กินยาไม่ครบ ทำลูกน้อยป่วยเป็นโรคดื้อยา อาจอันตรายถึงชีวิต
ปกติเเล้วการเกิดโรคดื้อยาจะพบน้อยในเด็กเล็กๆ เเต่ทุกวันนี้นั้นหาก กินยาไม่ครบ ทำลูกน้อยป่วยเป็นโรคดื้อยา อาจอันตรายถึงชีวิต
MRSA คืออะไร
ส่วนใหญ่เเล้วคนที่จะเป็นโรคดื้อยา หรือ Methicillin Resistant Staphylococcus Aureus เรียกย่อๆ ว่า MRSA จะต้องเป็นผู้ป่วยเรื้อรังหรือคนที่ต้องนอนในโรงพยาบาลอยู่นานค่ะ โดยเฉพาะผู้ป่วยหนัก ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยแผลกดทับ และผู้ป่วยที่ต้องใช้สายสวนปัสสาวะหรือสายให้น้ำเกลือและยาทางหลอดเลือด
การติดเชื้อ MRSA ในโรงพยาบาลมักจะรุนแรง ปัจจัยที่ทำให้พบการติดเชื้อ MRSA ในโรงพยาบาลมากขึ้น ได้แก่ การที่ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลเป็นเวลานานหลายวัน การใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้างขวาง การเข้ารับการดูแลในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก (ICU) คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ MRSA ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด และผู้ที่เป็นพาหะมีเชื้อ MRSA ในโพรงจมูก โดยการติดเชื้อ MRSA นอกโรงพยาบาลก็เป็นไปได้เช่นกันโดยมาจากการติดเชื้อที่ผิวหนัง
เด็กเล็กๆ ก็เป็นได้เหรอ
มีข่าวที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ MRSA ของเด็กทารกเเรกเกิด ที่เพิ่งเกิดมาได้เพียงเเค่ 36 ชั่วโมงเท่านั้นค่ะ ผิวหนังจะเป็นด่านแรกที่เชื้อโรคชนิดนี้จะเข้าไปสัมผัสถึง เพราะผิวหนังเปรียบเสมือนประตูบานแรกที่จะเปิดรับผู้คนที่มาเยี่ยมเยือน อย่างเช่นเชื้อโรคชนิดนี้ผู้ป่วยอาจจะได้รับโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งอาการเริ่มแรกที่เชื้อนี้ไปทำปฏิกิริยากับผิวหนัง ก็จะทำให้ผิวหนังเป็นแผลผุพอง ลักษณะคล้ายกับฝี
ที่สำคัญเชื้อโรคชนิดนี้ไม่เพียงแต่เกิดที่บริเวณผิวหนังเท่านั้น แต่ยังสามารถไปติดเชื้อกับอวัยวะส่วนอื่นของร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณ จมูก ก้น หรือในเม็ดเลือดขาว เป็นต้น ซึ่งลักษณะอาการแบบนี้จะไม่สามารถตรวจวินิจฉัยได้ในเบื้องต้นว่าติดเชื้อ MRSA หรือไม่ แพทย์จะต้องทำการเจาะเลือดเพื่อไปทดสอบจึงจะสามารถทราบผลได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่มีอาการผิวหนังเป็นแผลหรือเป็นฝีควรจะรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วน
เเต่อย่างไรก็ตามไม่ใช่เคสที่เกิดขึ้นในเด็กเล็กไม่ใช่เคสที่เกิดขึ้นได้บ่อย นอกจากนี้การป้องกันไม่ให้ลูกในวัยทารกเป็นโรค MRSA ก็ช่วยได้มากค่ะ
อาการของโรค
- เจ็บบริเวณต่างๆ เเละผิวบริเวณนั้นมีอาการเเดงปวม เเละ/หรือ มีหน่อง
- มีไข้ไม่สบาย เเละอาจจะท้องเสียร่วมด้วย
- มีการติดเชื้อบริเวณผิวหนังต่อๆ กัน ทั้งที่โรงเรียนจากเด็กไปสู่เด็กคนอื่นๆ หรือที่บ้าน จากผู้ใหญ่สู่ผู้ใหญ่หรือเด็ก ในเวลาไล่เลี่ยกัน
- หากมีเเผล เเละเเผลไม่หายสักที เรื้อรัง เเละเป็นมากขึ้น
ป้องกันโรค MRSA
- ล้างมือให้สะอาด ฟอกสบู่อย่างน้อย 20 วินาที หรือล้างมือด้วยเจลล้างมือก็ได้ค่ะ
- หากมีเเผลหรือเเผลถลอกควรติดพลาสเตอร์จนกว่าจะหาย
- อย่าใช้ของส่วนตัวร่วมกับคนอื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า
- หากเจ็บป่วยควรกินยาตามที่เเพทย์สั่งให้หมด ยกเว้นตัวยาที่เเพทย์บอกว่าไม่จำเป็นต้องกินให้หมดค่ะ
ที่มา WebMD kidshealth ผู้จัดการออนไลน์ เเละ ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อเเละพาหะนำโรค
บทความที่น่าสนใจ
เมื่อลูกเป็นโรคแพ้อาหารทุกอย่าง ฝันร้ายที่ต้องผ่านไปให้ได้เพื่อลูก