เจ็บเต้านม หรือเต้านมอักเสบ เมื่อจับคลึงดูก็พบเจอก้อนไตแข็ง ๆ ภายในเต้า สัญญาณอาการแบบนี้พาให้ตกใจนึกถึงโรคร้ายเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะรู้ว่าเป็นลักษณะอาการส่วนหนึ่งของ เต้านมอักเสบ ที่มักเกิดในคุณแม่ที่ให้นมลูก สร้างความเจ็บปวดทรมานเป็นที่สุด บางรายก็มีอาการเป็นไข้ร่วมด้วย
เต้านมอักเสบ
ส่งสัญญาณอาการ เต้านมอักเสบ
- อาการเจ็บเต้านมมักเกิด กับคุณแม่ที่ให้นมลูก ซึ่งเกิดจากการคั่งของน้ำนม ที่เรียกว่า ภาวะนมคัด
- เมื่อลูกดูดนมจากเต้าจะรู้สึกเจ็บ และปวดบริเวณเต้านม
- เมื่อใช้มือคลำจะพบเจอก้อนไตแข็ง ๆ ที่บริเวณจุดใด จุดหนึ่งของเต้านม เมื่อกดจะรู้สึกเจ็บ บางคนอาจมีอาการเต้านมบวม หรือแดงได้ ลักษณะแบบนี้เกิดขึ้นเพราะท่อน้ำนมอุดตัน
- อาการเจ็บเต้านมอักเสบมักจะเกิดขึ้นเพียงข้างเดียว
สาเหตุของการเกิดเต้านมอักเสบ
- ลูกอาจจะดูดนมไม่เก่ง หรือดูดไม่บ่อย ทำให้น้ำนมออกไม่หมด และเกิดการจับตัวเป็นก้อน คั่งค้างอยู่ภายในเต้านม
- น้ำนมมากเกินลูกดูดไม่หมด หรือการใช้เครื่องปั๊มนมที่ผิดวิธี ทำให้นมไม่เกลี้ยงเต้า เกิดการคั่งของน้ำนมได้
- การสวมใส่เสื้อชั้นในที่คับเกินไป หรือการนอนตะแคงข้างนานเกินไป ทำให้เกิดแรงกดทับเต้านม ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการเจ็บเต้านมได้
- เต้านมที่เริ่มหย่อนคล้อย ทำให้ส่วนล่างระบายน้ำนมออกไม่ดี ไม่หมด ยังคงทำให้มีน้ำนมตกค้างอยู่ในเต้า
วิธีป้องกันและบรรเทาอาการเต้านมอักเสบ
- ในกรณีที่คุณแม่น้ำนมเยอะควรให้ลูกดูดนม หรือปั๊มนมทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง เพื่อระบายน้ำนมออกไม่ให้เกิดภาวะนมคัด และช่วยให้น้ำนมไม่คั่งค้างอยู่ภายในเต้า
- เมื่อเกิดอาการเจ็บเต้านมให้ลูกช่วยดูดข้างที่เจ็บ โดยจัดท่าให้นมเพื่อให้ลูกช่วยดูดระบายน้ำนมออกจากเต้าได้ดีขึ้น
- ขณะที่ลูกดูดนมให้นวดเบา ๆ บริเวณที่เป็นก้อนในเต้านม และรีดไล่ลงไปถึงหัวนม เพื่อคลายจุดที่อุดตันเป็นก้อนออก
- ประคบเต้านมที่ปวดด้วยผ้าอุ่นประมาณ 5 นาที
- ในกรณีที่ปวดมาก สามารถกินยาบรรเทาอาการปวดด้วยพาราเซตามอลได้
- ควรเลือกเสื้อชั้นในใส่ให้พอดีกระชับกับเต้านม ไม่คับเกินไป
- สำหรับคนที่ชอบนอนตะแคง ให้ลองสลับท่านอนโดยไม่นอนตะแคงนานเกินไป เพื่อลดการกดทับของเต้านม
คุณแม่บางก็อาจมีปัญหาน้ำน้อย มาดูวิธีเพิ่มน้ำนมกัน
วิธีเพิ่มน้ำนมแม่
- ให้นมลูกบ่อยขึ้น และนานขึ้น (ไม่ควรน้อยกว่า 8 ครั้งต่อวัน) ถ้าไม่ได้อยู่กับลูก ก็ควรบีบ หรือปั๊มนมออกให้เกลี้ยงเต้าทุก 3 ชั่วโมง
