ช่วงให้นม แม่ท้องเดินทางได้หรือไม่ นั่นเป็นคำถามที่คุณแม่หลาย ๆ คนคงอยากที่จะรู้ นมแม่ คือแหล่งอาหารชั้นยอด ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุมากมาย และมีคุณประโยชน์อย่างมากสำหรับลูกน้อย องค์การอนามัยโลกได้แนะนำว่า เด็กทารกควรได้รับนมแม่ ตลอดช่วงระยะ 6 เดือนแรก และจะให้ดีคือ การรับนมแม่ต่อเนื่องจนถึงอายุ 2 ปี หรือจนกว่าแม่จะไม่มีน้ำนมให้ นั่นจัดว่าเป็นภาระอันยิ่งใหญ่มากทีเดียว แต่หากคุณแม่จำเป็นจะต้องเดินทางล่ะ ไม่ว่าจะไกล หรือใกล้ จะทำได้หรือไม่ และตัวคุณแม่เองนั้น จะต้องเตรียมตัวอย่างไร เพื่อให้การเดินทางนั้น ไม่ติดขัด จนทำให้การเดินทางเป็นเรื่องที่ไม่น่าจดจำ
ช่วงให้นม แม่ท้องเดินทางได้หรือไม่
3 วิธีให้นมลูกเมื่อต้องเดินทางไกล
เมื่อต้องเดินทาง การให้นมแม่อาจจะยิ่งยุ่งยากขึ้นกว่าเดิม จึงมักจะมีคำถามอยู่บ่อย ๆ ว่า ช่วงให้นม แม่ท้องเดินทางได้หรือไม่ คุณแม่ที่เคยมีประสบการณ์เรื่องนี้จะพูดว่า การให้นมแม่คือกุญแจสำคัญของการเดินทาง โดยพาลูกไปเที่ยวด้วย รวมถึงการจัดการเมื่อต้องฝากเจ้าตัวเล็กไว้เมื่อคุณแม่ต้องเดินทางด้วย เรามีข้อแนะนำเล็ก ๆ น้อยเพื่อให้คุณแม่สามารถให้นมลูกได้ตลอดการเดินทางแบบง่าย ๆ มาฝากกันค่ะ
- ป้อนโดยตรง: ตามธรรมชาติแล้วคุณแม่จะมีน้ำนมเพียงพอแล้วสำหรับช่วง 6 เดือนแรก ซึ่งทำให้การเดินทางโดยพาเด็กทารกอายุ 6 เดือนหรือต่ำกว่าไปด้วยนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ไม่จำเป็นต้องกังวลว่าจะให้ลูกกินอะไรในระหว่างที่อยู่บนรถ เพราะแค่มีคุณแม่อยู่ด้วยก็พอแล้ว !
- ผ้าคลุมให้นม ผ้าสารพัดประโยชน์: ผ้าคลุมจะช่วยให้คุณให้นมลูกได้อย่างสบายใจยิ่งขึ้นในขณะเดินทาง ควรลองซ้อมจัดท่าอุ้มป้อนที่สะดวกสบายดูหลาย ๆ ท่าตั้งแต่ก่อนออกเดินทาง
- ถ้าคุณใช้เครื่องปั๊มน้ำนมขนาดใหญ่อยู่ ให้ลองมองหาเครื่องปั๊มอีกเครื่องที่พกพาได้ คุณอาจจะต้องพกน้ำนมที่ปั๊มออกมาแล้วไปด้วยหากต้องเดินทางไกล ภาชนะเก็บน้ำนม หรือกระติกที่เก็บความเย็นจะช่วยยืดอายุของน้ำนมนี้ได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : เคล็ดลับการให้นมลูกตอนกลางคืน ช่วยลูกหลับต่อสบาย ไม่งอแง
วิดีโอจาก : Nurse Kids
เดินทางด้วยเครื่องบิน ช่วงให้นม แม่ท้องเดินทางได้หรือไม่
