ขวดนมและจุกนมของลูกควรเปลี่ยนตอนไหน รู้ไหมว่า แค่ล้างแล้วใช้ยาวๆไม่พอนะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ขวดนมลูกควรเปลี่ยนตอนไหน ของใช้แต่ละอย่างนั้น ก็ล้วนแล้วแต่มีอายุการใช้งานเสมอ ขวดนมและจุกนมลูกก็เช่นกัน เรามาดูกันว่า ขวดนมและจุกนมของลูกควรเปลี่ยนตอนไหน

 

อายุการใช้งานของขวดนมและจุกนม

  • ขวดนม

อายุการใช้งานของขวดนม จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการดูแลรักษา แต่โดยปกติทั่วไปแล้ว ขวดนมหลังจากที่มีการผลิตออกมาแล้วยังไม่มีการใช้งาน จะมีอายุเสื่อมสภาพอยู่ที่ประมาณ 3-4 ปี

แต่สำหรับขวดนมที่นำมาให้ลูกใช้กินนมแล้ว ถ้าเป็นขวดนมสีขาวใสทั่วไป ก็อาจจะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 5-6 เดือน หรือถ้าเป็นขวดนมสีชา หรือสีน้ำผึ้ง ก็อาจจะใช้ได้นานขึ้นมาหน่อย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับชนิดของขวดนม และสภาพการใช้งานด้วยนะ

ยิ่งถ้าใช้อยู่ขวดแล้วโดนความร้อนจากการทำความสะอาดบ่อย ๆ ก็อาจทำให้ตัวเลขข้าง ๆ ขวดทยอยจางลงไป หรือขวดนมมีการชำรุดเปลี่ยนแปลง เช่น บิดเบี้ยว มีรอยร้าว มีสีขุ่นลง ไม่ใสเหมือนเดิม หรือมีรอยขีดข่วนเป็นจำนวนมาก ถ้าคุณแม่เห็นอย่างนั้น นั่นก็ถึงเวลาเปลี่ยนแล้วแหละ

  • ขวดนมสีขาวใส หรือ ขาวขุ่น ทนความร้อนได้ประมาณ 100 องศา มีอายุการใช้งาน 5-6 เดือน แต่ถ้ามีรอยขีดข่วนควรเปลี่ยนก่อน 6 เดือน
  • ขวดนมสีชา หรือสีน้ำผึ้ง ทนต่อความร้อนได้ประมาณ 180 องศา ซึ่งจะทนกว่าขวดนมสีขาวใส มีอายุการใช้งานประมาณ 1-2 ปี แต่ถ้ามีรอยขีดข่วนที่มากจนเกินไป หรือชำรุด ก็ควรเปลี่ยนก่อน 2 ปี

 

  • จุกนม

จุกนมนั้น ควรที่จะเปลี่ยนตามช่วงวัยของเด็กเอง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วควรจะเปลี่ยนทุก ๆ 2-3 เดือน ขึ้นอยู่กับประเภทสภาพตามการใช้งาน คุณภาพของผลิตภัณฑ์ และการเก็บรักษาทำความสะอาด แต่ถ้าหากจุกนมเริ่มบวมขึ้น เนื้อยางเริ่มนิ่ม หรือจุกนมมีการเปลี่ยนสีไปจากสีเดิม เช่นสีซีดจางลง ก็แสดงว่าจุกนมเริ่มเสื่อมสภาพแล้ว เปลี่ยนใหม่ให้ลูกน้อยได้เลย

  • จุกนมยาง ทนความร้อนได้ 100 องศา มีอายุการใช้งานประมาณ 2-3 เดือน และควรเปลี่ยนทุก ๆ 2-3 เดือน
  • จุกนมซิลิโคน จะมีความยืดหยุ่นดีกว่าจุกนมยางมาก และมีความทนทานกว่า ทนความร้อนได้ประมาณ 120 องศา โดยควรเปลี่ยนทุก ๆ 3-4 เดือน

บทความที่เกี่ยวข้อง : เครื่องนึ่งขวดนม พาคุณแม่ชอปปิงเครื่องนึ่งขวดไอเทมที่คุณแม่ต้องมี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิดีโอจาก : พี่กัลนมแม่ Pekannommae mother and child care

 

สัญญาณเตือนจุกนมเสื่อม

จุกนมนั้น จะมีอายุการใช้งานที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิด และการใช้งานของเรา เหมือนที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นตรวจดูสภาพของจุกนมอยู่สม่ำเสมอ ถ้าจุกนมมีอาการแบบนี้ ก็อาจจะถึงเวลาที่ควรเปลี่ยนได้แล้ว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. น้ำนมไหลออกมาเป็นสาย หรือไหลออกมาไม่สม่ำเสมอ

ปกติแล้ว น้ำนมจะไหลออกมาเป็นหยด ถ้าเมื่อไหร่ที่ไหลออกมาเป็นสายล่ะก็ แสดงว่าจุกนมนั้นได้เสื่อมสภาพ เพราะรูจุกนมนั้นใหญ่เกินไป

2. จุกยางเสื่อม บางลง เสียรูปทรง

เมื่อใช้ไปนาน ๆ หรือผ่านการต้มฆ่าเชื้อโรคบ่อย ๆ ยางจะบางลงและเสียรูปทรงไปได้ ซึ่งวิธีทดสอบคุณภาพจุกยางง่าย ๆ ทำได้โดยการดึงจุกนม ออกมาให้ตรง ๆ แล้วก็ปล่อย ถ้าจุกนมหดกลับสู่สภาพเดิม ก็แสดงว่ายังใช้ได้ แต่ถ้าไม่กลับไปอยู่ในรูปเดิม ก็ควรเปลี่ยนใหม่ได้แล้ว

3. สีซีด จุกนมบวม

คุณพ่อคุณแม่อาจจะสังเกตสีของจุกนมดูก็ได้นะ เมื่อไรที่สีจางลง จุกนมบวม เนื้อยางนิ่ม เวลาที่ลูกดูด จุกนมจะแบนจนน้ำนมไม่ไหล นั่นก็แสดงว่าจุกนมเสื่อมสภาพลงแล้ว

4. จุกนมมียางแตกหรือขาด

ถ้าพบว่าจุกนมมียางแตกหรือขาด ต้องเลิกใช้โดยทันที เพราะอาจจะมีเศษยางหลุดปนเข้าไปในปากของลูกน้อยได้ หากลูกดูดนมแล้วมีเศษยางเข้าไปติดหลอดลม ก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ ป้องกันไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

 

เลือกจุกนมให้ถูก เพื่อสุขภาพลูกรัก เลือกจากอะไร

เด็กแรกเกิดมักยังมีความเคยชินกับการดื่มนมจากเต้า ดังนั้น ควรพิถีพิถันในการเลือกจุกนมที่เหมาะสมกับทารกให้มากที่สุด เพื่อช่วยให้เด็กดื่มนมหรือน้ำได้ดี ไม่มีปัญหา เด็กงอแงไม่ยอมดื่มจากขวด หรือสำลักนมขณะดื่ม และไม่เกิดอาการแพ้หรือมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาด้วย

ปัจจุบันในท้องตลาดมีจุกนมวางขายหลากหลายแบบ ซึ่งสามารถพิจารณาเลือกใช้จุกนมได้จากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้

 

วัสดุที่ใช้ทำจุกนม

  • ซิลิโคน จุกนมที่ทำจากซิลิโคนจะมีเนื้อแน่น และคงรูปเดิมได้นาน
  • ยาง จุกนมยางจะนิ่ม และยืดหยุ่นมากกว่าซิลิโคน แต่อายุการใช้งานสั้นกว่า และเด็กบางคนอาจแพ้ยางจากการใช้จุกนมชนิดนี้ได้

 

รูปร่างของจุกนม

  • จุกนมปลายกลม เป็นจุกนมทั่วไปที่มีปลายจุกกลมมนรูปทรงคล้ายระฆัง
  • จุกนมปลายแบนเรียบ เป็นจุกนมที่มีฐานความกว้าง โดยมีปลายจุกแบนราบให้ความรู้สึกคล้ายดูดนมจากเต้าแม่ เป็นชนิดที่อาจเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนให้เด็กดื่มนมผงหรือนมที่ปั๊มไว้แทนการดื่มนมจากเต้า
  • จุกนมปลายแหลมแบน เป็นชนิดที่ถูกออกแบบมาให้รองรับเพดานปาก เหงือก และลิ้นของเด็ก โดยปลายที่แบนออกจะวางตัวพอดีกับลิ้นขณะเด็กดูดนม

 

ขนาดและการใช้งาน

จุกนมมีหลายขนาดตามการใช้งาน โดยทั่วไปจะมีการระบุไว้ในบรรจุภัณฑ์จุกนมว่าจุกแต่ละขนาดเหมาะกับเด็กอายุเฉลี่ยในวัยไหนที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดยคำแนะนำสำหรับการเลือกใช้ขนาดจุกนมให้เหมาะสมกับลูกน้อย มีดังนี้

  • เด็กแรกเกิดที่อายุน้อยควรดื่มจากจุกนมขนาดเล็กที่สุดซึ่งนมหรือน้ำจะไหลออกมาจากจุกได้ช้าที่สุด
  • เมื่อเด็กเริ่มโตขึ้น ควรเลือกใช้จุกนมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อย และจุกที่ทำให้นมไหลเร็วขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
  • ในบางกรณีที่ เด็กอาจดื่มนมจากจุกนมไม่สะดวกแม้เลือกใช้จุกนมตามวัยที่แนะนำ ซึ่งพ่อแม่ควรเปลี่ยนขนาดจุกนมใหม่ให้พอดีกับเด็ก จนกว่าเด็กจะสามารถใช้จุกนั้นดื่มนมได้อย่างมีประสิทธิภาพพอ
  • สังเกตอาการขณะที่เด็กดื่มจากจุกนม หากเด็กสำลักหรือคายนมออกมาแสดงว่าจุกนั้นทำให้นมไหลออกมาเร็วเกินไป และควรเปลี่ยนไปใช้จุกนมใหม่เช่นกัน

