ความสำคัญของการตรวจครรภ์ช่วงสามเดือนแรก

ช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ที่เรียกกันว่า ท้องอ่อน ๆ เป็นช่วงที่แม่ท้องต้องระมัดระวังตัวมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นก้าวแรกของการเจริญเติบโตของทารกน้อยที่จะพัฒนาต่อไปอีกจนถึงเดือนที่ 9 การฝากครรภ์ การตรวจครรภ์ในช่วงไตรมาสแรกนั้นเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น ติดตามอ่าน ความสำคัญของการตรวจครรภ์ช่วงสามเดือนแรก กันนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณหมอบอก : สามเดือนแรกสำคัญมากนะ

ไตรมาสแรกหรือระยะสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ถือเป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ   เพราะคุณแม่จะสามารถคลอดทารกที่แข็งแรงหรือเสี่ยงแท้งบุตรก็อยู่ในช่วงสามเดือนนี้นะคะ เมื่อผ่านช่วงสามเดือนนี้ไปได้โอกาสแท้งก็จะลดลง เรียกว่าเริ่มเข้าสู่ระยะปลอดภัยดังนั้น  การฝากครรภ์แต่เนิ่น ๆ กับคุณหมอ คุณแม่จะได้รับการตรวจสุขภาพและคำแนะนำในการดูแลตนเอง  เช่น  ควรงดกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก หรือการเดินทางไกล  รวมไปถึงการดูแลด้านอาหารและโภชนาการ เป็นต้น

ความสำคัญของการตรวจครรภ์ช่วงสามเดือนแรก

1. ระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์เป็นช่วงที่ทารกมีการพัฒนาร่างกายแลอวัยวะต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงสมองด้วย

2. ไตรมาสแรก นี้ ทารกต้องการทั้งพลังงานและสารอาหารที่มีประโยชน์ แต่ในช่วงนี้คุณแม่จะยังมีอาการแพ้ท้องและกินอาหารได้น้อย ควรแก้ปัญหาด้วยการกินอาหารทีละน้อย แต่กินบ่อยครั้ง เพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้ามีอาการ แพ้ท้อง มาก คุณหมออาจจะสั่งยาแก้แพ้ให้

3.  เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 7-8 เป็นช่วงที่คุณแม่อาจสังเกตว่ามีอาการ ตกขาว มาก จึงควรดูแลอนามัยช่องคลอดให้ดี สังเกตว่ามีตกขาวมากผิดปกติแค่ไหน ซึ่งบางครั้งอาจเกิดจากการติดเชื้อด้วย ก็ไม่ควรปล่อยไว้นาน เพราะอาจลุกลามไปถึงโพรงมดลูก ทำให้มีอาการอักเสบ ส่งผลกระทบต่อตัวอ่อนที่ฝังตัวในผนังมดลูก และมีผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนช่วง 3 เดือนแรกด้วย

4. การตรวจครรภ์ในช่วงไตรมาสแรกนี้จะเป็นการตรวจแบบอัลตราซาวนด์ แม้ว่าจะยังมองไม่เห็นเป็นลักษณะรูปร่างของทารก แต่ก็สามารถบอกได้ถึงการเจริญเติบโต ขนาดถุงน้ำคร่ำ  การเต้นของหัวใจ และตำแหน่งการเกาะของรกที่ผนังมดลูกได้  เพื่อที่คุณหมอจะประเมินอาการและคาดคะเนสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์  เพื่อวางแนวทางในการป้องกันหรือดูแลครรภ์ของคุณแม่อย่างดีที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรื่องน่ารู้  ในช่วง 3 เดือนแรกเซลล์สมองเริ่มมีพัฒนาการตั้งแต่ช่วงแรกคือตอน 8 สัปดาห์ ส่วนเส้นใยประสาทมีการเชื่อมโยงได้แล้ว และสามารถเช็กได้ว่าโครงสร้างหลักของลูก เช่น กะโหลก แขน ขา กระดูกสันหลัง มีความพิการหรือไม่

5. ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น พบมากที่สุดในช่วงสามเดือนแรกคือ การแท้ง เนื่องจากความผิดปกติของโครโมโซม หรือเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่ต้องระวังและป้องกันได้เช่น ความผิดปกติของฮอร์โมน การติดเชื้อ โรคเรื้อรังของคุณแม่ ภาวะขาดอาหารของแม่ ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมและสารพิษ เช่น  บุหรี่  แอลกอฮอล์  และสารเสพติด รวมไปถึงอุบัติเหตุและการกระทบกระเทือนอื่นๆ

6. สิ่งที่แม่ท้องทุกคนควรทราบและสังเกตอยู่เสมอ คือ การมีเลือดออกทางช่องคลอดถือเป็นสัญญาณเตือนอย่างหนึ่งของการแท้งบุตร สิ่งสำคัญเมื่อมีเลือดออกแม้เพียงเล็กน้อย สิ่งแรกที่ควรทำคือ นั่งพักและนอนพักและควรปรึกษาคุณหมอโดยด่วน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อควรรู้   สิ่งที่คุณแม่ควรสังเกต คือ ปริมาณและสีของเลือดที่ออกมาว่า  เป็นสีแดงสดหรือน้ำตาลคล้ำ ปริมาณมากหรือน้อย หรือมีอาการปวดท้องร่วมกับเลือดออกด้วยหรือไม่ เพราะอาการปวดท้องอาจเกิดจากการบีบรัดตัวของมดลูกนั่นเอง เพื่อจะได้แจ้งอาการแก่คุณหมอเป็นข้อมูลในการตรวจรักษาต่อไป

เมื่อคุณแม่ทราบเช่นนี้แล้ว  อย่าละเลยและให้ความสำคัญกับการไปตรวจครรภ์แต่เนิ่น ๆ นะคะ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกน้อยนั่นเอง

อ้างอิงข้อมูลจาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

https://baby.kapook.com

https://www.being-mom.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

สารเคมีในชีวิตประจำวันที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง

เช็กลิสต์อาการอะไรบ้างที่พบบ่อยระหว่างตั้งครรภ์