การดูแลทารกแรกเกิด เมื่อกลับบ้าน ในสัปดาห์แรกแม่มือใหม่ต้องเจอกับอะไรบ้าง?

ในความรู้สึกของคุณแม่มือใหม่สด ๆ ร้อน ๆ หลังได้ออกจากโรงพยาบาลเพื่อกลับบ้านไปพร้อมกับทารกแรกเกิดนั้น นอกจากจะทั้งตื่นเต้นและอัศจรรย์ แต่ในเวลาเดียวกันก็ทำให้คุณแม่รู้สึกประหม่าไม่น้อย และมันก็ทำให้เราคิดไปต่าง ๆ นานาว่าฉันจะเลี้ยงลูกได้ดีจริง ๆ เหรอ แล้วถ้าเกิดฉันทำอะไรพลาดไปล่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย่าเพิ่งกังวลไปยกใหญ่ แม้จะรู้สึกว่าการที่ต้องรับผิดชอบต่อมนุษย์ตัวเล็ก ๆ อีกคนหนึ่งนั้น เป็นงานยาก และสำคัญอย่างที่สุด โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ ที่ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นอย่างไร หลังจากไม่มีหมอ และพยาบาลคอยช่วยเหลือ หรือให้คำปรึกษา อีกทั้งยังไม่รู้ว่า จะรับมือกับอาการต่าง ๆ ของลูกน้อยแรกคลอดได้อย่างไร แต่ การดูแลทารกแรกเกิด เมื่อกลับบ้าน วันแรกนั้น อาจไม่เป็นเรื่องใหญ่อย่างที่คิด หากคุณแม่เตรียมตัว เตรียมใจ รับมือกับเรื่องต่างๆ  เอาไว้บ้างแล้ว

สัปดาห์แรกของ การดูแลทารกแรกเกิด เมื่อกลับ อาจไม่เป็นเรื่องใหญ่ หากคุณแม่เตรียมตัว เตรียมใจ รับมือกับเรื่องต่างๆ  เอาไว้บ้างแล้ว

1. กิจวัตรหลักของลูกน้อยวัยแรกคลอด

กิจวัตรหลัก ๆ ของเด็กแรกเกิดก็มีเพียงการนอนหลับ ตื่นมากิน และขับถ่าย เท่านั้น ลูกน้อยวัยทารกจะนอนเยอะมาก ถึงวันละประมาณ 16 – 20 ชั่วโมง ดื่มนมแม่ และขับถ่ายในทุก ๆ 1 หรือ 2 ชั่วโมง เนื่องจากเจ้าตัวเล็กยังมีกระเพาะอาหาร และกระเพาะปัสสาวะที่เล็กอยู่ จึงต้องมีการเติมเข้า และเอาออกบ่อย ๆ

การดูแลลูกน้อยในช่วงสัปดาห์แรกของการกลับบ้าน จึงมีเพียงการให้นม ดูแลเรื่องการขับถ่าย และความสะอาดให้ลูก อย่างเช่น การอาบน้ำ การทำความสะอาดสะดือ เปลี่ยนเสื้อผ้า ในช่วงแรกคลอดนี้ คือช่วงที่คุณแม่จะได้อยู่กับทารกตลอด 24 ชั่วโมง และเป็นช่วงเวลาที่แม่จะได้เรียนรู้ว่า ลูกต้องการอะไร และสิ่งไหนที่แม่สามารถทำได้ เพื่อตอบสนองความต้องการของเจ้าตัวน้อย

2. จัดตารางนัดพบคุณหมอ

ในช่วงแรก หลังจากคลอด คุณแม่และลูกน้อยจะมีนัดกับคุณหมอบ่อยมาก ตามตารางการนัดตรวจสุขภาพทารกกับคุณหมอ อาจจะเป็นช่วง 3 – 5 วันหลังคลอด 2 สัปดาห์ 1  เดือน 2 เดือน 4 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน แต่หากลูกน้อยมีอาการป่วยไข้ ก็อาจต้องไปพบหมอบ่อยกว่านั้น ก็ได้

