แม่ผ่าคลอด รู้เอาไว้ 20 เรื่องต้องเลี่ยงหลังผ่าคลอดใหม่ ๆ พร้อมคลิปผ่าคลอด เรื่องราวในห้องคลอด ที่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
20 เรื่องต้องเลี่ยงหลังผ่าคลอดใหม่ๆ
- พยายามจามให้เบาที่สุด แผลจะได้ไม่กระเทือน หรือใครควบคุมการจามได้ล่ะก็ เยี่ยมไปเลย
- แม่ผ่าคลอดไม่ควรไอ เช่นเดียวกับการจาม แรงสะเทือนเพียงเล็กน้อย ก็สร้างความปวดร้าวได้แม้ว่าการหัวเราะจะเป็น ยาแห่งความสุข แต่หลังจากผ่าคลอดใหม่ๆ การหัวเราะกลับสร้างความเจ็บปวดได้ไม่น้อย แต่มันก็ยากเหมือนกันนะที่จะห้ามไม่ให้ตัวเองหัวเราะ ถ้าอย่างนั้นแม่ๆ ก็ต้องหลีกเลี่ยงสื่อบันเทิงตลกๆ ไปก่อน ไว้แผลเริ่มสมานค่อยกลับมาดู
- ซื้อหมอนตุนไว้เยอะๆ หมอนจะเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของคุณแม่ ณ เวลานี้ เพราะหมอนสามารถหนุนท้อง ลดอาการเจ็บปวดเวลาเคลื่อนไหว โดยเฉพาะเวลาที่นั่งรถเข็นออกจากโรงพยาบาล แล้วมีแรงสั่น หรือกระแทกเบาๆ ซึ่งแน่นอนว่า มันเจ็บไม่ใช่น้อย แม่ๆ ต้องเตรียมหมอนไว้รองบริเวณหน้าท้องที่ผ่าคลอด
- อย่ากินอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะ งดไปเลยเครื่องดื่มจำพวกน้ำอัดลม เพราะหลังฟิน แม่จะเจ็บไปอีกนาน เพราะความอึดอัดจากลมในท้อง
- นอกจากอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มแก๊สในกระเพาะแล้ว สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างคือ การทานอาหารที่ทำให้ท้องผูก ลองนึกภาพการเข้าห้องน้ำเพื่อถ่ายหนักครั้งแรกหลังผ่าคลอด ถ้าท้องผูกล่ะก็ เจ็บแผลแน่นอน
- เลี่ยงการสนทนากับคุณแม่ที่คลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติ เพราะความคิดเห็นของคุณแม่ที่เลือกวิธีผ่าคลอด ย่อมไม่เหมือนกับคุณแม่ที่เลือกการคลอดแบบธรรมชาติ
- ช่วงแรกๆ ให้เลี่ยงการเดินขึ้นบันได เลือกใช้ลิฟท์จะดีกว่า แต่ถ้าบ้านไหนมีสองชั้น ก็ขอให้คุณพ่อช่วยลำเลียงสิ่งของมาไว้ชั้นล่าง จัดห้องนอนที่ชั้น 1 ให้คุณแม่ จะสะดวกมากกว่า
- อย่าไปโฟกัส ผิวหนังหย่อนคล้อยตรงหน้าท้อง พยายามออกกำลังกายและทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ค่อยๆ ดูแลรูปร่างให้กลับไปเหมือนเดิม
- เลิกกังวลแผลผ่าคลอด ทำตามที่หมอสั่ง ดูแลแผลให้ดี มีวินัยกับตัวเองให้มากๆ นะคุณแม่
- อย่าก้มลงดูแผลของตัวเอง ถ้ามันเจ็บและต้องฝืน
- ถ้าอยากรู้ว่าแผลผ่าตัดเป็นยังไงบ้าง ให้คุณสามีคอยสังเกตความเปลี่ยนแปลงทุกๆ วันก็ได้
- ความเครียด ความกังวล และความเสียใจ จนแม่ๆ ต้องหลั่งน้ำตา เป็นสิ่งที่เจ็บปวดทั้งภายนอกและภายใน หาวิธีคลายเครียด ดีกว่ามานั่งร้องไห้แล้วเจ็บแผลเพิ่มขึ้น
