ปราบพยศวัยทอง 2 ขวบ ใช้ time out ทำไมไม่ได้ผล? จับลูกเข้ามุม ทำไมลูกยิ่งดื้อ

อยากให้ลูกมีระเบียบ แก้ปัญหาเจ้าตัวเล็ก เล่นไม่เก็บ อาละวาดพังข้าวของ ด้วยการเลี้ยงลูก Time out ดีหรือไม่ ลงโทษลูกอย่างไร ถ้าแม่ไม่อยากตี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การทำโทษโดยการเข้ามุม วิธีลงโทษลูก 2 ขวบ 3 ขวบ เมื่อแม่ลงโทษลูกเข้ามุม ใช้เทคนิค time out แต่กลับไม่ได้ผล ทำไมปราบพยศวัยทอง 2 ขวบไม่ได้

การทำโทษโดยการเข้ามุม เทคนิค time out

แม่กลุ้มสุด ๆ ลูกดื้อไม่ฟังใคร อาละวาดข้าวของกระจาย ใช้การลงโทษแบบเข้ามุม ดีไหม

เมื่อลูกเติบโต เจ้าจอมซนก็อาละวาดขว้างปาข้าวของซะกระจัดกระจาย ไม่ยอมเก็บของเล่น หลาย ๆ ครอบครัว จึงใช้ เทคนิค time out แต่ไม่ได้ผล เจ้าตัวดีกลับแผลงฤทธิ์หนักกว่าเดิม เป็นเพราะอะไรกันแน่ การทำโทษโดยการเข้ามุม คืออะไร

ผศ.(พิเศษ) พญ.ปราณี เมืองน้อย จิตแพทย์เด็ก และวัยรุ่น สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวถึงเทคนิค time out ว่า Time out ไม่ใช่การทำโทษ ควรเรียกว่าเป็นการปรับพฤติกรรม เมื่อเด็กทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พ่อแม่ผู้ใหญ่ห้ามแล้ว เบี่ยงเบนความสนใจแล้ว ก็ยังทำอยู่ ก็อาจใช้การ time out คือ แยกเด็กออกจากสถานการณ์นั้น ๆ ไปสงบสติอารมณ์ เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักจัดการอารมณ์ของตัวเอง

การทำโทษโดยการเข้ามุม เทคนิค time out วิธีลงโทษลูก 2 ขวบ ทำไมไม่ได้ผล? การเลี้ยงลูก Time In Time out ดีหรือไม่ ลงโทษลูกอย่างไร

เมื่อก่อนนี้อาจเคยได้ยินมาว่าระยะเวลา Time out แต่ละครั้งคือเท่ากับอายุเด็ก เช่น

  • 2 ขวบก็ 2 นาที
  • 5 ขวบ ก็ 5 นาที

แต่งานวิจัยจากต่างประเทศล่าสุดพบว่า วิธีนี้อาจไม่ได้ผลเสมอไป เพราะการ time out ไม่ใช่การลงโทษแต่เป็นการปรับพฤติกรรมให้เด็กสงบตัวเอง ดังนั้น หากเด็ก ๆ สามารถจัดการอารมณ์ของตัวเองให้สงบลงได้ก่อนเวลาที่กำหนด ก็ควรจะออกจากการ time out และกล่าวชมลูกที่จัดการอารมณ์ตัวเองได้สำเร็จด้วย

ลงโทษลูกด้วย time out เลี้ยงลูกด้วย time-in

การ time out จะได้ผลดี ก็ต่อเมื่อพ่อแม่มีการ time-in กับลูกอย่างสม่ำเสมอ time-in ในที่นี้ก็คือการใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกับลูกอย่างมีคุณภาพคือ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก ให้แรงเสริมทางบวก กล่าวชมเมื่อลูกทำดี หมั่นสังเกตเห็นสิ่งดี ๆ ที่ลูกทำ ไม่ใช่เห็นแต่สิ่งผิด เอาแต่ตำหนิ และสั่งให้ลูกไป time out เพราะหากเป็นเช่นนี้ ลูกก็จะยิ่งทำแต่พฤติกรรมที่ไม่ดี เพราะทำแล้วพ่อแม่สนใจ ถึงแม้จะเป็นคำตำหนิ แต่ลูกก็จะรู้สึกว่าเรียกร้องความสนใจได้สำเร็จ ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง

การทำโทษโดยการเข้ามุมใช้เทคนิค time out

สำหรับการใช้วิธี time out กับเด็ก อายุ 2-3 ปี ควรเลือกใช้คำสั่งที่สั้นกระชับเข้าใจง่ายเช่น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

“หยุด ไปนั่งพัก ไม่ตีน้อง น้องเจ็บ”

การอธิบายเหตุผลยาว ๆ กับเด็กวัยนี้อาจไม่ได้ผลนัก เมื่อลูกนั่งพักสงบลงในระยะเวลาที่กำหนดได้แล้ว ควรชวนลูกกลับมาทำกิจกรรมต่อไปได้ตามปกติ