3. เตรียมตัวต้อนรับแขกบ้าน แขกเรือน

เป็นธรรมดาที่บรรดาญาติสนิท มิตรสหายจะอยากมาเยี่ยมเยียน และให้กำลังใจแม่ และลูกน้อย คุณแม่ที่อ่อนเพลียจากการดูแลลูก และยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่นัก ก็อาจจะต้องเหนื่อยล้าเพิ่มขึ้น จากการต้อนรับญาติ พี่น้อง เพื่อนร่วมงาน ที่ตบเท้า ถือกระเช้า และของขวัญมารับขวัญเจ้าตัวน้อย หากว่าคุณแม่ยังไม่พร้อมให้ใครมาเยี่ยมในช่วงแรก ๆ เพียงแค่บอกอย่างสุภาพว่าคุณ และลูกต้องการพักผ่อนจริง ๆ และอยากให้มาเยี่ยมในวันหลังจะดีกว่า ส่วนใหญ่ทุก ๆ คน ก็พร้อมจะเข้าใจ

อีกสิ่งหนึ่งสำคัญนั่นคือ สุขอนามัย และความสะอาด เวลาที่มีคนมาเยี่ยมเยือน ลูกน้อยยังมีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ และยังไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ ดังนั้น อย่าลืมที่จะขอให้ผู้ที่มาเยี่ยม ล้างมือให้สะอาด และระวังการสัมผัส กอด หรือหอมแก้ม ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เพราะลูกน้อยน่ารัก ใคร ๆ ก็อยากจะสัมผัส

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในช่วงแรกคลอดนี้ คือช่วงที่คุณแม่จะได้อยู่กับทารกตลอด 24 ชั่วโมง และเป็นช่วงเวลาที่แม่จะได้เรียนรู้ว่า ลูกต้องการอะไร และสิ่งไหนที่แม่สามารถทำได้ เพื่อตอบสนองความต้องการของเจ้าตัวน้อย

4. แม่หลังคลอดต้องพักฟื้นร่างกาย

เป็นธรรมดาที่ร่างกายของแม่หลังคลอด จะรู้สึกเหน็ดเหนื่อย อ่อนไหว อึดอัด และไม่สบายตัว อีกทั้งการเป็นแม่คน ยังทำให้คุณแม่รู้สึกว่าตัวเองกลายเป็นอีกคนโดยสิ้นเชิง อาจต้องใช้เวลาปรับตัวเสียหน่อย เมื่อการเลี้ยงลูกเข้าที่เข้าทางมากขึ้น คุณแม่ก็จะกลับมาเป็นตัวเองได้ในที่สุด พยายามทำตัวเองให้สดใส พูดคุย และให้สามี หรือคนใกล้ชิดช่วยเหลือ หากคุณรู้สึกเหนื่อย หรือจิตตกมากไป เพื่อหลีกเลี่ยงจากภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

5. รับมือกับน้ำตาของลูก

ในช่วง 2 – 3 วันแรก แม่อาจจะพบว่าลูกเป็นเด็กเลี้ยงง่าย หลับใส่อย่างเดียว แต่เมื่อผ่านไปได้สัก 2 สัปดาห์ ลูกน้อยแรกเกิดจะเริ่มร้องไห้ประมาณ 2 ชั่วโมงต่อวัน สิ่งที่คุณแม่จะทำ ก็คือหาสาเหตุที่ทำให้ลูกร้องไห้ และหยุดมัน ตอนแรกอาจจะยากไปสักหน่อย คุณแม่อาจรู้สึกท้อแท้ รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้เรื่อง การที่ลูกร้องไห้นั้น เกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ สาเหตุ  หรือบางครั้งอาจจะไม่มีสาเหตุเลยก็ได้ ดังนั้นพยายามอย่าโทษตัวเอง หากคุณไม่สามารถหยุดน้ำตาของลูกได้ทันที หรือใช้เวลานานกว่าจะทำให้เจ้าตัวเล็กสงบลงได้