- ใช้ชีวิตช้าๆ อย่าเร่งรีบ อย่าคิดว่า เก่งแล้ว สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเดิมแล้ว เพราะบาดแผลนั้นต้องใช้เวลาในการรักษา และพฤติกรรมหรือกิจกรรมบางอย่าง ก็ทำให้แม่ต้องปวดจี๊ดที่แผลได้ง่ายๆ
- อย่าเข้าใกล้พื้นที่เปียกชื้น เพราะถ้าลื่นล้มจะเจ็บปวด หรือแม้แต่การเกร็ง เพราะต้องคอยระวังพื้นลื่นๆ ก็ทำให้แม่เจ็บแผลได้แล้ว
- เลิกบ่นเรื่องอาการชา ไร้ความรู้สึก บริเวณแผลผ่าคลอด เพราะอีกไม่นานก็หาย ลืมๆ ไป แล้วใช้ชีวิตปกติดีกว่า คุณแม่
- ไม่ต้องอาย ถ้าจะขอให้สามีหรือครอบครัว มาช่วยเหลือเรื่องในบ้าน หรือดูแลตัวคุณแม่ คุณลูก เพราะคนในครอบครัวย่อมเต็มใจจะช่วยเหลือ เพียงแค่แม่ๆ เอ่ยปาก
- ย้ำกันอีกครั้งว่า สิ่งที่หมอสั่ง ยาที่หมอจ่ายให้คุณแม่ ไม่ว่าจะเป็นยาแก้ปวด หรืออาหารเสริม วิตามินต่างๆ ต้องกินอย่างต่อเนื่อง อย่าให้ขาด
- เลิกนอยด์ เรื่องวิธีคลอดได้แล้ว ตอนนี้สิ่งที่ต้องสนใจคือลูกน้อย อย่าไปเปรียบเทียบความสุขของคนที่คลอดได้เองตามธรรมชาติ กับเราที่เลือกการผ่าคลอด เพราะไม่ว่าจะด้วยวิธีไหน เพียงลูกรักออกมาได้แข็งแรงและปลอดภัย นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว
- ท้ายที่สุดนี้ อย่าดูถูกตัวเองที่คลอดด้วยการผ่าคลอด อย่างที่บอกเอาไว้ว่า ไม่ควรเปรียบเทียบ เพราะลูกเราไม่เหมือนลูกใคร และลูกใครก็ไม่เหมือนลูกเรา
หลังผ่าคลอดใหม่ๆ คุณแม่อาจจะต้องเผชิญกับเรื่องสารพัดที่ทำให้จิตตก กังวล เจ็บแผล หงุดหงิด แต่ถ้าได้เห็นหน้าลูกน้อยในอ้อมแขนแล้วก็มีกำลังใจล้นเหลือเลยใช่ไหมล่ะ ถ้าไม่อยากเห็นลูกต้องเจ็บป่วยตามคุณแม่ไปล่ะก็ ต้องสร้างเกราะความแข็งแรงของร่างกายเข้าไว้ ทั้งนี้ ทารกที่คลอดโดยวิธีการผ่าตัดจะถูกล้วงผ่านออกมาทางหน้าท้องจึงไม่มีโอกาสที่จะได้รับเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกในช่องคลอดและลำไส้ใหญ่ส่วนล่างของแม่ เพื่อไปกระตุ้นร่างกายให้พัฒนาระบบภูมิต้านทาน ดังนั้น ลูกจึงมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้และหอบหืดได้มากกว่าเด็กที่ตลอดตามธรรมชาติ แต่ไม่เป็นไร เมื่อลูกได้กินนมแม่ตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิตก็จะมีภูมิต้านทานที่ดีและยั่งยืนไปจนโตได้ ซึ่งหากคุณแม่ไม่สามารถให้นมลูกหรือมีน้ำนมไม่เพียงพอ ก็ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อวางแผนโภชนาการเสริมที่ช่วยคืนภูมิต้านทานให้กับลูกต่อไป
การดูแลแผลผ่าคลอด
