คลิปเดียวที่จะทำให้คุณเข้าใจความรู้สึกของคนเป็นแม่ จนอยากกลับไปบอกรักใครสักคน

ความรู้สึกคือสิ่งที่ไม่สามารถกลั่นกรองออกมาเป็นคำพูดได้ แต่คลิปนี้เพียงคลิปเดียวที่จะสามารถสื่อทุกความรู้สึกของคนเป็นแม่ได้เป็นอย่างดี จนทำให้คุณต้องนึกถึงใครสักคน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“แม่” คือคำเรียกที่ยิ่งใหญ่ ถึงผู้หญิงตัวเล็ก ๆ ที่แข็งแกร่งคนหนึ่ง ที่พร้อมจะเสียสละทุก ๆ อย่างให้กับใครสักคนโดยไม่หวังผลตอบแทน

และไม่สำคัญหรอกว่าคุณจะเป็นใคร ไม่สำคัญหรอกว่าคุณจะมาจากไหน ไม่สำคัญว่าคุณจะยิ่งใหญ่เพียงใด หากปราศจากผู้หญิงคนนี้แล้ว คุณก็คงไม่มีวันนี้ … และคลิปนี้คือคลิปสั้น ๆ เพียงคลิปเดียว ที่จะทำให้คุณเข้าใจทุกความรู้สึกของคนเป็นแม่คน ที่บอกเลยว่าหากคุณดูคลิปนี้จบแล้ว คุณอาจจะนึกถึงและอยากกลับไปบอกรักใครสักคน …

www.facebook.com/birthbecomesher/videos/1905894966334386/

 

ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ทุกคน ขอแสดงเคารพ “คุณแม่” ทุกคน กับความรักแท้ที่ยิ่งใหญ่ ที่ไม่มีความรักใด ๆ จะสามารถเทียมเท่าได้ พวกคุณทุกคน สุดยอดจริง ๆ ค่ะ

#1. คุยกับลูกในท้อง

ทราบหรือไม่ครับว่า ทารกสามารถได้ยินเสียงได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งระบบการได้ยินของลูก จะเริ่มพัฒนาเมื่ออายุครรภ์ได้ 24 – 26 สัปดาห์ขึ้นไป โดยลูกน้อยจะเริ่มได้ยินเสียงหัวใจ และเสียงของคุณแม่ และเริ่มจดจำเสียงของคุณแม่ได้ เพราะฉะนั้น การคุยกับลูกตั้งแต่ที่เค้ายังอยู่ในท้องจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่กับลูกน้อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากตั้งชื่อลูกไว้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะเริ่มเรียกชื่อลูก หรือหากยังไม่ได้ตั้งชื่อ ก็อาจจะเรียกเค้าว่า เจ้าตัวเล็ก หรือเบบี๋ก็ได้ พูดกับลูกว่าคุณกำลังทำอะไร อยากโชว์อะไรให้ลูกรู้ก็พูดได้เลยครับ และเมื่อลูกเกิดมา ลูกก็จะจำเสียงของคุณแม่ได้ และรู้สึกถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่น ที่เกิดจากการพูดคุย อีกทั้งยังจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการการได้ยิน และช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของลูกได้อีกด้วย แต่อย่าไปเล่า หรือพูดเรื่องเครียดๆอย่างเช่น ไม่มีเงิน หรือถูกหวยกินให้ลูกฟังนะครับ เดี๋ยวลูกจะพลอยเครียดตามไปด้วย

#2. อ่านหนังสือให้ลูกฟัง

การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ตั้งแต่เค้ายังอยู่ในท้อง เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกในท้อง คุณแม่อาจจะอ่านหนังสือนิทาน พร้อมทำท่า หรือใช้นิ้วทำท่าปูไต่ หรือใช้นิ้วทำท่าคนเดินบนหน้าท้องเพื่อเล่นกับลูก โดยอาจจะอ่านออกเสียงให้ลูกได้ยิน เพื่อที่เค้าจะได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆไปในตัว

#3. เปิดเพลงฟัง ฮัมเพลงไปกับลูก

ลองเปิดเพลงเบาๆ แล้วร้องเพลง หรือฮัมเพลงคลอไปกับเสียงเพลง หรือคุณแม่อาจจะนั่งลงพร้อมใส่หูฟังที่ท้อง และเปิดเพลงให้ลูกฟัง ซึ่งเพลงที่เปิดนั้นไม่ใช่แค่เพียงเพลงกล่อมเด็ก หรือเพลงคลาสสิคเท่านั้น แต่คุณแม่สามารถเปิดเพลงปกติที่คุณแม่ชอบฟัง เพื่อให้ลูกได้ฟังไปด้วยก็ได้นะครับ ไม่ว่าจะเป็นเพลงป๊อป เพลงลูกทุ่ง หรือเพลงสากลก็ได้ และคุณแม่ก็อาจจะรู้สึกได้ว่าลูกดิ้นตามจังหวะเพลงอย่างสนุกสนาน แถมยังช่วยคลายเครียดให้กับแม่ท้องได้อีกด้วย

#4. เล่นกับลูกด้วยการลูบท้อง

ในช่วงใกล้คลอดนั้น แม่ท้องมักจะชอบลูบคลำท้องเป็นเรื่องปกติ ซึ่งการลูบท้องนั้น จะช่วยกระตุ้นระบบประสาทและสมองส่วนรับรู้ความรู้สึกของทารกในครรภ์ ให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ในเวลาที่คุณพ่อ หรือคุณแม่ ลูบหรือสัมผัสทารกในครรภ์ผ่านทางหน้าท้องนั้น ผิวของทารกจะสัมผัสกับผนังด้านในของมดลูก และบางครั้งแม่ท้องอาจจะรู้สึกได้ว่า ลูกน้อยเคลื่อนไหวโต้ตอบ หรือลูกมีการขยับตัวไปตามมือที่ลูบท้อง หรืออาจจะรู้สึกว่าลูกเตะขาเพื่อโต้ตอบ เหมือนลูกกำลังเล่นอยู่กับคุณพ่อคุณแม่

นอกจากนั้นแล้ว การลูบหน้าท้อง ยังเป็นการส่งผ่านความรู้สึกไปยังลูกในท้อง ซึ่งวิธีการลูบท้องนั้น อาจจะลูบเป็นวงกลม จากบนลงล่าง หรือจากล่างขึ้นบน บริเวณไหนก่อนก็ได้นะครับ ที่สำคัญ อย่าลืมใช้หัวใจและความรู้สึกส่งผ่านมือตอนที่ลูบไปด้วยนะครับ

#5. เล่นจ๊ะเอ๋กับลูกโดยใช้ไฟฉาย

นี่คือเกมที่อาจจะสนุกที่สุด ที่คุณแม่สามารถเล่นกับลูกในท้องได้! โดยคุณแม่อาจจะใช้ไฟฉาย ส่องไฟลงไปบริเวณหน้าท้อง เพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็น โดยการเล่นแบบนี้จะยิ่งได้ผลดีเมื่อลูกเริ่มดิ้นในท้อง แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องเล็งให้แสงเข้าตรงกับลูกตาของลูกนะครับ เพียงแค่ส่องให้ลูกรู้ว่ามีแสงส่องเข้ามาก็พอแล้ว

เวลาที่เล่นจ๊ะเอ๋กับลูกโดยใช้ไฟฉาย หลายครั้งลูกจะเคลื่อนไหวตามแสงไฟ หากลูกน้อยมีการตอบสนอง เช่น เตะ หรือดิ้น นั่นก็หมายความว่าเค้าสามารถรับรู้ได้ และเกิดการตอบสนองนั่นเองครับ

สำหรับไฟฉายนั้น ควรเป็นแบบ 2 ท่อน หรือ 3 ท่อน หลอดธรรมดา ห้ามใช้แบบหลอดแรงสูงเด็ดขาด เพราะแสงที่จ้าเกินไป แทนที่จะเป็นผลดี แต่กลับจะทำให้เกิดอันตรายต่อจอประสาทตาของทารกได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีเล่นกับลูกในท้องดังที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากจะช่วยในเรื่องพัฒนาการต่างๆของทารกตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์แล้ว ยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่และลูกในท้องได้อีกด้วยนะครับ

ที่มา: Birth Becomes Her

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Muninth