คลำท้องหาตำแหน่งลูก ตรงไหนหัว ตรงไหนเท้า ทำตามนี้ได้เลย!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่หลาย ๆ คน แน่นอนว่าก็ต้องอยากทราบว่า ลูกน้อยอยู่ตรงไหนในครรภ์ของคุณแม่ ตรงไหนคือหัว ตรงไหนเท้า เพราะตำแหน่งของลูกน้อยในครรภ์นั้น มีความสำคัญไม่น้อยเลยค่ะ ในวันนี้ เราจะมาดูกันว่า วิธี คลำท้องหาตำแหน่งลูก แบบง่าย ๆ ทำอย่างไร ไปดูกันเลย!

 

คลำท้องหาตำแหน่งลูก สำคัญอย่างไร

สูตินรีแพทย์เชื่อว่า ตำแหน่งที่เด็กหันหัวลงนั้น เป็นตำแหน่งที่เหมาะที่สุดสำหรับการคลอด ยิ่งถ้าหน้าของเด็กขนานไปกับแนวกระดูกสันหลังก็จะยิ่งดี ซึ่งการคลำดูตำแหน่งของลูกในท้องนั้น ก็เป็นอีกวิธี ที่จะช่วยคุณหมอในการตัดสินใจเลือกวิธีคลอดที่ปลอดภัยที่สุดได้

ซึ่งการที่รู้ว่าลูกในครรภ์อยู่ส่วนไหน ตำแหน่งไหน จะเป็นการช่วยให้คุณหมอวางแผนการคลอดได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ คุณแม่หลาย ๆ คน ยังออกกำลังกายเพื่อให้คลอดได้ง่าย เช่น ขมิบช่องคลอด และบริหารอุ้งเชิงกราน แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้น หากคุณแม่ทราบตำแหน่งของลูก ก็จะเป็นการช่วยเลือกการบริหารที่ถูกต้อง และเหมาะสมได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกในครรภ์คืออะไร ระยะของตัวอ่อนในครรภ์ มีพัฒนาการอย่างไร?

 

 

ควรเริ่มหาตำแหน่งลูกน้อยเมื่อไหร่

คุณแม่สามารถเริ่มคลำท้องหาตำแหน่งลูกได้ ตั้งแต่เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ที่มีอายุครรภ์ได้ 6 เดือน เป็นต้นไป ซึ่งในระยะนี้ ลูกในท้องมักจะอยู่ตำแหน่งเดิม ไม่ค่อยขยับเปลี่ยนตำแหน่งไปจนถึงวันคลอด

ซึ่งหลายครั้งในระหว่างคลอดนั้น คางของเด็กอาจจะติดบริเวณช่องคลอด จนคุณหมอต้องพยายามช่วยพลิกตัวเด็ก ดังนั้น หากคุณแม่รู้ล่วงหน้าว่าลูกในท้องอยู่ตำแหน่งไหน อยู่ท่าไหนในท้อง ก็จะเป็นการช่วยป้องกัน หรือหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างคลอดได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การคลำท้องหาตำแหน่งลูก ควรเริ่มตอนไหน

การคลำท้องหาตำแหน่งลูก อาจจะฟังดูเหมือนเป็นเรื่องยากไปสักหน่อย แต่จริง ๆ แล้วการคลำท้องหาตำแหน่งลูกนั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด ซึ่งคุณแม่สามารถทำตามวิธีง่าย ๆ ดังนี้