- กระตุ้นเต้านม โดยใช้ผ้าอุ่นจัดประคบเต้านม 3 – 5 นาที จากนั้นนวดเต้านม และคลึงหัวนมเบา ๆ ก่อนให้นมลูก
- ให้ลูกดูดนมแม่อย่างถูกวิธี ที่สำคัญต้องให้ลูกงับหัวนมจนถึงลานนมได้ลึกพอ
- ไม่ควรป้อนน้ำ นมผสม หรืออาหารเสริมอื่นก่อนที่ลูกจะมีอายุได้ 6 เดือน
- หายใจลึก ๆ ทำใจให้สบาย ไม่เครียด เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายขณะให้นมลูก หรือขณะปั๊มนม
- ทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และรับประทานอาหาร หรือสมุนไพรที่มีคุณสมบัติเพิ่มน้ำนม
- ดื่มน้ำมาก ๆ
- ให้ลูกดูดข้างหนึ่ง ปั๊มนมอีกข้างหนึ่งไปพร้อม ๆ กันเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำนมเพิ่ม แถมยังช่วยให้ปั๊มน้ำนมออกง่ายกว่าการปั๊มนมตอนที่ลูกไม่ได้ดูดเต้าอีกด้วย แต่วิธีนี้ควรใช้เมื่อน้ำนมสร้างได้มากพอ คือประมาณหลัง1 เดือนไปแล้ว
- เพิ่มรอบปั๊มนมให้แต่ละรอบห่าง 3-4 ชั่วโมง หรือช่วงที่ลูกนอนหลับนานเกิน 3 ชั่วโมง
เต้านมอักเสบ สาเหตุที่ทำให้น้ำนมแม่น้อย
ทีนี้มาดูกันว่า สาเหตุจริง ๆ ที่ทำให้น้ำนมแม่น้อยมีอะไรบ้าง โดยสาเหตุที่ทำให้น้ำนมแม่น้อยมีหลายประการ เช่น
- เริ่มให้ลูกดูดกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำนมหลังคลอดช้าเกินไป
- ให้ลูกเข้าเต้าผิดวิธี ลูกอมงับได้ไม่ลึกพอ
- ให้ลูกดูดนมแม่ไม่บ่อยพอในช่วงแรก (น้อยกว่า 8 ครั้งต่อวัน) ซึ่งมักจะเกิดร่วม กับการเสริมนมผสม การให้ดื่มน้ำ หรืออาหารเสริม (ก่อนวัยอันสมควรคือ 6 เดือน) ทำให้ลูกอิ่มไม่ยอมดูดนมแม่
- คุณแม่ที่กลับไปทำงานแล้วปั๊มนมออกน้อยเกินไป หรือทิ้งระยะห่างเกินกว่า 3 – 4 ชั่วโมง
- สาเหตุจากความเครียด พักผ่อนน้อย และรับประทานอาหารน้อย
- กินยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่เป็นฮอร์โมนรวมในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด
อาหารเสริมสำหรับคุณแม่น้ำนมน้อย
1. ข้าวโอ๊ต
ข้าวโอ๊ตเหมาะสำหรับการควบคุมเบาหวานหลังคลอดในขณะที่เป็นแหล่งพลังงานที่ดี อุดมไปด้วยไฟเบอร์ซึ่งมีผลดีต่อระบบย่อยอาหารของคุณ คุณสามารถกินข้าวโอ๊ตเป็นอาหารเช้า หรือทำคุกกี้ข้าวโอ๊ต นักโภชนาการแนะนำให้เพิ่มข้าวโอ๊ตในอาหารของมารดาที่ให้นมบุตรเพื่อเพิ่มการผลิตน้ำนมแม่
ควรให้ลูกหย่านมเมื่อไหร่ มีเคล็ดลับอย่างไรให้ลูกหย่านม
ทำไมเด็ก ไม่ต้องดื่มน้ำ กินนมแม่อย่างเดียวจะ เพียงพอสำหรับลูก หรือไม่
รวม เครื่องปั๊มนมแบบปั๊มมือ ราคาดี คุณภาพโดน เครื่องปั๊มนมที่เหล่า คุณแม่ต้องมี!