สำหรับหนูน้อย 4-5 ปีขึ้นไป นอกจากการใช้ time out ที่อาจทำให้เด็ก ๆ รู้สึกอับอาย และรู้สึกไม่ได้รับการยอมรับ พ่อแม่อาจลองใช้วิธีคุยกับลูกเพื่อให้เขาได้ไตร่ตรองสิ่งที่ทำ เช่น เมื่อลูกผลักน้องล้มลง อาจจะเรียกลูกมาแล้วถามว่า “กฎของการเล่นกันคืออะไร” “มีวิธีอื่นไหมที่ทำได้โดยไม่ต้องผลักน้อง” วิธีนี้จะทำให้เด็ก ๆ ได้ฝึกคิดว่าแทนที่จะทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม เขายังมีทางเลือกอื่น ๆ ที่ดีกว่าที่สามารถทำได้

สิ่งสำคัญต้องให้เด็กรู้เหตุผลในการ Time out

เมื่อครบเวลาควรทบทวนกับเด็กสั้น ๆ ว่าเขาต้องอยู่ใน Time out เพราะเหตุใด เช่น "พ่อให้หนูนั่งสงบตรงนี้เพราะหนูขว้างของ คราวหลังถ้าหนูโกรธก็บอกได้นะไม่ต้องขว้างของ ตอนนี้หนูใจเย็นแล้วไปเล่นต่อได้" แล้วให้เด็กไปมีกิจกรรมอื่น ๆ ตามปกติ ควรหลีกเลี่ยงการสอนที่ยาว หรือการพูดตำหนิติเตียน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การทำโทษโดยการเข้ามุม เทคนิค time out วิธีลงโทษลูก 2 ขวบ ทำไมไม่ได้ผล? การเลี้ยงลูก Time In Time out ดีหรือไม่ ลงโทษลูกอย่างไร

ถ้าลูกไม่ยอมอยู่ใน Time out พ่อแม่ต้องทำอย่างไร

แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. ถ้าเด็กไม่ยอมนั่งสงบ พ่อแม่ควรจับตัวเด็กให้นั่งบนเก้าอี้ที่กำหนดไว้ โดยจับทางข้างหลังเก้าอี้แล้วรวบแขน 2 ข้างของเด็กกอดไว้ เมื่อเด็กเริ่มสงบจึงปล่อยแขนแล้วเริ่มจับเวลา เด็กอาจต่อต้านในระยะแรก แต่ถ้าปฏิบัติอย่างเอาจริงและสม่ำเสมอ เด็กก็จะยอมตามในที่สุด พ่อแม่ควรพูดชมเด็กเมื่อเขายอมนั่ง และสงบลงได้

2. ในบางกรณีเด็กอาจจะแสดงท่าทีว่าไม่เดือดร้อนเมื่อคุณพ่อ คุณแม่ ให้อยู่ใน Time out เช่น อาจแสดงสีหน้ายั่วยวน หรือพูดท้าทายว่าไม่สนใจ นั่นไม่ได้แปลว่าเด็กไม่เดือดร้อนจริง ๆ สิ่งสำคัญ คือ การปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอของ คุณพ่อ คุณแม่ เมื่อเด็กได้รับการ Time out เขาจะเรียนรู้ที่จะสงบอารมณ์ได้ในที่สุด

เทคนิค time-out หรือ การทำโทษโดยการเข้ามุม มีวิธีลงโทษคือ การแยกลูกเข้ามุมเพื่อให้ลูกสงบ ส่วนที่สำหรับลงโทษ time out อาจเป็นมุมของห้องก็ได้ ให้ลูกนั่งนิ่ง ๆ จนกว่าจะ time out หรือหมดเวลา ที่สำคัญ พ่อแม่ต้องสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีด้วยเทคนิก time in เพื่อให้ลูกยอมรับ และเชื่อตามคำสอนของพ่อแม่ การปรับพฤติกรรมด้วยการลงโทษลูกเข้ามุมจึงจะประสบความสำเร็จ

ที่มา : https://www.thaihealth.or.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ดื้อต่อต้าน โรคพฤติกรรม ดื้อต่อต้าน หากลูกเกิน 3 ขวบแล้วยัง เป็นอย่างนี้ ใช่เลย!

เลี้ยงลูก แบบนี้ไง ลูกถึงเป็นโรคพฤติกรรม เกเรก้าวร้าว แม่อย่าเมิน! ไม่ใช่ เรื่องเล็ก

แม่ปวดหัวหนัก ลูก 3 ขวบ งอแง ลูก 2 ขวบ ก้าวร้าว เอาแต่ใจ ปราบยังไงดี ให้อยู่หมัด!

ลูกเลี้ยงยาก แต่ยากยังไงก็จะเลี้ยงให้ดี!!

Time out ลงโทษ แบบสงบแต่สยบ ลูกน้อยอย่างได้ผล

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya