ดื้อต่อต้าน โรคพฤติกรรมดื้อต่อต้าน หากลูกเกิน 3 ขวบแล้วยังเป็นอย่างนี้ ใช่เลย!

พ่อแม่อาจคิดว่าลูกดื้อเป็นเรื่องปกติ แต่หากเด็กอารมณ์ร้าย โมโหง่าย ต่อต้านสังคม อาจเป็นสัญญาณของโรค ดื้อต่อต้าน ความผิดปกติทางพฤติกรรมของเด็กวัย3ขวบขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผลสำรวจล่าสุดในปี 2559 พบเด็กไทยมีพฤติกรรม ดื้อต่อต้าน ซึ่งมักพบในวัยเกินกว่า 3 ขวบ พ่อแม่ต้องสังเกต 8 สัญญาณอาการเด่นของโรคผิดปกติทางพฤติกรรม ต้องพาลูกไปพบจิตแพทย์เด็กโดยด่วน

 

อะไรคือพฤติกรรม ดื้อต่อต้าน

นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า โรคพฤติกรรมดื้อต่อต้าน (Oppositional Defiant Disorder) นั้น เด็กจะมีความผิดปกติทางด้านพฤติกรรม มีนิสัยดื้อต่อต้านไม่ฟังพ่อแม่ ต่อต้านกฎระเบียบ อารมณ์รุนแรง หงุดหงิดง่ายในระดับที่มากเกินกว่าเด็กทั่วไป สร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น ๆ เป็นประจำ

 

พบเด็กป่วยเป็นโรคดื้อต่อต้าน 80,000 คนทั่วประเทศ

ผลสำรวจของกรมสุขภาพจิตในกลุ่มเด็กอายุ 13 – 17 ปี ครั้งล่าสุดในปี 2559 พบเด็กป่วยเป็นโรคดื้อต่อต้านร้อยละ 2 หรือมีประมาณ 80,000 คนทั่วประเทศ ในเด็กชายพบร้อยละ 2.3 เด็กหญิงร้อยละ 1.7 โรคดื้อต่อต้านนี้เกิดมาจากหลายสาเหตุร่วมกัน ทั้งตัวเด็กเองที่มีพื้นฐานเป็นเด็กอารมณ์ร้อน สภาพแวดล้อมเช่น ความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ดี การใช้ความรุนแรง การตั้งกฎระเบียบที่ไม่สม่ำเสมอของพ่อแม่

ที่น่าห่วงพบว่า พ่อแม่หลาย ๆ ครอบครัว ยังมีความเชื่อผิด ๆ คิดว่าเด็กดื้อตามปกติ จึงไม่ได้พาไปรักษา แต่ให้การดูแลตามความเชื่อ เช่น

  • ปล่อยไปตามธรรมชาติ เด็กน่าจะดีขึ้นเอง
  • ไม่ขัดใจลูก เพราะกลัวลูกจะเครียด กลัวลูกออกจากบ้าน
  • ลงโทษรุนแรงเพื่อดัดนิสัย
  • ส่งไปอยู่กับญาติ หรือส่งไปอยู่โรงเรียนประจำ เพื่อดัดนิสัย

ความเชื่อทั้งหมดนี้ไม่ได้ช่วยให้พฤติกรรมของเด็กดีขึ้น ล้วนแต่จะทำให้พฤติกรรมดื้อต่อต้านแย่ลงไปอีก ดังนั้น หากลูกดื้อจนคุณพ่อคุณแม่รับมือไม่ไหว ให้รีบพาไปพบจิตแพทย์เด็กเพื่อตรวจประเมิน หรือโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการดื้อต่อต้านนี้ ยังไม่มียารักษาโดยตรง แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้เด็กดีขึ้น คือการปรับแก้พฤติกรรมที่ไม่ดีของเด็กให้น้อยลง ซึ่งครอบครัวมีความสำคัญที่สุด ควรได้รับคำแนะนำจากทีมสหวิชาชีพ ในการปรับลดความประพฤติที่สุ่มเสี่ยงอย่างถูกวิธี และทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นได้

 

วิดีโอจาก : หมอชินตา พาเลี้ยงลูก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุ และความเสี่ยงที่ทำให้ลูกเกิดพฤติกรรมดื้อต่อต้าน

หนึ่งในสาเหตุของพฤติกรรมฉุนเฉียว ต่อต้านสังคมนี้ เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กที่ประสบกับความรุนแรงในครอบครัว ความไม่มีระเบียบวินัย รวมไปถึงความละเลย และไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่เพียงพอ หรือ คนในครอบครัวมีประวัติโรคจิตเวช ก็อาจส่งผลให้เด็กเป็นโรคดื้อต่อต้านได้

สาเหตุอีกประการหนึ่งคือ การทำงานของระบบประสาทที่ผิดปกติ ทำให้เด็กมีอารมณ์ฉุนเฉียว โมโหร้าย และมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม

 

สังเกตพฤติกรรม และอาการของโรคดื้อต่อต้าน

แพทย์หญิงกุสุมาวดี คำเกลี้ยง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็ก และวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น เพิ่มเติมว่า พฤติกรรมดื้อตามวัยนั้น พบได้ในเด็กปกติช่วงอายุ 2 – 3 ปี เมื่ออายุมากขึ้นอาการดื้อจะหายไป แต่ในโรคดื้อนี้จะมีการแสดงออกรุนแรงมากขึ้น อารมณ์ไม่ดีต่อเนื่องนานกว่า 6 เดือนขึ้นไป ลักษณะอาการเด่น ๆ ของเด็กที่เป็นโรคดื้อมี 8 อาการ ได้แก่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  1. แสดงอารมณ์ฉุนเฉียวตลอดเวลา
  2. เถียงหรือชวนผู้ใหญ่ทะเลาะ
  3. ตั้งใจทำให้คนอื่นรำคาญ
  4. มักจะโทษ หรือโยนความผิดให้คนอื่น
  5. หงุดหงิด และอารมณ์เสียง่าย
  6. ขี้โมโห โกรธ และไม่พอใจบ่อย ๆ
  7. เจ้าคิดเจ้าแค้นอาฆาตพยาบาท

 

 

วิธีสังเกต และประเมินระดับความรุนแรงของพฤติกรรมดื้อต่อต้าน

ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน เด็กจะมีพฤติกรรมต่อต้านเหล่านี้ บางคนอาจจะแสดงออกเฉพาะที่บ้านก่อน และค่อย ๆ ลุกลาม เมื่อไปในสถานที่อื่น ๆ

 

ด้านการควบคุมอารมณ์

  • แสดงอารมณ์ฉุนเฉียวตลอดเวลา
  • ขี้งอน ขี้รำคาญ
  • ขี้โมโห โกรธ และไม่พอใจบ่อย ๆ

 

ด้านพฤติกรรมโต้เถียง และต่อต้าน

  • เถียง หรือชวนผู้ใหญ่ทะเลาะ
  • ชอบท้าทาย ฝ่าฝืนคำสั่ง และกฎเกณฑ์บ่อย ๆ
  • ตั้งใจทำให้คนอื่นรำคาญ
  • มักจะกล่าวโทษ หรือโยนความผิดให้คนอื่น

 

ด้านจิตใจ

  • มีความเจ้าคิดเจ้าแค้น
  • แสดงพฤติกรรมอาฆาตมาดร้ายผู้อื่นอย่างน้อย 2 ครั้ง ภายใน 6 เดือน

โรคพฤติกรรมต่อต้านในขั้นเริ่มต้น เด็กบางคนจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวเฉพาะเวลาที่อยู่บ้าน ในขั้นกลาง จะแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ เมื่อไปในสถานที่อื่น ๆ  ด้วย เช่นที่โรงเรียน หรืออยู่กับเพื่อน และลุกลามมากขึ้น จนถึงระดับความผิดปกติทางพฤติกรรมดื้อต่อต้านที่รุนแรง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากพฤติกรรมดื้อต่อต้าน

โรคดื้อต่อต้านส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในหลาย ๆ ด้าน เด็กที่มีพฤติกรรมเรื้อรังเหล่านี้ เมื่ออยู่บ้าน ก็มักจะมีปัญหากับพ่อแม่ พี่น้อง เมื่อไปโรงเรียน ก็จะมีปัญหากับครู และเพื่อน ๆ รวมไปถึงชีวิตการทำงานในอนาคตด้วย เนื่องจากเด็กที่มีปัญหาความผิดปกติทางพฤติกรรมดื้อต่อต้าน หรือ ODD นี้ จะประสบกับความยากลำบากในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น และขาดการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

 

หากปล่อยให้ลูกมีพฤติกรรมของโรคดื้อต่อต้านต่อไป อาจนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ อีก เช่น

  • ประสิทธิภาพในการเรียน และการทำงานต่ำ
  • นำไปสู่พฤติกรรมต่อต้านสังคม
  • ขาดความยับยั้งชั่งใจ
  • การใช้ยาเสพติด
  • การฆ่าตัวตาย

 

 

วิธีแก้โรคพฤติกรรมดื้อต่อต้าน

หากผู้ปกครองพบว่าลูกมีอาการดังที่กล่าวมา ขอให้พาไปพบจิตแพทย์เด็ก เพื่อบำบัดพฤติกรรม ซึ่งต้องใช้ร่วมกันหลายวิธี ได้แก่

  • การทำจิตบำบัด
  • ฝึกให้เด็กควบคุมตัวเอง
  • ฝึกให้มีการแสดงออกที่เหมาะสม ควบคู่กับการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ครอบครัว หรือที่เรียกว่าครอบครัวบำบัด เพื่อลดความขัดแย้ง เพิ่มการสื่อสารที่เหมาะสมในครอบครัว
  • ฝึกพ่อแม่ให้ปรับพฤติกรรมเด็กอย่างเหมาะสม และถูกต้อง ขอความร่วมมือจากครูที่โรงเรียนในการดูแล และช่วยปรับลดพฤติกรรมที่ไม่ดีระหว่างที่เด็กอยู่ในโรงเรียนด้วย

 

สิ่งที่ห้ามทำเด็ดขาด เมื่อลูกมีอาการดื้อต่อต้าน

การลงโทษที่ไม่ควรใช้กับเด็กที่มีพฤติกรรมดื้อต่อต้าน คือการใช้ความรุนแรงในการลงโทษด้วย เช่นการทุบตี หรือด่าว่าด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย รุนแรง เนื่องจากเป็นการเพิ่มความก้าวร้าวให้เด็ก ทำให้เด็กมีพฤติกรรมต่อต้านเพิ่มมากขึ้น และหากเด็กเหล่านี้ไม่ได้รับการรักษา เมื่อโตขึ้นก็จะมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงมากขึ้น ก้าวร้าว เกเร เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดได้ง่าย

อย่างไรก็ตาม หากครอบครัวมีความเข้าใจ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว จะช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมในด้านดีมากขึ้น นอกจากนี้ เด็กที่มีพฤติกรรมดื้อต่อต้าน มักจะมีปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่นโรคสมาธิสั้น โรคซึมเศร้า ยาที่ใช้รักษาโรคนั้น ๆ ก็จะช่วยให้พฤติกรรมดื้อต่อต้านดีขึ้นได้

 

บทความที่น่าสนใจ

ลูกดื้อมาก ชอบปีนป่ายและไม่เชื่อฟัง ลูกเราผิดปกติไหม?

เตือนพ่อแม่ระวังโรคใหม่ของเด็กไทย “โรคไม่รู้จักความลำบาก”!!

สอนลูกให้มีวินัย ฉลาดสมวัยต้องเลี้ยงลูกแบบ EF

 

ที่มา : springnews , mayoclinic

บทความโดย

Tulya