ควรชั่งน้ำหนักลูกน้อย บ่อยแค่ไหน?

คนเป็นพ่อแม่มักกังวลเสมอเวลาที่มีคนทักว่า ลูกของเราผอมไปนะ กินนมน้อยไปไหม หรือไม่ก็ อ้วนไปแล้วนะ Overfeed หรือเปล่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกน้อยของคุณมีน้ำหนักตามเกณฑ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกไซส์ปกติควรมีน้ำหนักตัวเท่าไหร่

น้ำหนักตัวที่เหมาะสมสำหรับเด็กแรกเกิดควรอยู่ระหว่าง 2,500 – 4,000 กรัม

0-3 เดือน น้ำหนักตัวควรเพิ่มขึ้น 700 – 800 กรัมต่อเดือน

4-6 เดือน น้ำหนักตัวควรเพิ่มขึ้น 500 – 600 กรัมต่อเดือน

7-9 เดือน น้ำหนักตัวควรเพิ่มขึ้น ประมาณ 400 กรัมต่อเดือน

10-12 เดือน น้ำหนักตัวควรเพิ่มขึ้น ประมาณ 300 กรัมต่อเดือน

คุณแม่สามารถดูว่าลูกน้อยของเรามีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือเปล่า โดยดูตามเกณฑ์ด้านล่างนี้ค่ะ

น้ำหนักตัวเด็กหญิง

3 เดือน – 4.2-6 กิโลกรัม
6 เดือน– 5.5-8.5 กิโลกรัม
9 เดือน – 6.8-10.3 กิโลกรัม
12 เดือน – 7.5-11.5 กิโลกรัม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

น้ำหนักตัวเด็กชาย

3 เดือน – 4.5-6.5 กิโลกรัม
6 เดือน– 6-9 กิโลกรัม
9 เดือน – 7.5-11 กิโลกรัม
12 เดือน – 8.2-11 กิโลกรัม

ควรชั่งน้ำหนักลูกน้อย บ่อยแค่ไหน?

คุณแม่ไม่จำเป็นต้องเพิ่มความเครียดให้ตัวเองด้วยการชั่งน้ำหนักลูกน้อยทุกวัน เพราะน้ำหนักของทารกอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นตามปริมาณนมที่ลูกกินเข้าไปก่อนชั่งน้ำหนัก หรือลดลงเมื่อลูกขับถ่าย

ความถี่ในการชั่งน้ำหนักลูกน้อย แบ่งได้ตามอายุ ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • 2 สัปดาห์ – 6 เดือน – ควรชั่งเดือนละ 1 ครั้ง
  • 6-12 เดือน – ควรชั่งทุก 2 เดือน
  • 12 เดือนขึ้นไป – ควรชั่งทุก 3 เดือน

จากความถี่ด้านบน คุณแม่คงเห็นแล้วนะคะว่า ทุกครั้งที่คุณแม่พาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนก็จะได้รับการชั่งน้ำหนักอยู่แล้ว ดังนั้น คุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวลมากเกินไปในการจดบันทึกน้ำหนักลูกน้อยทุกวันค่ะ

เด็กตัวใหญ่คือเด็กแข็งแรงจริงหรือ?

น้ำหนักเฉลี่ยของทารกแรกเกิดคือ 3,000 กรัม หากทารกมีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม ถือว่าเป็นเด็กตัวใหญ่

ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า น้ำหนักตัวที่มากเกินไปอาจทำให้ทารกคลานช้าและเดินช้า และแม้ว่าทารกตัวใหญ่อาจไม่จำเป็นต้องกลายเป็นเด็กอ้วน แต่เด็กอ้วนมีแนวโน้มที่จะโตเป็นผู้ใหญ่อ้วนในอนาคต

ส่วนทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย มีแนวโน้มที่จะเกิดโรคต่างๆ ในวัยผู้ใหญ่ เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมพ่อแม่ถึงได้เป็นกังวลกับน้ำหนักตัวของลูกน้อย เพราะหากลูกน้ำหนักตัวมากเกินไปก็เสี่ยงเป็นโรคอ้วนและพัฒนาการล่าช้า แต่หากลูกน้ำหนักน้อยเกินไปก็อาจเกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น น้ำหนักตัวไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูกนะคะ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องพิจารณาควบคู่กันไป เช่น ความสูง โครงสร้างกระดูก เชื้อชาติ ระยะเวลาที่อยู่ในครรภ์ พันธุกรรม และแม้แต่การกินนมแม่หรือนมผง และอื่นๆ

นอกจากนี้คุณแม่อาจประเมินสุขภาพของลูกในเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง หากลูกกินได้  อึหรือฉี่ปกติ  ฉี่ใสหรือเป็นสีเหลืองอ่อน ตาสดใส ผิวดูมีสุขภาพดี เคลื่อนไหวแขนและขาคล่องแคล่ว มีพัฒนาการด้านต่างๆ เหมาะสมกับวัย มีความสุขและขี้เล่น ก็ไม่น่ามีอะไรน่าเป็นห่วงค่ะ

อย่างไรก็ดี หากคุณแม่มีความกังวลใดๆ เกี่ยวกับสุขภาพของลูกน้อย ควรปรึกษาแพทย์จะดีที่สุดค่ะ

ที่มา sg.theasianparent.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

เคลียร์ข้อสงสัย ลูกกินนมแม่ ไม่ถ่ายได้กี่วัน

ลูกตัวเล็ก เลี้ยงไม่โต ควรทำอย่างไร?