10 ของกินต้านความพิการทารกในครรภ์

แม่ท้องทุกคน ล้วนแล้วแต่อยากให้ลูกคลอดออกมาแข็งแรงสมบูรณ์ด้วยกันทั้งนั้น การดูแลตัวเอง ทั้งตอนก่อนตั้งครรภ์ และในระหว่างตั้งครรภ์ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องของอาหารการกิน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ของกินต้านความพิการทารกในครรภ์

อาหารที่มีประโยชน์ที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารต่าง ๆ นั้น มีความสำคัญกับคนท้องอย่างมาก นั่นก็เป็นเพราะอาหารที่ทานเข้าไป นอกจากจะช่วยบำรุงร่างกายคุณแม่ท้องให้แข็งแรงแล้ว อาหารส่วนหนึ่ง ยังถูกส่งต่อไปยังทารกในครรภ์ เพื่อใช้ในการพัฒนา เสริมสร้างร่างกายให้เจริญเติบโตสมบูรณ์ ไปจนกว่าจะครบ 9 เดือน ซึ่งหนึ่งใน ของกินต้านความพิการทารกในครรภ์ นั่นก็คืออาหารที่มีโฟเลตนั่นเอง

อาหารโฟเลต ทำไมจึงสำคัญกับแม่ท้อง

อาหารโฟเลต กรดโฟเลต (Folate acid) คือ กรดโฟลิก (Folic acid) เป็นวิตามินชนิดหนึ่งที่พบในอาหารตามธรรมชาติ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าผู้หญิงก่อนที่จะมีการตั้งครรภ์ ควรเตรียมร่างกายด้วยการทานอาหารที่อุดมไปด้วยโฟลิก หรือโฟเลตเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์

โฟเลต มีความสำคัญกับคนทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้หญิงที่เตรียมตัวจะตั้งครรภ์ หรืออยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ เพราะเป็นสารอาหารที่ช่วยหยุดภาวะความพิการของทารกได้ ทำให้เซลล์ตัวอ่อนเจริญเติบโตเป็นปกติ ลดภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ หรือกระดูกสันหลังไม่ปิดได้ ขณะที่ทารกก็ต้องการเพื่อพัฒนาเซลล์สมอง นอกจากนี้ โฟเลตยังช่วยหลั่งสารซีโรโทนิน ที่ช่วยควบคุมการนอน ความหิว ความอยาก และอาการซึมเศร้าได้อีกด้วย เรามาดูกันว่า แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลตสูงนั้น มีอะไรบ้าง

ของกินต้านความพิการทารกในครรภ์

10 อาหารต้านความพิการทารกในครรภ์

อาหารโฟเลต 10 อย่าง ที่ดีต่อสุขภาพของคนท้อง ต้านความพิการทารกในครรภ์ สามารถหาทานได้ดังนี้

  1. ถั่วเลนทิลต้ม ½ ถ้วย มีปริมาณโฟลิก = 180 ไมโครกรัม
  2. กระเจี๊ยบมอญต้ม ½ ถ้วย มีปริมาณโฟลิก = 134 ไมโครกรัม
  3. หน่อไม้ฝรั่งสุก 6 หน่อ มีปริมาณโฟลิก = 132 ไมโครกรัม
  4. ผักปวยเล้งสุก ½ ถ้วย มีปริมาณโฟลิก = 130 ไมโครกรัม
  5. ถั่วแดง ½ มีปริมาณโฟลิก = 114 ไมโครกรัม
  6. อะโวคาโดสดขนาดกลาง ½ ผล มีปริมาณโฟลิก = 80 ไมโครกรัม
  7. น้ำส้มคั้นสด 1 แก้ว มีปริมาณโฟลิก = 80 ไมโครกรัม
  8. ข้าวโพดนึ่งฝักใหญ่ 1 ฝัก มีปริมาณโฟลิก = 55 ไมโครกรัม
  9. บร็อกโคลี่สุก ½ ถ้วย มีปริมาณโฟลิก = 52 ไมโครกรัม
  10. สัปปะรดศรีราชา 100 กรัม มีปริมาณโฟลิก = 54 ไมโครกรัม

คำแนะนำจากนักวิชาการ

รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ ได้เคยให้คำแนะนำไว้ว่า โฟเลตนอกจากจะอยู่ในผักใบเขียว ยังอยู่ในผลไม้ไทยด้วย ได้แก่

  1. ทุเรียนชะนีไข่ หมอนทอง
  2. กล้วยไข่
  3. ขนุน
  4. มะละกอ
  5. ลิ้นจี่

โดยแม่ท้องสามารถรับประทานผลไม้เหล่านี้สด ๆ ได้ โดยไม่ต้องผ่านความร้อน ทำให้ได้รับปริมาณโฟเลตอย่างเต็มที่ อย่างทุเรียนซึ่งเป็นแหล่งที่มีโฟเลตมากที่สุด สามารถรับประทานเพียง 2 เม็ด ก็จะเท่ากับ ร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวันแล้ว ส่วนกล้วยไข่ รับประทานเพียง 2 ลูกต่อวัน ลิ้นจี่ 8 ผล ขนุน 8 ชิ้น เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม แม่ท้องควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย เช่น ทุเรียน แม้จะมีโฟเลตสูง แต่ถือเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลและให้พลังงานสูงเช่นกัน ดังนั้น แม่ท้องที่มีโรคประจำตัวบางชนิด อาจจะต้องระมัดระวังเรื่องโภชนาการเป็นพิเศษ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การจัดมื้ออาหารให้มีความสมดุลและหลากหลาย จึงเป็นสิ่งสำคัญ ควรทานอาหารให้หลากหลาย แต่ต้องพอดี ไม่ทานอย่างใดอย่างหนึ่งมากไป จนเกินความต้องการของร่างกาย เพราะแทนที่จะมีประโยชน์ ก็อาจกลับกลายเป็นส่งผลเสียได้เช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา manager, eln.theasianparent

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ตัวอย่างตารางอาหารประจำวันของคนท้อง กินบำรุงสมองลูกในครรภ์

ระวังลูกเกิดมาผิดปกติ เพราะแม่ไม่ระวังเรื่องเหล่านี้ตอนท้อง

ลูกในท้องกินอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าทารกในครรภ์กินอิ่ม ไม่ขาดสารอาหาร?

บทความโดย

P.Veerasedtakul