  1. ใช้ปากกาวาดวงกลมล้อมรอบท้อง ให้คุณแม่ใช้ปากกา วาดวงกลมล้อมรอบหน้าท้อง แล้วจากนั้น แบ่งออกเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน
  2. เริ่มหาหัวของทารกในครรภ์ด้วยการคลำเบา ๆ หากคุณแม่คลำแล้ว รู้สึกได้ถึงวงกลม ให้คุณแม่สันนิษฐานไว้ก่อนว่า นั่นคือศีรษะของลูกน้อย แล้วหลังจากนั้น ให้คุณแม่ใช้ปากกาวงตำแหน่งศีรษะของลูกไว้
  3. ลองคลำหามือของลูกน้อย หลังจากคิดว่าเจอส่วนศีรษะของลูกน้อยแล้ว ถ้าหากคุณแม่สัมผัสได้ถึงเส้นเล็ก ๆ ให้สันนิษฐานว่า นั่นคือมือของลูก แล้วจากนั้นให้ใช้ปากกาวงตำแหน่งมือของลูกไว้ เท่าที่เจอ
  4. เริ่มคลำหาหัวใจของลูกน้อย ในส่วนนี้อาจจะฟังดูยากสักหน่อย ในจุดนี้ คุณแม่หลายท่านอาจจะคลำหาไม่เจอ ซึ่งอาจจะลองใช้ เครื่องฟังเสียงหัวใจทารก หรือจะลองให้คุณหมอช่วยดูก็ได้นะครับ
  5. ก้นหรือศีรษะ? หากคลำแล้วรู้สึกถึงวงกลมอีก นอกจากจะสันนิษฐานว่า นั่นคือศีรษะของลูกแล้ว ก็อาจจะเป็นไปได้ว่านั่นคือก้นของลูกได้เช่นกัน แต่แม้ว่าก้นของลูกอาจคล้ายกับหัวของลูก แต่คุณแม่สามารถแยกได้ โดยก้นของลูกนั้น จะอยู่ใกล้ตำแหน่งที่คุณแม่รู้สึกว่าลูกเตะ นั่นเองค่ะ
  6. ลองเอาตุ๊กตาตัวน้อย ๆ มาจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่ใช้ปากกาวงไว้ พอคุณแม่รู้ตำแหน่งของลูกอย่างคร่าว ๆ แล้ว ให้ลองนำตุ๊กตามาวางในตำแหน่งที่ใช้ปากกาวงแต่ละจุด ก็จะเห็นภาพว่าลูกอยู่ตรงไหนในท้องแม่ได้ชัดเจนขึ้น อิงตามสัดส่วนของตุ๊กตาขนาดเท่าทารกน้อยนั่นเองค่ะ
  7. คุณแม่ที่มีจินตนาการ อาจจะวาดเพลิน หรืออาจจะหาสีมาระบายเล่น กลายเป็นงานศิลปะสวยงามไปเลยก็เป็นไปได้

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จะรู้ได้อย่างไรว่า ทารกในครรภ์ ว่าเติบโตเป็นปกติหรือไม่

  • สังเกตจากฮอร์โมน

ในช่วงของการตั้งครรภ์ เมื่อลูกน้อยเติบโต ก็จะมีการผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ออกมา โดยมีอาการที่เราสามารถพบเห็นได้เช่น เจ็บเต้านม แพ้ท้อง เป็นต้น

  • นับจังหวะลูกดิ้น

โดยปกติแล้ว ใน 12 ชั่วโมง ลูกควรจะดิ้นเกิน 10 ครั้งหรือมากกว่า ก็แปลว่าลูกน้อยพัฒนาการปกติค่ะ แต่ถ้ารู้สึกว่าลูกน้อยไม่ค่อยดิ้นเลย ก็อาจจะเป็นเพราะลูกหลับเช่นกัน แนะนำให้คุณแม่ลองดื่มน้ำ หรือพักรอประมาณ 1 ชั่วโมง ลูกน้อยจะดิ้นจนคุณแม่สามารถรู้สึกได้ค่ะ

  • น้ำหนักตัวแม่

ลูกน้อยจะได้รับสารอาหารเพียงพอหรือไม่ ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของคุณแม่เช่นกัน โดยคุณแม่ควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ประมาณ 10-15 กิโลกรัม ตลอดการตั้งครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ดูจากยอดมดลูก

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ มดลูกก็จะขยายขึ้นเรื่อย ๆ โดยการขยายตัวของมดลูกในแต่ละอายุครรภ์ก็จะมีความแตกต่างกัน เช่น เมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะอยู่เหนือกระดูกหัวหน่าว และเมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ยอดมดลูกจะสูงประมาณ 1 ใน 4 เหนือสะดือ เป็นต้นค่ะ

 

 

โดยสรุปแล้ว การคลำท้องหาลูกน้อยในครรภ์ สามารถทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 6 เดือนขึ้นไป โดยเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายมาก และทำให้คุณแม่สามารถสัมผัสถึงความรักของเด็ก ๆ ในครรภ์ได้อย่างง่ายดายด้วยตัวเองค่ะ ทั้งนี้ คุณแม่ก็สามารถไปตรวจครรภ์ที่โรงพยาบาลได้เช่นกัน เพื่อตรวจสุขภาพเพิ่มเติม เตรียมดูแลลูกน้อยในอนาคตที่จะได้ลืมตาดูโลกได้ด้วยเช่นกันค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ท้องแข็ง คนท้อง อันตราย เมื่อรู้สึกว่าท้องแข็งห้ามทำ 4 เรื่องนี้เด็ดขาด!!

ท้องแข็งแบบต่างๆ แยกอย่างไร ลูกโก่งตัว แค่กินอิ่ม หรือใกล้คลอดแล้ว

ลูกไม่ดิ้นกี่ชั่วโมงต้องไปหาหมอ ลูกดิ้นกี่ครั้งต่อวัน ลูกไม่ดิ้น อันตรายแค่ไหน

ที่มา : 1

บทความโดย

P.Veerasedtakul