กำหนดคลอด เจ็บท้องคลอด มีใครคลอดจริงตรงวันกำหนดคลอดบ้างไหม

ทุก ๆ คนย่อมอยากให้การคลอดนั้น เกิดขึ้นตรงกับวันครบกำหนดคลอด แต่มันไม่ง่ายแบบนั้น เพราะมีปัจจัยอีกมากมาย ที่ทำให้แม่แต่ละคน คลอดเร็ว คลอดช้า หรือคลอดก่อนกำหนด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กำหนดคลอด เจ็บท้องคลอด วันเดียวกันไหม

นาน ๆ จะเจอสักคน กำหนดคลอด เจ็บท้องคลอด เป็นวันเดียวกันตรงเป๊ะ เพราะอะไร ทำไมวันกำหนดคลอดถึงคลาดเคลื่อน มีปัจจัยไหนบ้างที่จะทำให้การตั้งครรภ์เกินกำหนด แล้วสาเหตุไหนที่ทำให้คลอดก่อนกำหนด

 

ปัจจัยที่ทำให้คลอดเร็ว คลอดช้า คลอดก่อนกำหนด

การเจ็บครรภ์คลอดเป็นกระบวนการตามธรรมชาติ มีผู้พยายามอธิบายจากหลายกลไก บ้างเชื่อว่ามีสารบางอย่างหลั่งออกมาจากรกในช่วงใกล้คลอด หากการเจ็บครรภ์เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสม อายุครรภ์ครบกำหนดก็เป็นเรื่องปกติ หากเจ็บครรภ์เกิดขึ้นเร็วขณะอายุครรภ์น้อยก็เป็นเรื่องคลอดก่อนกำหนด หากไม่มีการเจ็บครรภ์จนเลยวันครบกำหนดคลอด ก็เป็นครรภ์เกินกำหนดซึ่งต้องมาเร่งคลอดแทน เรียกว่าทางสายกลางดีที่สุด เจ็บครรภ์เร็วไป ต้องให้ยายุติการเจ็บครรภ์ หากเจ็บครรภ์ช้าไป ต้องให้ยาเร่งคลอดแทน เป็นต้น

 

มีปัจจัยหลายอย่างมากำหนดวันเจ็บครรภ์คลอด ซึ่งโอกาสที่จะคลอดจริงตรงกับวันครบกำหนดคลอดที่คำนวณไว้เพียงร้อยละ 5 เท่านั้น

  1. ครรภ์แรก หรือ ครรภ์หลัง ธรรมชาติของครรภ์แรกจะมีการเจ็บครรภ์ช้า ปากมดลูกแข็ง อยู่สูงและไม่พร้อมสำหรับการคลอด แต่ถ้าครรภ์หลัง ปากมดลูกเคยเปิดผ่านการคลอดมาก่อน ปากมดลูกนิ่ม และอยู่ต่ำ จึงมีแนวโน้มที่จะคลอดง่าย คลอดเร็วกว่า
  2. ครรภ์เดี่ยว หรือครรภ์แฝด หากเป็นครรภ์เดี่ยวมักเจ็บครรภ์เมื่อครบกำหนด ส่วนครรภ์แฝดมีการยืดขยายของผนังมดลูกมากกว่าปกติ มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดสูงขึ้น
  3. ครรภ์แฝดน้ำ หรือ ทารกตัวใหญ่ ส่งเสริมให้มีการเจ็บครรภ์คลอดเร็วขึ้น
  4. น้ำคร่ำเดิน เมื่อน้ำคร่ำรั่วไหลออกมาก่อน ทำให้ปริมาตรน้ำในถุงน้ำคร่ำลดลง ทำให้เยื่อหุ้มทารกเริ่มลอกจากผนังมดลูก ก่อให้เกิดขบวนการเจ็บครรภ์ตามมา
  5. เคยผ่าตัดปากมดลูกมาก่อน จะทำให้ปากมดลูกสั้นลง เป็นเหตุให้คลอดก่อนกำหนดได้
  6. การออกกำลังกาย อย่างเหมาะสมไม่หนักจนเกินไป จะช่วยให้เจ็บครรภ์คลอดง่ายขึ้น เบ่งคลอดง่ายขึ้น

 

วิธีเร่งคลอดแบบธรรมชาติ ทำได้ไหม

วิธีเร่งคลอดแบบธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ไม่อาจเลียนแบบได้ แต่เมื่อครรภ์ใกล้ครบกำหนด สูติแพทย์จะทำการตรวจภายในเพื่อประเมินความพร้อมของปากมดลูก อาจมีการกระตุ้นปากมดลูกโดยใช้นิ้วสอดเข้าไปในรูปากมดลูกแล้วถ่างขยายหรือหมุนโดยรอบเพื่อให้เยื่อหุ้มทารกลอกตัวจากผนังมดลูก เช่น ในกรณีที่อายุครรภ์เกินกำหนด หรืออาจนัดมาเร่งคลอดด้วยยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกชนิดสอดช่องคลอดหรือหยดทางหลอดเลือดดำ การกระตุ้นให้คลอดจึงมีความจำเป็นเฉพาะในบางกรณี ไม่ควรนำมาใช้กับการตั้งครรภ์ปกติทั่วไป

 

ความเสี่ยงกระตุ้นให้คลอดลูก

ในสังคมเมืองที่เวลาเป็นเงินเป็นทอง สภาพการจราจรที่ติดขัดในเมืองใหญ่ๆ ต้องการฤกษ์คลอด หรือความสะดวกสบายของคุณแม่และคุณหมอเอง จึงมีการนัดมากระตุ้นให้คลอดบุตร ซึ่งจำเป็นต้องตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด ด้วยเพิ่มความเสี่ยงบางอย่าง เช่น

  • เสี่ยงต่อมดลูกแตกหากใช้ยาเร่งคลอดในปริมาณสูง
  • เสี่ยงต่อการคลอดยาก
  • เสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด

ในส่วนของทารกก็เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะเสียงหัวใจเต้นผิดปกติ การขาดออกซิเจนขณะอยู่ในครรภ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ควรพิจารณาถึงผลดีและผลเสียของการเร่งคลอดดังกล่าวด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การกระตุ้นปากมดลูก

สำหรับการตั้งครรภ์ปกติทั่วไป แพทย์จะเริ่มพิจารณาตรวจภายในเพื่อกระตุ้นปากมดลูกที่อายุครรภ์ครบกำหนด 40 สัปดาห์ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นครรภ์เกินกำหนด คุณแม่อาจมีความรู้สึกอึดอัด จุกแน่นบริเวณท้องน้อยในขณะที่ทำการกระตุ้นปากมดลูก และอาจมีมูกเลือดออกจากช่องคลอดตามมาได้

หากสัปดาห์ถัดไปยังไม่เจ็บครรภ์คลอด สูติแพทย์จะทำการตรวจภายในกระตุ้นปากมดลูกเช่นนี้ซ้ำทุกสัปดาห์จนกระทั่งคลอดนั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีกระตุ้นการรับรู้และอารมณ์ของลูกในครรภ์ ช่วยลูกคลอดมาแล้วเลี้ยงง่าย อารมณ์ดี มีความสุข

ทางเลือกใหม่ของการเร่งคลอด แม่คลอดเร็วขึ้น เครียดน้อยลง

ผ่าคลอด บล็อคหลัง ดมยาสลบ ภาวะแทรกซ้อน ความเสี่ยงที่แม่ต้องเจอผ่าคลอด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา