง” ซึ่งหมายความว่าให้กินอาหารที่มีประโยชน์ทั้งต่อตัวแม่เองและลูกน้อยด้วย อาหารส่วนหนึ่งนอกจากจะนำไปบำรุงร่างกายของคุณแม่ให้แข็งแรงแล้ว (เพื่อเตรียมตัวคลอดและให้นมลูกหลังคลอด) อาหารอีกส่วนหนึ่งก็ยังนำไปเลี้ยงลูกน้อยในระหว่างที่อยู่ในครรภ์ด้วย เพื่อให้ลูกน้อยมีร่างกาย สมอง และระบบประสาทเจริญเติบโตสมบูรณ์และแข็งแรงดี

 

 

เมนูอาหารสำหรับคนท้อง

  • อาหารที่มีโปรตีน 3 มื้อ : เนื้อหมู, เนื้อวัว, เนื้อเป็ด, เนื้อไก่ไม่ติดมัน, เครื่องในไม่มีไขมัน 75 กรัม, เนื้อปลา 100 กรัม, กุ้ง 100 กรัม, ไข่ 3 ฟอง, นม 500 มิลลิลิตร, โยเกิร์ต 340 มิลลิลิตร
  • อาหารจำพวกแป้ง 4-5 มื้อ : ข้าว, ก๋วยเตี๋ยว, ขนมปังธัญพืช, คอร์นเฟลก, ถั่วแดง
  • ผักใบเขียวและผลไม้ 3 มื้อ : ผักโขมและบรอกโคลี 25 กรัม, มะเขือเทศ 150 กรัม, พริกหยวก 25 กรัม, แตงโม 50 กรัม, แคร์รอต 13 กรัม, มะม่วง, องุ่น, ส้ม, ถั่ว 250 กรัม, เงาะ, มังคุด, แอปเปิล
  • อาหารที่มีแคลเซียม 4 มื้อ : นมวัว 200 มิลลิลิตร, นมเปรี้ยว 250 มิลลิลิตร, ใบชะพลู, ใบขึ้นฉ่าย, ใบยอ, ผักโขม, มะเขือพวง, กุ้งน้ำจืด, กุ้งแห้ง, ถั่วเหลือง, ถั่วเขียว, เต้าหู้, ปลาซาร์ดีนชนิดมีก้างบรรจุกระป๋อง
  • อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี 2 มื้อ : ฝรั่ง, ส้ม, น้ำมะนาว, องุ่น 1 พวง, มะขามป้อม, พริกหยวก 25 กรัม
  • อาหารที่มีธาตุเหล็ก 2 มื้อ : ตับ, เนื้อแดง, เนื้อปลา, ไข่แดง, ใบชะพลู, ใบตำลึง, ใบกะเพรา, ใบขี้เหล็ก, ใบขึ้นฉ่าย, ชะอม, งา
  • น้ำสะอาดบริสุทธิ์วันละ 8 แก้ว : ควรงดกาแฟและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

 

อาหารที่แม่ได้รับจะส่งผลต่อสุขภาพของลูกอย่างไร

  • การพัฒนาของสมองและระบบประสาทหลังจากปฏิสนธิ ในระยะนี้สมองของลูกน้อยจะเจริญเติบโตเร็วมาก จึงต้องการสารอาหารที่จำเป็นทั้งโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ต่าง ๆ เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสม
  • การพัฒนาของร่างกาย สารอาหารที่ได้รับจากแม่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการเจริญเติบโตของลูกน้อย เช่น กรดโฟลิกช่วยป้องกันความพิการของลูกน้อย โปรตีนช่วยสร้างกล้ามเนื้อ แคลเซียมและวิตามินดีช่วยให้กระดูกแข็งแรง เป็นต้น
  • อารมณ์และจิตใจ ลูกน้อยที่เกิดจากแม่ที่ได้รับอาหารที่มีประโยชน์และสมบูรณ์จะมีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง ยิ้มง่าย ไม่เซื่องซึม เมื่อเทียบกับลูกที่เกิดจากแม่ที่ขาดสารอาหาร
  • สุขภาพในระยะยาว อาหารที่คุณแม่ได้รับก่อนการตั้งครรภ์และในระหว่างตั้งครรภ์มีผลต่อการพัฒนาของลูกน้อยในช่วงที่เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ถ้าคุณแม่ได้รับอาหารอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ โอกาสที่ลูกจะเกิดมาแล้วเป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง รวมทั้งมะเร็งต่าง ๆ ก็มีน้อยลงตามไปด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในช่วงไตรมาสที่ 2 อาจมีหลายอย่างที่คุณแม่ต้องหันมาเอาใจใส่มากขึ้น เพื่อตัวของคุณแม่ และทารกในครรภ์ แต่เรารับรองได้ว่า การดูแลครรภ์อย่างดีที่สุด จะนำสิ่งที่มีคุณค่ามาให้คุณแม่อย่างแน่นอน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ตั้งครรภ์ 15 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

ตั้งครรภ์ 18 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

กินอย่างไรให้ลงลูก กินแล้วแม่ไม่อ้วน ลูกได้สารอาหารครบถ้วนตั้งแต่ในท้อง

ที่มา :whattoexpect , mamastory

บทความโดย

Tulya