ของเล่นช่วยให้ลูกฉลาดขึ้น
ความเชื่อ: ลูกต้องการเล่นของเล่นเพื่อกระตุ้นพัฒนาการสมอง
ความจริง: ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าของเล่นเด็กบางชนิดช่วยให้เด็กฉลาดขึ้นได้
คุณหมอแอนดรูว์อธิบายว่า : สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็กเป็นสิ่งที่กระตุ้นพัฒนาการที่สำคัญสำหรับเด็ก มากกว่าของเล่นที่เรียกว่า ของเล่นเสริมพัฒนาการ ที่จริงแล้วของเล่นสำหรับเด็ก ๆ ไม่จำเป็นต้องซับซ้อนและของเล่นก็ไม่ได้ทำให้เด็กฉลาดขึ้น แต่สิ่งแวดล้อมและคุณพ่อคุณแม่ต่างหากที่จะช่วยลูกฉลาดขึ้นได้
เมื่อลูกน้อยเป็นเด็กพูดช้า
ความเชื่อ: เมื่อคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าลูกน้อยของคุณเป็นเด็กพูดช้า ซึ่งไม่ต้องกังวลใจ เพราะเมื่อลูกโตขึ้นปัญหาเหล่านี้จะหายไปเอง
ความจริง: คุณพ่อคุณแม่ต้องรับมือด้วยการเสริมพัฒนาการด้านการพูดให้แก่ลูก เพราะการช่วยเหลือแต่เนิ่น ๆ จะทำให้ลูกมีพัฒนาการด้านการพูดดีขึ้นได้ หรือหากมีปัญหาอื่นที่พบควรปรึกษาคุณหมอ
คุณหมอแอนดรูว์อธิบายว่า : พัฒนาการด้านการพูดของลูก คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตให้ดีว่า การพูดช้านั้นมีสาเหตุจากอะไรกันแน่ ด้านการเปล่งเสียง ด้านการใช้ภาษา การเข้าใจภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร หรือมีสาเหตุอื่น เช่น ภาวะออทิสติกหรือปัญหาด้านการรับรู้อื่น ๆ ซึ่งต้องได้รับการประเมินพัฒนาการจากคุณหมอเพื่อการรักษาต่อไป
ลูกคนเล็กมักพูดช้า
ความเชื่อ: ลูกคนเล็กในครอบครัวมักจะพูดได้ช้า
ความจริง: ลำดับการเกิดของลูกน้อยอาจมีผลต่อการกำหนดทักษะการเปล่งเสียงและภาษาได้แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่สำคัญ
คุณหมอแอนดรูว์อธิบายว่า : สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรกังวล คือ พัฒนาการด้านการพูดของลูกที่ช้าผิดปกติ เพราะแท้ที่จริงแล้วลำดับการเกิดของลูกนั้น ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้ลูกพูดเร็วหรือพูดช้า อาจมีปัจจัยอื่น ๆ มาเกี่ยวข้อง ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเพิกเฉยกับปัญหาหากลูกมีพัฒนาการด้านการพูดล่าช้ากว่าปกติ และรีบหาทางแก้ไขจะดีที่สุด
พฤติกรรมการอ่านของลูกที่คุณต้องทราบ
ความเชื่อ: การอ่านหนังสือในระยะใกล้สายตามากเกินไป จะทำให้ลูกมีปัญหาด้านการมองเห็น
ความจริง: การอ่านหนังสือในระยะใกล้ตาไม่ได้ร้ายแรงจนถึงขั้นทำลายการมองเห็น แต่เป็นสัญญาณของสายตาสั้นนั่นเอง
คุณหมอแอนดรูว์อธิบายว่า : การอ่านหนังสือหรือดูทีวีใกล้เกินไป ไม่ได้ทำลายการมองเห็นของเด็ก แต่ถ้าลูกชอบอ่านหนังสือ ดูทีวี ในระยะใกล้จนเคยชิน ควรพาลูกไปตรวจสายตาจะดีที่สุด
ทำความเข้าใจเรื่องความสูงของลูก
ความเชื่อ: ความยาวช่วงของเด็กในวัยทารกเป็นตัวบ่งชี้ความสูงของลูกเมื่อเขาเติบโตขึ้น
ความจริง: ความยาวของช่วงตัวไม่ใช่ตัวบ่งชี้ความสูง แต่ส่วนสูงเมื่อลูกโตแล้วอาจใช้คาดการณ์ความสูงในอนาคตได้
คุณหมอแอนดรูว์อธิบายว่า : จริง ๆ ก็เป็นเรื่องปกติที่คุณแม่มักจะคิดว่า หากทารกน้อยของคุณมีช่วงตัวยาวแล้วเขาจะโตขึ้นมาเป็นคนตัวสูง แต่จริง ๆ แล้วมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้านความสูงของลูก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกรรมพันธุ์ ด้านโภชนาการ ด้านการดูแลสุขภาพร่างกายทั่วไป
ลูกเป็นภูมิแพ้หรือเปล่านะ?
ความเชื่อ: หากคุณพ่อคุณแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกก็จะเป็นโรคภูมิแพ้ด้วย หรือถ้าคุณไม่เป็นโรคภูมิแพ้ลูกก็จะไม่เป็นเช่นกัน
ความจริง: การถ่ายทอดทางพันธุกรรม คือ สิ่งกำหนดว่าใครจะเป็นภูมิแพ้หรือไม่ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย
คุณหมอแอนดรูว์อธิบายว่า : ปัจจัยด้านพันธุกรรมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ลูกอาจได้รับเชื้อแฝงจากพ่อแม่ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรสันนิษฐานไปก่อน หากคุณมีอาการแพ้สิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วลูกจะต้องแพ้ตามไปด้วย เพราะบางครั้งอาการแพ้อย่างเฉียบพลันอาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น พันธุกรรมอาจไม่ใช่ปัจจัยกำหนดอาการภูมิแพ้ได้ทั้งหมด
ได้ทราบข้อเท็จจริงจากคุณหมอกันแล้วนะคะ หวังว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวพอจะช่วยคลายข้อสงสัยของคุณพ่อคุณแม่ไปได้บ้าง หากมีข้อสงสัยหรือข้อมูลอื่นเพิ่มเติม ทีมงานของเรายินดีค้นหาและรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับคุณพ่อคุณแม่มานำเสนอค่ะ
อ้างอิงข้อมูลจาก
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
สารพันความเชื่อเกี่ยวกับเด็กทารก
10 ความเชื่อหลังคลอดเกี่ยวกับทารก