เมื่อเห็นแผลเย็บจากการผ่าคลอด แปลว่าคุณแม่ได้ทำภารกิจอันยิ่งใหญ่สำเร็จแล้ว งานต่อไปคือการดูแลให้แผลที่เย็บไว้หายเร็วขึ้นโดยการทำความเข้าใจเรื่องของแผลผ่าคลอด และตามคำแนะนำต่อไปนี้
การมีแผลผ่าคลอด
แม้การผ่าคลอดจะช่วยให้แม่ไม่ต้องเจ็บปวดกับการคลอดแบบธรรมชาติ แต่หลังจากการผ่าคลอดทำให้เกิดแผลที่ต้องรักษา และทำให้เกิดความไม่สะดวกสบายในการใช้ชีวิตไปอีกสักพัก ซึ่งแผลผ่าคลอดนี้เองเป็นสิ่งที่แม่ต้องดูแลตัวเองให้ดีเป็นพิเศษ เพราะแผลอาจเกิดการอักเสบ ติดเชื้อ หรือ แผลแยก ทำให้ต้องเย็บใหม่
คุณแม่ส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีแผลเย็บหลังคลอด ไม่ว่าจะเป็นแผลจาก การผ่าตัดคลอด หรือการตัดฝีเย็บหรือรอยฉีกขาดบริเวณช่องคลอด
แผลผ่าคลอดลักษณะเป็นอย่างไร
คุณแม่ส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีแผลเย็บหลังคลอด ไม่ว่าจะเป็นแผลจาก การผ่าตัดคลอด หรือการตัดฝีเย็บหรือรอยฉีกขาดบริเวณช่องคลอด บาดแผลผ่าคลอดจะมีรูปร่างและลักษณะต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยเช่น วิธีและวัสดุที่แพทย์ใช้เย็บแผล โดยทั่วไปการผ่าตัดคลอดที่ผ่านการศัลยกรรมจะทำให้เกิดรอยแผลยาว 4-6 นิ้ว ซึ่งจะเป็นแผลลักษณะแนวนอนตามแนวขอบกางเกงชั้นใน หรือแผลอีกแบบคือแนวตั้งใต้สะดือ ขึ้นอยู่กับตอนผ่าคลอด และผิวชั้นนอกของแผลผ่าคลอดนี้จะเริ่มสมานกันหลังจากสัปดาห์แรกของการผ่าได้ผ่านไป จากนั้นแผลผ่าคลอดจึงปิดจะสนิท และเปลี่ยนลักษณะเป็นสีแดงอมม่วงราว 6 เดือน ก่อนจะจางเป็นสีขาวเรียบไปเรื่อยๆ จนหายดี
แผลผ่าคลอดที่เย็บไว้จะหายดีเมื่อไร?
โดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ แผลที่เย็บไว้จึงจะสมานกัน แต่ก็อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน หรือ 2 – 12 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับลักษณะของการเย็บ สิ่งสำคัญคือ ควรดูแลความสะอาดของแผลเป็นอย่างดี ไม่ให้ติดเชื้อ เพื่อให้แผลสมานเข้าด้วยกันโดยไม่มีปัญหา
เคล็ดลับสำหรับแม่แผลผ่าตัดคลอด
หลังผ่าตัดคลอด คุณแม่จำเป็นต้องได้รับโภชนาการที่เพียงพอ เพื่อให้แผลผ่าคลอดหายเร็วและเตรียมสารอาหารสำหรับสร้างน้ำนมให้ลูก หลายๆท่านมีความกังวลในเรื่องของการดูแลรักษาแผลผ่าตัดคลอด ต้องกินอะไรแผลจึงหายเร็ว ไม่เป็นแผลเป็นนูน และมักมีความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับอาหารบางชนิดว่าอาจแสลงต่อแผลผ่าตัด เช่น ข้าวเหนียว ทำให้แผลเน่า เป็นหนอง หรือไข่ ทำให้แผลนูน ไม่เรียบ และแผลอักเสบหายช้า ซึ่งทางการแพทย์ ไม่มีข้อห้ามในการทานอาหาร 3,4ดังกล่าว