ถ้าคุณเดินทางด้วยเครื่องบิน ให้ลองศึกษาดูว่านโยบายของสายการบิน และสนามบินได้กำหนดเรื่องการพกพาของเหลว ประเภทน้ำนมแม่เอาไว้ว่าอย่างไร และขอให้เจ้าหน้าที่บนเครื่องบิน ช่วยดูแลเรื่องการเก็บน้ำนมไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม
ต้องแน่ใจว่าน้ำนมนั้นปลอดเชื้อ และใส่ในหีบห่อที่อากาศเข้าไม่ได้ เพื่อไม่ให้เชื้อโรคปนเปื้อน อาจจะขอความช่วยเหลือจากพนักงานบนเครื่องบินที่จะช่วยเตรียมน้ำนมให้อยู่ในอุณหภูมิที่พอเหมาะได้ จำไว้ว่าอย่าอุ่นนมแม่โดยตรงเด็ดขาด เพราะจะทำลายสารอาหาร และภูมิคุ้มกันที่อยู่ในน้ำนม แต่ให้อุ่นนมด้วยการนำขวดนมไปวางในน้ำอุ่น จนน้ำนมในขวดมีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิร่างกาย
1.เก็บสต็อกน้ำนมยามต้องเดินทางไกล
บางครั้งอาจมีสถานการณ์จำเป็น ที่ทำให้คุณต้องเดินทาง โดยไม่พาลูกไปด้วย ในกรณีนั้น คุณจำเป็นต้องวางแผน จัดเก็บน้ำนมไว้ล่วงหน้า ให้เริ่มปั๊มน้ำนมไว้มากกว่าปริมาณที่ลูกกิน ตั้งแต่ 2 – 3 สัปดาห์ก่อนถึงกำหนดเดินทาง อย่าลืมเขียนฉลากติดถุงน้ำนมไว้ให้ชัดเจน และกำชับวิธีดูแล และวิธีอุ่นนมให้กับคนที่มาดูแลลูกให้คุณด้วย ระหว่างเดินทาง คุณแม่อาจจะมีอาการแน่นคัดเต้าเป็นระยะ แม้ว่าการบีบน้ำนมออก จะพอบรรเทาอาการได้ แต่การลงทุนซื้อเครื่องปั๊มนมขนาดพกพา ก็จะมีประโยชน์มากสำหรับการเดินทาง อย่าลืมนำถุงเก็บน้ำนม กระเป๋าเก็บความเย็น และ และอุปกรณ์เสริมของเครื่องปั๊มติดตัวไปด้วย
กันไว้ดีกว่าแก้ด้วยการซื้อเจลเย็นถนอมอาหารเตรียมไว้สักอัน บางครั้งเที่ยวบินอาจล่าช้าได้ และคุณจะได้ไม่ต้องจะมานั่งเครียดว่าน้ำนมจะเสียหรือไม่ ถ้าคุณวางแผนที่จะจัดเก็บน้ำนม แล้วโหลดลงใต้ท้องเครื่อง ก็ต้องค้นคว้านโยบายของสายการบิน/สนามบินก่อนเช่นกัน และควรเผื่อเวลาสำหรับไปหาซื้อน้ำแข็งแห้งไว้ในตารางเดินทางด้วย และคุณอาจต้องการสอบถามโรงแรมที่คุณจะไปพักด้วยว่า ที่โรงแรมมีเครื่องฆ่าเชื้อที่คุณจะสามารถใช้ได้หรือเปล่า ถ้าไม่เช่นนั้นคุณก็สามารถหาเครื่องฆ่าเชื้อที่มีขนาดเล็ก หรืออุปกรณ์เสริมที่พกพาในระหว่างเดินทางได้ เพื่อนำมาใช้งานร่วมกับเครื่องปั๊มของคุณ
2.แผ่นเจลซับน้ำนม
คุณแม่หลาย ๆ คน มักจะเป็นกังวลถึงน้ำนมที่มักจะไหลออกมาเปื้อนเสื้อ ขณะเดินทาง เพราะธรรมชาติของร่างกาย จะผลิตน้ำนมขึ้นมาให้สัมพันธ์กับมื้ออาหารของลูกน้อย คือทุก ๆ 2 – 3 ชม. บางรายหากปริมาณน้ำนมเยอะขึ้น น้ำนมจะพุ่งออกมา ทำให้คุณแม่หลายคนรู้สึกไม่สบายตัว เหนอะหนะร่างกาย และบางคนก็รู้สึกอายเวลาเดินทางออกนอกบ้าน แผ่นเจลซับน้ำนม จะเป็นแผ่นเจลกลม ลักษณะการใช้งานจะคล้ายกับแพมเพิร์สลูกน้อย แต่แผ่นเจลนี้จะมีขนาดพอดีกับหัวนม โดยการแปะเอาไว้กับเสื้อชั้นใน เมื่อน้ำนมพุ่งออกมา แผ่นเจลจะรองรับและซับน้ำนมเอาไว้ หากปริมาณน้ำนมมากก็จะทำให้รู้สึกหนัก คุณแม่ก็จะสามารถจัดการโดยการดึงแผ่นเก่าออก และแปะแผ่นใหม่ลงไปเท่านั้นเอง แค่นี้ ก็จะทำให้ตัวคุณแม่ รู้สึกสะดวกสบาย และไม่กังวลเวลาเดินทางแล้วใช่ไหมคะ
3.ทิชชู่เปียก
เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ สำหรับคุณแม่สมัยนี้ค่ะ เพราะหากมีอะไรที่เปื้อนเปรอะ หรือรู้สึกเหนียว ไม่สบายตัว เราก็สามารถใช้ทิชชู่เปียกนี้ เช็ดทำความสะอาดในส่วนที่ต้องการได้อย่างสะดวกสบายเลยทีเดียว แต่คุณแม่ ควรจะเลือกทิชชู่เปียก ที่ไม่มีส่วนผสมของสารปนเปื้อน หรือสารแอลกอฮอล์ จะดีที่สุดค่ะ ความสะอาดเราต้องการจริงค่ะ แต่ไม่ถึงขั้นที่จะต้องใช้แอลกอฮอล์เช็ด หรือถ้าเป็นไปได้ ให้ใช้สำลี หรือผ้า ชุบน้ำอุ่นเช็ดแค่นี้ก็เพียงพอแล้วค่ะ
รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม
ถ้าคุณไม่คุ้นเคยกับการใช้เครื่องปั๊มเครื่องใหม่ และจะต้องใช้เครื่องนี้ในช่วงเดินทาง ให้ลองใช้เครื่องก่อนถึงวันเดินทางหลาย ๆ สัปดาห์ เพื่อที่จะได้เคยชินกับเครื่องและไม่ไปเครียดในช่วงเดินทาง
ถ้าคุณวางแผนเดินทางไว้ว่าจะต้องอยู่ห่างกับลูกเป็นช่วงเวลาค่อนข้างนาน และตั้งใจจะให้นมแม่ต่อหลังจากที่กลับมาแล้ว คุณจะต้องรักษาระดับการผลิตน้ำนมไว้ให้สม่ำเสมอ ด้วยการปั๊มน้ำนมบ่อยครั้งและนานมากขึ้น ร่วมกับการกินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ และใช้อาหารเสริมช่วยบำรุงน้ำนม หรือลองสอบถามคุณหมอ หรือที่ปรึกษาด้านการให้น้ำนมของคุณเพื่อให้ช่วงวางแผนดู
การเดินทางมักจะทำให้เกิดความเครียด แต่อย่าทำให้การให้นมแม่มาเพิ่มความเครียดให้มากขึ้น เพราะเพียงทำตามที่เราแนะนำ ก็สนุกกับการเดินทางและให้นมไปพร้อมกันได้ ขอให้เหล่าคุณแม่เดินทางอย่างมีความสุข !
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
7 สิ่งที่ต้องระวังหากยังให้นมลูก แม่ที่ให้นมลูก ต้องระวังอะไรบ้าง ? มาดูพร้อม ๆ กัน
ให้นมลูกครั้งแรก คุณแม่มือใหม่ควรทำอย่างไร เข้าเต้าแบบไหนดี ?
ยาต้องห้ามสำหรับแม่ให้นมลูก ให้นมลูกอยู่ต้องงดทานยาอะไร
ที่มาข้อมูล : cdc.gov, whattoexpect.com, huggies