 

 

วิธีการทำความสะอาดจุกนม

เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดกับลูกน้อยของเรา ควรใส่ใจทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้กับลูกน้อยรวมทั้งจุกนม โดยมีวิธีล้างและเก็บรักษาจุกนม ดังนี้

  • หลังจากที่ซื้อจุกนมมาใหม่ ๆ ให้ฆ่าเชื้อจุกนมโดยนำไปต้มทิ้งไว้ในหม้อประมาณ 4-5 นาที จากนั้นล้างจุกนมด้วยสบู่ และน้ำอุ่นแล้วผึ่งทิ้งไว้ให้แห้ง
  • หลังการใช้งานให้ล้างจุกนมด้วยสบู่ และน้ำอุ่นทันที โดยใช้แปรงล้างจุกนมเพื่อให้สามารถทำความสะอาดในบริเวณที่เข้าถึงได้ยาก และต้องระมัดระวังไม่ใช้แปรงนี้ทำความสะอาดผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น
  • หลังล้างจุกนมแล้ว ให้ผึ่งจุกนมจนแห้งสนิทเสียก่อน ที่จะนำไปใช้งานอีกครั้ง
  • หากเป็นจุกนมชนิดที่สามารถล้างในเครื่องล้างจานได้ ให้วางจุกนมไว้ที่ชั้นบนสุดในเครื่องล้างจานจะดีกว่า
  • ห้ามใช้จุกนมที่มีสภาพบุบสลายหรือปลายจุกมีรอยแตก โดยทิ้งจุกนมนั้นทันทีหากพบว่าเป็นดังกล่าว
  • เมื่อต้องนำจุกนมไปใช้งาน ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนหยิบจับจุกนม และขวดนม

 

คำแนะนำอื่น ๆ เกี่ยวกับการเลือกใช้จุกนม

นอกจากจุกนมโดยทั่วไปแล้ว ยังมีจุกนมแบบใช้แล้วทิ้งที่ถูกห่ออยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ฆ่าเชื้อแล้ว โดยสามารถโยนจุกนมทิ้งไปหลังใช้งานแล้วได้ทันทีเลย และไม่ต้องนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งสะดวกต่อการใช้งานแบบเร่งด่วนหรือเมื่อครอบครัวต้องเดินทางไปในที่ไกล ๆ

นอกจากนี้ หากพ่อแม่ผู้ปกครองมีข้อสงสัยหรือพบปัญหาอื่น ๆ เกี่ยวกับการเลือกใช้และการทำความสะอาดจุกนม รวมถึงการป้อนนมผ่านจุกนม ควรไปปรึกษากุมารแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมในการดูแลลูกน้อยต่อไป

 

ฆ่าเชื้อทุกครั้งก่อนใช้

คุณควรทำความสะอาดฆ่าเชื้อกับอุปกรณ์ให้นมลูกทั้งหมดก่อนนำมาใช้ทุกครั้งตลอด 6 เดือนแรก เพราะในช่วงนี้ร่างกายของลูกยังไม่มีภูมิต้านทานที่เพียงพอคุณต้องให้ความสำคัญกับสิ่งนี้ และใส่ใจในเรื่องนี้เป็นสิ่งแรกเพื่อสุขภาพของลูกน้อย

จุกนมเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับทารกแรกเกิดเป็นอย่างมาก พ่อแม่ควรเลือกใช้จุกนมที่เหมาะสม เพื่อให้ลูกรักได้ดื่มนมหรือน้ำจากขวดนมได้อย่างสะดวก รวมถึงควรศึกษาวิธีการทำความสะอาด และเก็บรักษาจุกนมให้อยู่ในสภาพดีพร้อมให้ใช้งาน เพื่อความปลอดภัยในสุขภาพของลูกน้อยเอง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

จุกหลอก ใช้แล้วอันตรายหรือไม่ ข้อดีและข้อเสียที่พ่อแม่ควรรู้

10 อันดับ ขวดนมสำหรับเด็ก ขวดนมแบบไหนเหมาะกับลูกน้อย ขวดนมแบบไหนถึงจะดี

การเลือกขวดนม และจุกนมที่คุณแม่ควรรู้ !! ขวดนมเด็กแรกเกิด เลือกยังไง ?
ที่มา : thaihealth, bibsworld

บทความโดย

P.Veerasedtakul