ในโลกโซเชียลมีการเผยแพร่คลิปวิดีโอของเด็กชายสู้ชีวิตคนหนึ่ง ที่ช่วยครอบครัวหาเลี้ยงชีพด้วยการขายพวงมาลัยบริเวณสี่แยกไฟแดง แต่ระหว่างที่เดินขายพวงมาลัยให้กับผู้ที่ขับรถสัญจรผ่านไปมานั้น เด็กชายคนนี้ได้ออกสเต็ปเต้นแนวยั่วยวน เรียกรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กับประชาชนที่ผ่านมาพบเห็น โดยถือเป็นอีกวีธีหนึ่งที่เด็กชายคนนี้ต้องการเรียกความสนใจ เพื่อหวังเพิ่มยอดขายพวงมาลัยและนำเงินมาเลี้ยงครอบครัวอีกทาง
สอนลูกให้เป็นเด็กใจบุญ
ตามปกติแล้วเด็กในช่วงวัย 4 – 5 ขวบ คุณพ่อคุณแม่มักจะเจอปัญหาลูกชอบหวงของ หรือไม่รู้จักการให้ แต่นั่นเพราะเป็นพฤติกรรมของวัยนี้จะรัก จะหวงและเห็นคุณค่าในของที่ตนเองมีอยู่ หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการสอนให้ลูกเป็นเด็กใจบุญ รู้จักให้ รู้จักแบ่งปัน มาดูวิธีการสอนให้ลูกเป็นเด็กใจบุญกันค่ะ
จากบทความ เรื่อง สอนลูกให้ฉลาดทำบุญ โดย พระไพศาล วิสาโล ท่านได้ให้ข้อคิด และวิธีการสอนลูกให้ฉลาดทำบุญ โดยมีคำแนะนำดังนี้
ความหมายของ “บุญ”
บุญ แปลว่าเครื่องชำระให้สะอาดบริสุทธิ์ ชำระอย่างแรกคือ ชำระพฤติกรรม ให้งดงาม เป็นไปในทางที่ถูกต้อง ชอบธรรม เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ชำระประการต่อมาก็คือชำระจิตใจ ให้หายเศร้าหมอง พ้นจากความเร่าร้อน เกิดความสว่างไสวในทางปัญญา คิดถูกคิดชอบ ไม่หลงไปตามอารมณ์ชั่วแล่น
บุญนั้นเริ่มต้นด้วยการรู้จักให้ การให้ หรือทาน ช่วยให้เราไม่คิดจะเอาเข้าตัวอยู่ร่ำไป ชีวิตที่คิดแต่จะเอาเป็นชีวิตที่ไม่สมดุล จิตที่คิดแต่จะเอา เป็นจิตที่คับแคบ เห็นแก่ตัว ทำให้เป็นคนไม่น่ารัก และมีความสุขยาก
วิธีการที่พ่อแม่จะสอนลูกให้ใจบุญ
เด็กที่รู้จักให้ และเปี่ยมไปด้วยความรู้สำนึกต่อคนรอบข้างที่ดูแลเขา ทั้งพ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อน ๆ ที่จะเป็นที่รักของคนทั่วไป อีกทั้งการรู้จักให้ยังช่วยบ่มเพาะจิตใจ ทำให้เขาเป็นคนมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น แต่ลูกยังเป็นเด็กอยู่ คงจะไม่เข้าใจในเรื่องการทำบุญมากนัก ดังนั้น การให้จึงต้องสอนจากการกระทำ ดังนี้
แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อม
เด็กเล็กในช่วงวัย 4 – 5 ขวบ เป็นวัยที่ดูไม่ประสีประสา และมักจะรู้จักหวงของ และรู้คุณค่าของสิ่งที่ตนมี อย่างของขวัญวันเกิด หรือความสำคัญของวันเกิด การจะสอนให้เขารู้จักให้ จึงควรเริ่มจากอธิบายให้เขาฟังว่า “เด็กบางคนไม่ได้โชคดีเกิดมามีพ่อแม่ที่เอาใจใส่เหมือนอย่างที่หนูมี และวันเกิดของหนูก็เป็นวันสำคัญถ้าลูกได้แบ่งปันขนมหรือของเล่นที่ได้รับมามากมาย เอาไปให้เพื่อนหรือเด็กที่เขาไม่มีของเล่น ก็เท่ากับหนูเป็นเด็กดี มีน้ำใจ และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนอื่น เป็นที่น่าชื่นชม ที่สำคัญพ่อและแม่จะภูมิใจในตัวหนูมากนะคะ”
เมื่ออธิบายอย่างนี้ เด็กจะเริ่มเห็นอกเห็นใจผู้ที่ขาดขึ้นมาได้ในทันที ค่อย ๆ ปลูกความเห็นอกเห็นใจในผู้อื่นลงในใจลูก แล้วเขาจะนึกอยากช่วยเหลือผู้อื่นให้มีความสุขบ้าง
ขั้นที่ 2 ลงมือปฏิบัติ
