กินกรดโฟลิกตอนท้อง แล้วลูกจะคลอดออกมาฉลาดจริงหรือ?

กรดโฟลิกคืออะไร กินกรดโฟลิกตอนท้อง แล้วลูกจะคลอดออกมาฉลาดจริงไหม กรดโฟลิด กับโฟเลต ต่างกันอย่างไร ควรกินโฟเลตหรือกรดโฟลิคแค่ไหนดี กินกรดโฟลิกตอนท้องช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางได้จริงไหม ไปหาคำตอบกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กินกรดโฟลิกตอนท้อง แล้วลูกจะคลอดออกมาฉลาดจริงหรือ ?

คุณผู้หญิงหลายท่านสอบถามกันเข้ามามากว่า กินกรดโฟลิกตอนท้อง แล้วลูกจะคลอดออกมาฉลาดจริงไหม ? ซึ่งก่อนที่จะไปหาคำตอบ เรามาทำความรู้จักกับกรดโฟลิกกันก่อนว่า จริง ๆ แล้ว มันคืออะไร และสำคัญอย่างไรต่อการตั้งครรภ์

กรดโฟลิกคืออะไร

กรดโฟลิก (Folic acid)  คือสารอาหารในกลุ่มวิตามินบี ที่ละลายได้ในน้ำ ซึ่งกรดโฟลิกนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อทั้งคุณแม่ท้องและลูกในครรภ์ โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ก่อนที่จะมีการตั้งครรภ์ แนะนำให้คุณผู้หญิงควรเตรียมความพร้อมของร่างกาย ด้วยการรับประทานกรดโฟลิก เป็นเวลาอย่างน้อย 1-3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์

กรดโฟลิก กับโฟเลต ต่างกันอย่างไร

บางครั้ง เราอาจจะได้ยินคำว่า โฟเลต จนทำให้เกิดความสงสัยว่า กรดโฟลิก และโฟเลต นั้น ต่างกันอย่างไร ซึ่งจริง ๆ แล้ว กรดโฟลิก และโฟเลต ก็คือวิตามินตัวเดียวกัน (วิตามินบี 9) แต่จะแตกต่างกันก็ตรงที่ โฟเลต (Folate) คือ วิตามินบี 9 ซึ่งพบได้ตามธรรมชาติในอาหารทั้งผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ ในขณะที่กรดโฟลิก (Folic acid) เป็นวิตามินที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น และมีโครงสร้างทางเคมีคล้ายคลึงกับโฟเลต (Folate)

แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ากรดโฟลิก (Folic acid) จะเป็นวิตามินสังเคราะห์ แต่ก็มีประโยชน์ และไม่พบว่าทำให้เกิดผลเสียต่อการตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ จึงสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย และเมื่อทั้งโฟเลต และกรดโฟลิคถูกรับประทานเข้าร่างกาย ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นสาร tetrahydrofolate ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในกระบวนการสร้าง DNA และเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายต่อไป

กรดโฟลิก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ควรกินโฟเลตหรือกรดโฟลิคแค่ไหนดี

ในคุณแม่ตั้งครรภ์ทั่วไป แนะนำให้รับประทานโฟเลต หรือกรดโฟลิค ในปริมาณ 0.4 มิลลิกรัมต่อวัน ก่อนการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือน และทานต่อเนื่องตลอดการตั้งครรภ์ แต่ในสตรีตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูงบางรายอาจต้องการในปริมาณที่มากขึ้นถึง 4 มิลลิกรัมต่อวัน

กินกรดโฟลิกตอนท้อง ทำให้ลูกฉลาดจริงไหม?

การรับประทานโฟเลต หรือกรดโฟลิค สามารถช่วยป้องกันการเกิดความพิการแต่กำเนิดบางอย่างได้ เช่น ความผิดปกติในการสร้างหลอดประสาทที่มีผลต่อไขสันหลังและสมอง ปากแหว่ง เพดานปากโหว่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และยังพบว่าช่วยลดการเกิดภาวะทารกโตช้าในครรภ์และโรคออทิสติก (autism) ได้อีกด้วย ซึ่งสตรีตั้งครรภ์ที่ขาดกรดโฟลิก มีความเสี่ยงที่จะพบอุบัติการของทารกที่ไม่มีกะโหลกศีรษะ (Anencephaly) และกระดูกสันหลังปิดไม่สนิท (Open spina bifida) สูงขึ้น ขณะที่แม่ซึ่งรับประทานกรดโฟลิกหรือไม่ขาดสารดังกล่าว จะพบอุบัติการความผิดปกติของทารกต่าง ๆ น้อยมาก

มีคำแนะนำให้คุณผู้หญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ รับประทานกรดโฟลิก หรือโฟเลต เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ดังนั้น กรดโฟลิกคงไม่ได้ทำให้ลูกในครรภ์ฉลาดมากขึ้น เพียงแต่สามารถป้องกันความผิดปกติแต่กำเนิดในทารกได้มากกว่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กินกรดโฟลิกตอนท้อง ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางได้จริงไหม

กรดโฟลิก จะมีผลโดยตรงต่อการผลิตดีเอ็นเอ และเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงใหญ่ (Megaloblastic Anaemia) รวมถึงอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองได้อีกด้วย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เลือดล้างหน้ากับประจำเดือน ต่างกันอย่างไร เลือดล้างหน้ามาช่วงไหน หมายความว่าอะไร

คนท้องต้องตรวจอะไรบ้าง การตรวจโรคของ คนท้องแต่ละไตรมาส ฝากครรภ์ หมอตรวจอะไรบ้าง

อัลตราซาวด์4มิติ ดีอย่างไรแม่ท้องถึงควรดู?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team