ไม่นานนัก บรรดาแม่ ๆ ก็จะเดาใจลูก หรือหาเหตุผลที่ทำให้ลูกร้องไห้ได้เก่งมาก ไม่ว่าจะเป็น ผ้าอ้อมแฉะ หิวนม ง่วงนอน หรืออยู่ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมที่วุ่นวาย ลูกก็อาจจะเหนื่อย หรือตื่นเต้นมาเกินไปได้ สิ่งที่แม่ควรทำ คือการปลอบลูก อุ้มเขาขึ้นมากอด ป้อนนม เปลี่ยนผ้าอ้อม หรือพาลูกเข้านอน แม่บางคนกังวลว่า หากเอาใจลูกบ่อย ๆ ลูกจะยิ่งร้องไห้หนัก และถี่เข้าไปอีก แต่เด็กในวัยทารกนี้ ยังไม่รู้จักการเอาแต่ใจ เพราะฉะนั้น ทางที่ดี อย่าปล่อยให้ลูกน้อยไห้นานเกินไปจะดีกว่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หลาย ๆ ครั้งที่คุณแม่อาจรู้สึกท้อแท้ รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้เรื่อง พยายามอย่าโทษตัวเอง อีกไม่นาน คุณแม่จะเข้าใจ และสามารถรับมือกับอาการของลูกได้อย่างแน่นอน

6. ของใช้ที่จำเป็น

ในช่วงก่อนคลอด คุณพ่อ คุณแม่อาจจะตื่นเต้น และเตรียมของใช้สำหรับเด็กอ่อนไว้มากมาย อันที่จริงแล้ว ทารกแรกเกิดยังไม่ต้องการอะไรมาก พวกเขาแค่อยากจะพักผ่อน นอนหลับ เหมือนตอนที่อยู่ในท้องแม่เท่านั้น สิ่งที่จำเป็นสำหรับลูกน้อยวัยแรกเกิดนี้ ก็คือพื้นที่ที่ลูกจะนอนหลับได้อย่างรู้สึกสงบ และปลอดภัย

ของใช้ที่จำเป็นอื่น ๆ ที่จะได้ใช้ในเวลาอันไม่ใกล้ไม่ไกลนี้ เช่น คาร์ซีท เบาะ หรือเสื่อนุ่ม ๆ ของเล่นสำหรับทารก แต่สำหรับในสัปดาห์แรกนั้น ความต้องการของทารก ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนเกินกว่าคุณพ่อคุณแม่จะรับมือได้เลย

7. มีความสุขไปกับลูก

การเลี้ยงลูกในช่วงแรกเกิด อาจจะทำให้คุณแม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย แต่วันเวลาจะผ่านไปอย่างรวดเร็ว และในไม่ช้าเจ้าตัวน้อย ก็จะไม่ใช่เด็กเล็ก ๆ อีกต่อไป ดังนั้น จงมีความสุขกับการเติบโตของลูก เฝ้ามองเวลาลูกหลับ กอดลูกไว้กับตัว จูบลูกบ่อย ๆ หรือทำอะไรก็ตามที่แสดงออกว่าคุณรักพวกเขามากขนาดไหน ทำให้ช่วงเวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่มีค่า และพิเศษ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สัปดาห์แรกของการพาทารกแรกเกิดกลับบ้านบ้าน คุณแม่จะรู้สึกเหนื่อยล้า หัวเสีย จนอยากเปลี่ยนตัวกับใครสักคน ขอให้ลองหาเวลาพักเท่าที่จะทำได้ ในขณะที่ลูกหลับ คุณแม่ก็ควรจะได้งีบ หรือทำอะไรที่ชอบ และมีความสุข เช่น อ่านหนังสือ ดูทีวีรายการโปรด อาบน้ำให้สบายตัว ฯลฯ จะได้มีแรงกลับไปดูแลลูกน้อยได้อย่างเต็มที่

คุณพ่อคุณแม่อาจจะตื่นเต้น และเตรียมของใช้สำหรับเด็กอ่อนไว้มากมาย อันที่จริงแล้ว ทารกแรกเกิดยังไม่ต้องการอะไรมาก พวกเขาแค่อยากจะพักผ่อน นอนหลับ เหมือนตอนที่อยู่ใน ท้องแม่เท่านั้น

source thebestofthemiddle , babycenter

บทความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจ

7 เคล็ดลับดูแลลูกน้อย ช่วยชีวิตแม่มือใหม่ใน 2-3 สัปดาห์แรกให้ง่ายขึ้น

ดูแลลูกน้อยหลังคลอด คู่มือที่จะช่วยให้คุณแม่เอาตัวรอดในสัปดาห์แรก

ขั้นตอนการอาบน้ำทารก ที่คุณแม่ทำเองได้ไม่ยาก อาบน้ำลูก การอาบน้ําทารกวันละกี่ครั้ง อาบน้ําทารกตอนไหนดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R