ค่าฝุ่นละออง กทม. เกินค่ามาตรฐาน
ค่าฝุ่นละออง กทม. PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน คนท้อง ทารก อย่าออกกลางแจ้งนาน ๆ ควรสวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง PM2.5 โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่
- ผู้สูงอายุ
- เด็กเล็ก
- หญิงตั้งครรภ์
- ผู้มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคทางเดินหายใจ โรคเยื่อบุตาอักเสบ โรคผิวหนัง โรคหัวใจและหลอดเลือด
กทม.ฝุ่นละอองเกิน! แม่ท้อง ทารก ระวังให้ดี หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง
วิธีป้องกันอันตราย แม่ท้องต้องดูแลตัวเอง
คนท้อง ทารกหรือเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว ควรป้องกันอันตราย ดังนี้
- ควรอยู่ภายในบ้าน
- เตรียมยาให้พร้อม
- ใช้หน้ากากกันฝุ่น
- รีบพบแพทย์หากมีอาการผิดปกติ
ค่าฝุ่นละออง กทม. PM2.5
PM2.5 คือ ฝุ่นละเอียดที่เป็นส่วนหนึ่งของฝุ่นละอองที่แขวนลอยในบรรยากาศ มีขนาดเท่ากับ 1 ใน 20 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ โดย PM2.5 มาจากการเผาไหม้ และการใช้พลังงานต่าง ๆ เช่น ยานพาหนะ งานก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม ควันบุหรี่ การเผาวัชพืชและขยะ ปฏิกิริยาเคมีในอากาศ ส่งผลต่อสุขภาพทำให้เกิดอาการไอ จาม แสบจมูก หายใจติดขัด แน่นหน้าอก เป็นต้น
กรมอนามัยแนะ 6 ข้อดูแล “ลูกเล็กเด็กแดง” ป้องกันโรคร้ายระยะยาว โรคหลอดเลือดหัวใจ ผลต่อสติปัญญา
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ห่วงเด็กเล็กได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากสภาพอากาศที่มี ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เร่งสร้างความรู้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครองและครูพี่เลี้ยงพร้อมแนะแนวทางการดูแลเด็กกลุ่มเสี่ยงและเด็กที่มีโรคประจำตัว เพื่อป้องกันปัญหามลพิษทางอากาศ
แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า เด็กเล็กเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เด็กที่สัมผัสกับมลพิษทางอากาศในระดับสูงอาจมีความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังในระยะยาว เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ รวมทั้งยังส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางระบบประสาทและความสามารถทางปัญญาของเด็ก เนื่องจากปอดของเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้มีอัตราหายใจที่ถี่กว่า ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูพี่เลี้ยงควรดูแลเด็กทั้งกลุ่มปกติทั่วไปและเด็กที่มีโรคประจำตัวที่ต้องได้รับการดูแลและสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
กรมอนามัยได้กำหนดแนวทางการดูแลเด็กเล็กสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครูพี่เลี้ยง เพื่อป้องกันปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ดังนี้
- ติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในเว็บไซต์กรมอนามัย www.anamai.moph.go.th หรือแอพพลิเคชั่น Air4thai ของกรมควบคุมมลพิษ
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้าน ในช่วงที่ปริมาณ PM2.5 ตั้งแต่ระดับสีเขียว (26-37 ไมโครกรัม/ ลูกบาศก์เมตร) ขึ้นไป
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ 6 – 8 แก้วต่อวัน
- เด็กที่มีโรคประจำตัวควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดและสังเกตอาการ หากพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออกให้รีบไปพบแพทย์
- หากค่า PM2.5 อยู่ในระดับสีแดง (91 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร) ขึ้นไป ห้ามออกนอกบ้าน
- ปลูกต้นไม้เพื่อดักฝุ่นละอองและมลพิษอากาศ
- งดกิจกรรมที่ก่อให้เกิด PM2.5 เช่น การเผาใบไม้ เผาขยะ
- ไม่ติดเครื่องยนต์เป็นเวลานานในบริเวณบ้าน
- ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดและเปิดพัดลมให้อากาศหมุนเวียน
19-21 ม.ค. วิกฤติฝุ่นละออง 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5
นายภูเวียง ประคำมินทร์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวถึงสภาพอากาศที่จะเข้ามาช่วยลดฝุ่นละออง 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ปกคลุมหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล ว่า ในวันที่ 17-18 ม.ค. ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบน รวมกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีอุณหภูมิหนาวเย็นลง และโชคดีอากาศหนาวเย็นรอบนี้อากาศถ่ายเทได้ดี มีลมตะวันออกเฉียงเหนือความเร็วประมาณ 10-30 กม.ต่อ ชม. ทำให้ลมเข้ามาช่วยพัดฝุ่นละอองออกไปได้บ้าง
แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงในวันที่ 19-21 ม.ค. ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลอากาศจะเริ่มกลับมาอุ่นร้อนขึ้น ไม่มีมวลอากาศเย็นลงมา ทำให้ต้องเจอภาวะอากาศปิดและลมสงบนิ่ง อาจทำให้ค่าฝุ่นละออง 2.5 ไมครอน ที่ผลิตขึ้นมาใหม่มีปริมาณสะสมเพิ่มขึ้นอีกได้ สำหรับการแยกระหว่างละอองหมอกและฝุ่นละออง สังเกตได้จากละอองหมอกเกิดขึ้นและสลายตัวไม่เกินเวลา 10.00 น. หลังจากนั้นจะเป็นฝุ่นละอองควัน
ที่มา : https://www.fm91bkk.com, https://www.thairath.co.th และ https://www.js100.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
โรคหน้าหนาว ต้องระวังลูกป่วย ทารก เด็กเล็ก เสี่ยงโรคร้าย แถมมีโรคแทรกซ้อนรุนแรงถึงชีวิต!
โรคร้ายในเด็กที่มากับหน้าหนาว โรคที่ทำให้เด็กป่วย มีอะไรบ้าง พ่อแม่ควรทำอย่างไร!
คนท้องทำงานเยอะ นอนดึก ทำงานตอนกลางคืน ลูกในท้องจะเป็นอะไรไหม
วิธีแก้ปวดหัวอย่างปลอดภัยในช่วงตั้งครรภ์ คนท้องกินยาแก้ปวดอะไรได้บ้าง