หญิงหลังมีแผลผ่าคลอด ควรได้รับโภชนาการให้ครบทั้ง 5 หมู่ รับประทานไข่ไก่วันละ1 – 2 ฟอง ไข่เป็นแหล่งของโปรตีนชั้นดีที่หาง่าย จะช่วยซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอหลังการผ่าตัด โปรตีนเหล่านี้จำเป็นต่อการสร้างเนื่อเยื่อและผิวหนังใหม่ที่ช่วยให้แผลหาย เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงโดยเร็ว ส่วนข้าวเหนียวนั้นเป็นอาหารจำพวกแป้ง ให้พลังงานและมีคุณค่าทางอาหารสูง
ปัจจัยของแผลผ่าคลอดหายช้า
- ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในครอบครัวที่มีคนเป็นแผลเป็นนูน มีโอกาสเกิดแผลเป็นนูนได้ง่ายกว่า เชื้อชาติจีน พบเกิดแผลเป็นนูนได้สูงกว่า และคนผิวดำพบว่ามีโอกาสเป็นแผลเป็นนูนสูงกว่าคนผิวขาว 5
- ระยะเวลาการหายของแผล ถ้าแผลที่หายช้าเกิน 3 สัปดาห์ขึ้นไป มีโอกาสเกิดแผลเป็นนูนได้สูงขึ้น 5
- การปฏิบัติตัว การเกิดแผลเป็นนูน เกิดจากความไม่สมดุลกันของร่างกายที่สร้างคอลลาเจนออกมาในปริมาณมากเกินไป ในช่วง 3 เดือนแรก ซึ่งมีโอกาสสูงที่แผลจะกลายเป็นแผลเป็นนูนหรือคีลอยด์ การยืดเหยียดจนแผลตึงหรือรู้สึกเจ็บแผลจะทำให้ร่างกายปรับสภาพตัวเองโดยการสร้างเส้นใยคอลลาเจนหนา ๆ เพื่อทำให้แผลแน่นขึ้น พอเส้นใยคอลลาเจนหนาเกินไปจึงกลายเป็นแผลนูนขึ้นมาได้
อาหารสำหรับแม่มีแผลผ่าคลอดควรหลีกเลี่ยง
- สุรา เหล้า เบียร์ แอลกอฮอล์ ไม่ควรรับประทาน เพราะว่าทำให้แผลหายช้าและอาจอักเสบได้
- อาหารสุกๆ ดิบๆ เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- อาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้ในบางกลุ่ม เช่น อาหารทะเล เพราะถ้าแพ้แล้วอาจตามมาด้วยตุ่มผื่นคัน ส่งผลเสียให้กับแผลผ่าตัดด้วย
- อาหารหมักดอง อาหารรสจัด อาจส่งผลกับแผลผ่าตัดได้
แผลผ่าตัดของคุณแม่หลังคลอด เป็นแผลที่สะอาดปราศจากเชื้อ ไม่ต้องเปิดทำแผลทุกวัน จะปิดแผลด้วยวัสดุแบบกันน้ำ ดังนั้นหากไม่มีการซึมของแผลผ่าตัด คุณแม่ไม่ต้องแกะวัสดุปิดแผลออก และระมัดระวัง ไม่ให้แผลเปียกน้ำ โดยเนื้อเยื่อภายนอกจะสมานกันดีภายใน 2-4 สัปดาห์ ซึ่งระยะเวลาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน เมื่อ 1-2 สัปดาห์ มาตรวจหลังคลอด แพทย์จะแกะวัสดุปิดแผลและตรวจดูแผลอีกครั้ง แต่หากมีอาการปวดแผล และแผลอักเสบบวมแดงมาก ให้รีบมาพบแพทย์ก่อนวันนัด
แหล่งอ้างอิงจาก : www.pobpad.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ชายจีนลองคลอดลูก จำลองความเจ็บปวด เสมือนแม่เบ่งคลอด มันแบบนี้เลยพ่อ!
ระยะต่างๆของการคลอดลูก เรื่องที่คุณแม่ต้องรู้ก่อนไปคลอด
เบ่งคลอดลูก หลากท่ายาก วินาทีเบ่งที่แม่ยอมเจ็บจนกว่าจะได้เห็นหน้าลูก!!