คุณพ่อคุณแม่ควรแนะนำและสอนสั่งให้ลูกรู้จักให้ โดยมีคุณพ่อคุณแม่นั่นแหละคะเป็นผู้ชี้แนะแนวทางที่ควรกระทำ เช่น สอนให้ลูกนำของเล่นชิ้นโปรด หรือแม้แต่ของเล่นที่ลูกไม่ได้เล่นแล้วแต่ยังอยู่ในสภาพดี หรืออาจจะพาลูกไปซื้อข้าวของสำหรับการบริจาค โดยให้ลูกมีส่วนในการเลือกที่คุณพ่อคุณแม่เป็นผู้ชี้แนะ หรือแม้แต่เก็บค่าขนมของลูกเอง ที่สำคัญไม่ควรหัดให้ลูกนำของที่ตนเองไม่ใช้หรือไม่ต้องการเพราะของนั้นเก่า ชำรุด เสียหายหักพัง แล้วจึงค่อยนำไปบริจาคให้ผู้อื่น แต่ควรหัดให้ลูกคิดว่า การมอบส่งของให้ผู้อื่นนั้น เราควรเอาใจเขามาใส่ใจเรา หากของนั้นไม่ดี ชำรุดเสียหาย ขนาดเราเองยังไม่ต้องการ คนอื่นก็คงไม่ต้องการเช่นกัน แต่ควรเกิดจากจิตใจที่ต้องการให้จริง ๆ
นอกจากนี้ แม้จะไม่มีเงินให้ก็สามารถทำบุญด้วยการกระทำ หรือที่เราเรียกกันว่า “จิตอาสา” คุณพ่อคุณแม่อาจจะพาลูกไปร่วมกิจกรรมสาธารณกุศลกับที่ทำงานหรือร่วมกิจกรรมในชุมชน หรือหมู่บ้าน เช่น ร่วมปลูกป่าชายเลน ร่วมเก็บขยะภายในชุมชน เป็นต้น เพื่อฝึกให้ลูกมีน้ำใจ รู้จักช่วยเหลือ และเข้าใจว่าการทำบุญหรือการช่วยเหลือผู้อื่นนั้นทำได้หลายรูปแบบไม่ใช่การไปวัดหรือทำบุญกับวัดเพียงอย่างเดียว
ขั้นที่ 3 ชมเชยให้ชื่นใจ
แม้ว่าการทำบุญจะไม่หวังสิ่งตอบแทน แต่เมื่อลูกน้อยรู้จักการให้แก่ผู้อื่นด้วยใจเอื้อเฟื้อ ทำให้เจ้าตัวน้อยรู้สึกดี รู้สึกภาคภูมิใจ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำต่อไป คือ อธิบายให้ลูกฟังว่าผลจากการให้ของเขาจะเป็นอย่างไรต่อไป เช่น หากเขามอบของเล่นให้คนที่ขาดก็แนะได้ว่าเด็กคนอื่นจะได้มีเล่นสนุก แบบเดียวกับที่ลูกได้เล่น คุณพ่อคุณแม่อาจต่อยอดการทำความดีให้ลูก ด้วยการทำสมุดความดีให้เขาลงบันทึกสิ่งดี ๆ ที่ได้ทำด้วยตัวเอง เพราะเมื่อลูกเอากลับมาดูเมื่อไร เขาจะได้รู้สึกภูมิใจและมีกำลังใจที่จะทำสิ่งดี ยิ่งทำมากครั้ง คุณอาจให้รางวัลทำให้ประหลาดใจ และดีใจกับการทำความดีของตนขึ้นไปได้อีก แต่ไม่จำเป็นต้องตอบแทนเป็นสิ่งของทุกครั้งที่ทำดีนะคะ เพราะเดี๋ยวลูกจะเข้าใจผิดว่า ทำดีมีรางวัล ต่อไปเขาจะทำสิ่งใดก็ตามจะต้องได้รับสิ่งตอบแทน ถ้าเป็นเช่นนั้น การทำบุญและการให้คงบิดเบี้ยวจากจุดประสงค์ที่พ่อแม่ต้องการอย่างแน่นอน
บทความแนะนำ ลูก MQ ดีเริ่มที่คำพูดของพ่อแม่
มาร่วมกันสร้างเด็กดี เด็กใจบุญกันนะคะ เริ่มตั้งแต่ในครอบครัวของเราเอง ครอบครัวเข็มแข็ง สังคมจะเข็มแข็งตามไปด้วย ร่วมบอกเล่าเพื่อแชร์ประสบการณ์ ชวนลูกน้อยทำดี เพื่อบอกเล่าเรื่องราวดีในสังคมกันค่ะ
อ้างอิงข้อมูลจาก
สอนลูกให้ฉลาดทำบุญ โดย พระไพศาล วิสาโล
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
โอปอล์กับข้อคิดดี๊ดีในการสอนลูกแฝด
ความคิดสร้างสรรค์ แถมลีลาไม่ธรรมดาขนาดนี้ ขอให้ขายดีเทน้ำเทท่าเลยลูก ชมคลิป
https://www.youtube.com/watch?v=XuA3AgRWN1M
ที่มาจาก www.khaosod.co.th
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
ตี๋น้อยวัย 4 ขวบ โชว์สเต็ปเทพเต้นแอโรบิคตามป้าๆ ได้เหมือนเป๊ะ! (ชมคลิป)
สนุกสนานกันไป เมื่อสองคุณแม่พลอยและซาร่าพาแพนเตอร์ พูม่า และน้องแมกซ์เวลล์เที่ยวฟาร์มจระเข้