คู่มือแม่ท้อง 35 อัพ

คุณแม่ที่ตั้งท้องในวัย 35 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงที่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ ยิ่งถ้าเป็นการตั้งท้องครั้งแรกด้วยแล้ว ความเสี่ยงก็ยิ่งมีมากขึ้นไปอีก ในบทความนี้คุณแม่จะได้รับคำแนะนำในการดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผู้หญิงในวัย 35 อัพอาจพบการเจริญพันธ์ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว  เนื่องจากมีการตกไข่น้อยลง คุณภาพของไข่ด้อยลง ขนาดและจำนวนของไข่ลดลง จึงมีโอกาสมีบุตรยากขึ้น ในขณะที่โอกาสในการแท้งบุตรและเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น เช่น ภาวะเบาหวาน ความดันโลหิตสูง คลอดก่อนกำหนด ทารกอยู่ในภาวะเครียด การผ่าคลอดฉุกเฉิน  และภาวะรกเกาะต่ำ เป็นต้น

นอกจากนี้ วัย 35 ปีเป็นอายุที่ความเสี่ยงของความผิดปกติทางพันธุกรรมจะเริ่มเพิ่มขึ้น โอกาสในการมีลูกกลุ่มอาการดาวน์หรือเกิดความผิดปกติอื่น ๆ ยังเป็นความเสี่ยงที่พบบ่อยในการตั้งครรภ์ช่วงวัยสามสิบตอนปลาย จากภาพด้านล่างจะสังเกตเห็นว่า ความเสี่ยงที่ลูกจะเป็นดาวน์ซินโดรมจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อคุณแม่มีอายุเข้าสู่ช่วงปลาย 30 เป็นต้นไป

จาก 1 ใน 1000 ที่อายุ 29 ปี ความเสี่ยงเพิ่มเป็น 1 ใน 137 ในอีก 10 ถัดไปที่อายุ 39 ปี แม้จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในวัย 35 จำนวนมากก็ผ่านมันมาได้อย่างปลอดภัย

ติดตามอ่านคำแนะนำในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อตั้งครรภ์ตอนอายุมากในหน้าถัดไป

วิทยาศาสตร์การแพทย์ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างมากในการที่จะช่วยให้คุณแม่ที่มีอายุ 35 ปีสามารถตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตามคุณแม่ท้องที่มีอายุมากจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยดังกล่าวและดูแลตัวเองเป็นอย่างดีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

คำแนะนำในการดูแลตัวเองสำหรับคุณแม่ที่ตั้งท้องเลยวัย 35

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • พบแพทย์แต่เนิ่นๆ หากวัยของคุณล่วงเลยสู่เลข 3 ตอนปลาย อย่ารอช้าที่จะปรึกษาแพทย์ เลือกคุณหมอที่เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยาก เพื่อขอคำแนะนำถึงวิธีการอื่นๆ ที่จะช่วยให้คุณมีบุตร ที่นอกเหนือไปจากวิธีธรรมชาติ ประสบการณ์ของคุณหมอในการรักษาภาวะมีบุตรยาก และการดูแลแม่ท้องที่อายุมาก จะช่วยให้คุณมั่นใจในการดูแลครรภ์และคลอดลูกน้อยอย่างไร้กังวล
  • รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและออกกำลังกายเป็นประจำ การเพิ่มของน้ำหนักตัวที่มากเกินไปอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดคือการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเหมือนตอนก่อนตั้งครรภ์ อย่างไรก็ดีการออกกำลังกายของแม่ท้องควรได้รับการเห็นชอบจากแพทย์ก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าคุณสามารถออกกำลังกายในขณะที่อุ้มท้องลูกน้อยในครรภ์อย่างปลอดภัย
  • เลิกพฤติกรรมที่ทำลายสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หากสามีของคุณสูบบุหรี่ นี่เป็นโอกาสอันดีที่จะจูงใจให้เขาเลิกบุหรี่เพื่อสุขภาพทั้งของคุณแม่ท้องและลูกน้อยในครรภ์แบบทูอินวัน
  • ตรวจสุขภาพและจัดการปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่มีอยู่ ในคุณแม่ท้องที่มีอายุมากมีแนวโน้มที่จะเป็นความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอื่น ๆ ตามมา ดังนั้น ก่อนที่จะตั้งครรภ์ตรวจสุขภาพให้เรียบร้อยเสียก่อน เพื่อที่ คุณจะได้จัดการกับปัญหาสุขภาพต่างๆ ทั้งก่อนและในระหว่างการตั้งครรภ์ได้
  • ปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด รับประทานยาในปริมาณที่แพทย์กำหนด แม้มันจะเป็นแค่วิตามินก็ตาม หากคุณต้องการรับประทานอะไรก็ตามควบคู่ไปกับสิ่งที่แพทย์กำหนด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
  • ตรวจสอบแผนการเดินทางและการทำงานกับคุณหมอก่อน ความเครียดจากการทำงานและการเดินทางสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการของทารก  ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อให้แน่ใจว่า คุณสามารถที่จะปกป้องทั้งตัวคุณและลูกน้อยในครรภ์อย่างปลอดภัย

ที่มา ph.theasianparent.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

เป็นไปได้หรือไม่ที่จะตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา