ดูดจุกนมหลอกหรือดูดนิ้วให้ลูกดูดอะไรดีกว่ากันนะ
ดูดจุกนมหลอกหรือดูดนิ้วให้ลูกดูดอะไรดีกว่ากันนะ ??!!
ดูดจุกนมหลอกหรือดูดนิ้วให้ลูกดูดอะไรดีกว่ากันนะ
ทำไมเจ้าหนูน้อยถึงชอบดูดนิ้ว
เชื่อไหมคะ ? ลูกดูดนิ้วมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่แล้ว ดังนั้น พฤติกรรมการดูดนิ้วของลูก ไม่ใช่เกิดจากลูกหิวนะคะ และไม่ใช่สิ่งที่จะบอกถึงอาการหรือความต้องการของเด็ก แต่การดูดนิ้ว คือ
- การกระตุ้นประสาทการรับรส การกระตุ้นการทำงานของช่องปาก ต่อมน้ำลายต่างๆ
- นอกจากนี้ การดูดนิ้วของทารกน้อย บางครั้งก็เป็นการแสดงออกถึงความกังวลหรือรู้สึกไม่ปลอดภัยเช่นกันค่ะ เช่น เมื่อเจ้าหนูมองไม่เห็นคุณแม่ และกำลังรู้สึกกังวลหรือไม่ปลอดภัย ลูกอาจจะใช้วิธีดูดนิ้ว เพราะเด็กเคยชินกับการดูดนิ้วตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพราะตอนอยู่ในท้องคุณแม่เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและได้ใกล้ชิดกับคุณแม่
- ลูกมักจะเลิกดูดนิ้วไปเองเมื่อเขาเจอวิธีอื่น ๆ ที่ช่วยให้ตัวเองสงบและสบายใจได้ โดยปกติแล้วมักจะเลิกภายในช่วง 4-5 ขวบค่ะ ถึงแม้ว่าเด็กหลายคนอาจจะยังดูดนิ้วบ้างในตอนกลางคืน หรือในเวลาที่เขารู้สึกเครียด
กังวลลูกดูดนิ้ว : ลูกดูดนิ้ว มีข้อดีไหม หรือว่าจำเป็นต้องห่วง
ชอบดูดนิ้ว ปกติหรือน่ากังวล?
อย่างไรก็ตาม มีเด็กหลายคนติดดูดนิ้วต่อเนื่องจนถึงอายุ 5-6 ขวบ เด็กเหล่านี้ควรได้รับการตรวจรักษาก่อนที่การดูดนิ้วจะนำไปสู่ปัญหาการสบของฟันที่ผิดปกติ (Malocclusion) ผู้เชี่ยวชาญส่วนมากเห็นด้วยว่าเด็กซึ่งเล็กกว่า 5 ขวบไม่ควรถูกบังคับให้เลิกดูดนิ้ว เด็กส่วนใหญ่จะเลิกติดดูดนิ้วไปเองก่อนจะเข้าเรียนชั้นอนุบาล ความจริงแล้ว มากกว่าสามในสี่ของเด็กทารกดูดนิ้วตลอดช่วงขวบปีแรกของชีวิต เด็กมักดูดนิ้วเมื่อรู้สึกเบื่อ ง่วงหรือหงุดหงิด นอกจากนี้ยังไม่ใช่เรื่องแปลกที่การดูดนิ้วอาจเกิดควบคู่ไปกับพฤติกรรมอื่น เช่น ใช้นิ้วพันผมเล่น จับหูตัวเองหรือลูบ “ผ้าห่มผืนโปรด”
การติดดูดนิ้วเรื้อรังอาจนำไปสู่ปัญหาการสบฟันหน้าไม่สนิทและฟันหลังสบไขว้ ผลกระทบของการดูดนิ้วขึ้นอยู่กับวัยของเด็ก ระยะเวลา ความถี่และความแรงของการดูดนิ้ว ตามปกติแล้วหากตรวจพบก่อนที่ขากรรไกรบนของเด็กจะเติบโตสมบูรณ์ ปัญหาการสบฟันอันเกิดจากการดูดนิ้วมักหายได้เอง แต่หากเด็กยังติดนิสัยนี้ต่อไปโดยไม่ได้รับการแก้ไข การสบฟันผิดปกติจากการดูดนิ้วอาจจำเป็นต้องได้รับการจัดฟันที่ยุ่งยากซับซ้อนต่อไปในอนาคต
แม้จะได้ทราบถึงเหตุผลของลูกว่าทำไมชอบดูดนิ้ว แต่อีกใจคุณพ่อคุณแม่ก็อดกังวลไม่ได้ หากนิ้วหรือมือของลูกเกิดไปหยิบจับสิ่งต่าง ๆ จะทำให้เชื้อโรคติดเข้าปากลูกได้ จึงให้ “จุ๊บ” หรือจุกนมปลอมให้ลูกดูดแทนดีกว่า!!!
วิธีการที่จะให้ลูกดูดนิ้ว
ไม่ยากเลยละค่ะ แต่ก่อนอื่น คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยกันสร้างแรงบันดาลใจให้กับลูกก่อน ทำให้ลูกรู้สึกว่า การไม่ดูดนิ้วนั้นดีอย่างไรก่อน และคอยชมและให้กำลังใจเวลาที่พวกเขาทำได้ ของแบบนี้ต้องค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปกันนะคะ อย่าไปหักดิบลูกเด็ดขาด และนี่คือวิธีการง่าย ๆ ที่เราเอามาฝากค่ะ
1. หลีกเลี่ยงให้ลูกนอนดูดนิ้ว เพราะลูกอาจจะเผลอดูดนิ้วไปตลอดทั้งคืน และนั่นส่งผลให้เกิดปัญหาฟันสบเปิด และแน่นอนค่ะว่า เมื่อพวกเขาโตขึ้น คุณพ่อคุณแม่ได้พาพวกเขาไปจัดฟันเป็นแน่
2. จับตาดูลูก คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะจับตาดูลูกเสมอ และพยายามเบี่ยงเบนความสนใจด้วยการเอาของเล่นใส่มือทั้งสองข้างทันที
3. อย่าดุลูก เข้าใจค่ะว่า คุณพ่อคุณแม่อาจจะหงุดหงิดทุกครั้งที่เห็นลูกดูดนิ้ว แต่ของแบบนี้ต้องใช้เวลานะคะ การพยายามให้ลูกเลิกด้วยอารมณ์และบังคับเขานั้น จะทำให้ลูกไม่เข้าใจ เสียใจ และอาจจะดูดนิ้วหนักกว่าเดิม
4. หารูปเชื้อโรคมาให้ลูกดู วิธีนี้อาจจะเป็นการทำให้ลูกกลัวเสียหน่อย แต่ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะได้ผลนะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กที่เริ่มโตและรู้เรื่องแล้ว วิธีการก็คือ บอกเขาว่า นี่คือเชื้อโรคที่อยู่ตามนิ้วของลูก เพราะลูกไม่มีทางรู้เลยว่า สิ่งของหรือของกินที่ลูกจับต้องนั้น ปราศจากเชื้อโรคจริงหรือไม่ ดังนั้น การที่ลูกดูดนิ้วนั่นก็หมายถึง ลูกดูดอมเอาเชื้อโรคเข้าไปในร่างกายด้วย และนั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่สบาย
5. ลองใช้วิธีแบบโบราณ สิ่งที่คนสมัยก่อนมักใช้ในการห้ลูกดูดนิ้วนั้นก็คือ การนำบอระเม็ดมาทาที่นิ้วลูก และเมื่อไหร่ก็ตามที่พวกเขาดูดเข้าไป เมื่อนั้นเขาจะได้สัมผัสกับรสชาติของความขม ที่พวกเขาจะรู้สึกเข็ดไปได้เอง โดยที่เราไม่ต้องเหนื่อยเลยละค่ะ
จุกหลอกดีหรือไม่ : จุกหลอก: ข้อดีและข้อเสียที่พ่อแม่ควรรู้
ดูดจุกนมหลอกดีอย่างไร
- ลดอาการร้องไห้เมื่อเจ้าหนูกินนมแล้ว แต่ยังร้องไม่เลิก
- ช่วยลด การเล่นน้ำลาย ดูดนิ้ว ดูดปาก
- การให้เด็กดูดจุกนมหลอก สามารถป้องกันการเกิดภาวะเสียชีวิตเฉียบพลันไม่ทราบสาเหตุ หรือที่เราเรียกว่า SIDS (sudden infant death syndrome) ได้แนะนำให้รอจนลูกอายุอย่างน้อย 1 เดือนจึงค่อยเริ่มให้ใช้จุกหลอก เพื่อให้ทารกได้คุ้นเคยกับการดูดนมแม่ก่อน เพราะการใช้จุกหลอกอาจมีผลกระทบกับการให้นมของคุณแม่ได้
- จุ๊บสามารถเบี่ยงเบนความสนใจได้ชั่วคราว เมื่อเด็ก ๆ หิว จุ๊บสามารถถ่วงเวลาให้คุณพ่อคุณแม่ตั้งท่าให้นม หรือ เตรียมชงนม จุ๊บยังเหมาะกับสถานการณ์หน้าสิ่วหน้าขวาน เช่น ฉีดยา ตรวจเลือด หรือ การตรวจอื่น ๆ
- จุกนมหลอกยังอาจถูกใช้เป็นตัวแทนของคุณแม่หรือผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดเพื่อลดอาการกังวลจากการแยกจาก เช่นเดียวกับ ผ้าห่ม ตุ๊กตา รวมทั้งเด็กบางคนอาจดูดจุกนมหลอกเพื่อกล่อมให้ตัวเองนอนหลับได้
การให้นมลูก แชร์ให้พ่อได้อ่าน 10 เรื่องที่คุณพ่อมือใหม่ช่วยได้ในเวลาที่แม่ให้นมลูก
ข้อเสียของจุกหลอก
- ลูกติดจุกนมหลอกจนไม่ดูดนมแม่ อาจส่งผลให้ปริมาณของน้ำนมแม่ลดลง เนื่องจากขาดการดูดกระตุ้น
- จุกนมหลอกลูกมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อโรคได้มากกว่า หากทำความสะอาดไม่ดีพอเช่น โรคติดเชื้อในหูชั้นกลาง
- การติดจุกหลอกก็อาจทำให้เกิดผลเสียต่อโครงสร้างของเหงือกและฟันจนผิดรูปร่างไปอย่างถาวรซึ่งส่งผลต่อการสบฟันของเด็ก เมื่อมีปัญหาด้านการสบฟันก็จะทำให้มีผลต่อการบดเคี้ยวอาหาร
ทำอย่างไรให้ลูกเลิกดูดนิ้และ ดูดจุกหลอก
เมื่อติดได้ก็เลิกได้ “ดูดนิ้ว”
- ฝึกให้ลูกใช้มือในการทำอย่างอื่น หาของเล่นที่ต้องมีการฝึกทักษะมือให้ลูกเล่น เช่น ลูกบอล พอใช้มือมาก ๆ สุดท้ายลูกก็จะลืมเรื่องเอานิ้วเข้าปากไปเอง วิธีการนี้เป็นการช่วยเบี่ยงเบนพฤติกรรมลูกได้ ไม่นานพฤติกรรมนี้ก็จะหายไปได้ในที่สุด
- หากเห็นลูกดูดนิ้ว คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรดุว่า หรือดึงมือออกจากปากทันที ควรปล่อยให้ดูดอีกสัก ค่อยเข้าไปพูดเล่นดี ๆ ด้วยและเบนประเด็นให้สนใจทำอย่างอื่นแทนการดูดนิ้ว
เมื่อติดได้ก็เลิกได้ ดูดจุกหลอก
- เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 8 เดือน สามารถเบี่ยงเบนความสนใจเด็กจากจุกหลอกได้หลายรูปแบบ เช่น การเล่นเปลโยก ร้องเพลง หรือการเปิดเพลงสบายๆ
- เด็กอายุประมาณ 7 – 18 เดือน สามารถให้เด็กทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น เล่นของเล่น หรือให้เด็กมีของเล่นติดมือเป็นของเล่นอื่น ๆ ตุ๊กตา ลูกบอล เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของลูกจากจุกหลอก
- ลูกอายุ 1 ขวบขึ้นไปคุณแม่ควร จำกัดการใช้จุกหลอกเฉพาะช่วงที่จำเป็นในแต่ละวัน เช่น เวลาเข้านอน หรือเวลาที่น้องไม่สบาย คุณต้องหนักแน่นหน่อยนะคะ รวมถึงให้รางวัลเจ้าตัวเล็กด้วยการเล่นกิจกรรมสนุกๆ หรือให้รางวัลโดยใช้แผ่นสะสมดาวหรือสติกเกอร์ อย่าให้ลูกกินขนมแทนการใช้จุกหลอกนะคะ
คำแนะนำในการใช้จุกหลอก
- ควรฆ่าเชื้อด้วยการต้มในน้ำเดือดประมาณ 5 นาที
- ควรมีจุกหลอกสำรองในกรณีที่อาจทำหายหรือหล่นพื้น
- ระหว่างเดินทาง ควรทำความสะอาดจุกด้วยการล้างน้ำอุ่น และน้ำสบู่
- ไม่ควรบังคับลูกให้ใช้จุกหลอก หากลูกไม่อยากใช้ ควรหาวิธีอื่นที่ทำให้ลูกหยุดร้องแทน
- เลือกจุกหลอกให้เหมาะกับอายุของลูก และเลือกที่หัวนุ่มๆ จะเหมาะที่สุด
- ไม่ควรผูกจุกไว้กับสายคล้องคอที่ยาวเกิน 6 นิ้ว เพราะอาจติดคอเด็กได้
สำหรับในต่างประเทศนั้นมีการศึกษาและได้ข้อสรุปว่า การใช้จุกนมหลอกนั้นมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย เพียงแต่คุณแม่ควรที่จะต้องใช้อย่างถูกวิธี และไม่ใช้มากหรือบ่อยเกินไปค่ะ
ลูกชอบดูดนิ้วเพราะอะไร : ทำไมลูกชอบกัดเล็บ ดูดนิ้ว ดึงผม นิสัยแบบนี้แก้หายไหม
ได้ทราบถึงสาเหตุของการดูดนิ้ว รวมไปถึงข้อดี ข้อเสียของการดูดจุ๊บหรือจุกหลอก คงจะพอช่วยให้คุณแม่ตัดสินใจได้นะคะว่าดูดจุ๊บหรือดูดนิ้วดีกว่า บทความนี้ขอให้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณพ่อคุณแม่นะคะ ที่สำคัญอย่าให้ติดอะไรเลยจะดีกว่านะคะ ค่อย ๆ เลิกทีละน้อยอาจปฏิบัติตามวิธีการที่แนะนำมาหรือมีวิธีดี ๆ มาบอกเล่ากันก็ยิ่งดีนะคะ
ร่วมบอกเล่าและแชร์ประสบการณ์ในช่วงตั้งครรภ์ คลอดบุตร รวมถึงการเลี้ยงดูทารกน้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวอื่น ๆ กันนะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัย ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้คุณ
ข้อมูลอ้างอิงข้อมูล
thelittlegymrama3.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ: