วิกฤต กล้ามเนื้อหน้าท้องแยก หลังคลอด มันคืออาการอะไร หนักหนาแค่ไหน และจะแก้ไขยังไง มาฟังคุณแม่คนเก่งเล่ากันเลยค่ะ
คุณแม่แชร์ : กู้ร่างพัง จากวิกฤต กล้ามเนื้อหน้าท้องแยก หลังคลอด
สวัสดีค่ะ เราชื่อ ปลา นะคะ ตอนนี้เป็นคุณแม่ลูก 1 ค่ะ คลอดน้องมาได้ 1 ปีแล้ว วันนี้อยากมาแชร์ประสบการณ์ หลังคลอด ปัญหาต่าง ๆ ที่เจอมา เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับคุณแม่ท่านอื่น ๆ นะคะ
ตอนช่วงที่เราท้องน้องอยู่ เราก็กลัวไปสารพัดค่ะ กลัวน้องจะไม่สมบูรณ์ ทุกครั้งที่ไปอัลตราซาวด์ ก็ลุ้นทุกครั้ง ว่าคุณหมอจะพูดว่าอย่างไรบ้าง ตอนดูอัลตราซาวด์ ก็พยายามเล็งว่าน้องมีแขน ขา หัวใจ นิ้ว..ครบมั้ย ช่วงนั้นยอมรับว่านอยด์มากค่ะ เลยตั้งจิตอธิษฐานไว้ว่า ขอให้น้องออกมาสมบูรณ์แข็งแรง อะไรที่ไม่ดี ไม่แข็งแรง หรือ โรคอะไรก็ตาม ให้ย้ายมาอยู่ที่ตัวปลาให้หมด และฟ้าคงได้ยินคำขอของปลาทั้งหมด ย้ำค่ะ ว่าทั้งหมด เพราะน้องคลอดออกมาสมบูรณ์แข็งแรงดั่งใจ แต่ความไม่แข็งแรง ปัญหาต่าง ๆ มาลงอยู่ที่ปลาหมดค่ะ
หลังคลอดก็ตามเสต็ป ค่ะ ปัญหาน้ำหนักเกิน ก็ขึ้นมาเบาๆ 15 กิโลกรัม (นี่คือเบาเหรอ), หน้าท้องลาย แม้ว่าช่วงท้องจะโบก น้ำมัน และ ครีม สารพัด วันละ 4-5 รอบตั้งแต่ท้อง 1 เดือน, แผลผ่าตัดนูน, ระบบการย่อยอาหารที่เรียกได้ว่าพังค่ะ มากันเป็นหมู่คณะ ทั้ง ท้องอืด ท้องผูก (ถึงขั้นว่า ถ่ายเป็นเลือดสดๆ หันไปมองที่ชักโครก นี่ชั้นมีประจำเดือนวันแรกหรือเปล่า ), ผมร่วง, และที่พีคสุดๆคือการเป็น Abdominal Hernia (ไส้เลื่อนหน้าท้อง) และ Abdominal Separation (กล้ามเนื้อหน้าท้องแยกจากกัน)
เรากลับไปพบคุณหมอสูติ เพื่อเช็คแผล คุณหมอบอกว่า แผลสวยงามดี สามารถเริ่มออกกำลังกายเบาๆได้ เช่น โยคะ เราก็เริ่ม search ใน youtube หาคลิปออกกำลังกายง่ายๆ สำหรับคุณแม่หลังคลอด แต่แทบทุกคลิปจะพูดถึง Diastasis Recti หรือ Abdominal Separation (กล้ามเนื้อหน้าท้องแยก) แล้วก็แนะนำวิธีเช็คว่า มีปัญหากล้ามเนื้อหน้าท้องแยกนี้มั้ย เพราะถ้ามี จะต้องระวังในการออกกำลังกาย
กล้ามเนื้อหน้าท้องแยก เช็คยังไง
การที่เราจะเช็คได้ว่า กล้ามเนื้อหน้าท้องแยก รูปซ้ายเป็นหน้าท้องปกติ รูปที่สองคือหน้าท้องที่มีอาการกล้ามเนื้อหน้าท้องแยก
การทดสอบว่าอยู่ในอาการกล้ามหน้าท้องแยก diastasis recti หรือไม่ด้วยตัวเอง
- นอนบนพื้น ตั้งเข่าขึ้น ฝ่าเท้าแตะพื้น
- วางมือข้างหนึ่งใต้ศีรษะ ส่วนมืออีกข้างวางปลายนิ้วมือแนวขวางตัดกับเส้นกลางหน้าท้อง (ช่องระหว่างกล้ามหน้าท้องซีกซ้ายและขวา) บริเวณสะดือ
- ขณะที่ผ่อนคลายหน้าท้อง กดปลายนิ้วมือลงเบาๆ
- ขยับลำตัวส่วนบนขึ้นจากพื้นเหมือนทำท่าซิทอัพ แต่ต้องให้แน่ใจว่ากระดูกซี่โครงม้วนเข้าหากระดูกเชิงกราน
- ขยับปลายนิ้วมือไปมาซ้ายขวา บนและใต้สะดือเพื่อวัดขนาดช่องว่างระหว่างกล้ามหน้าท้อง
1 เดือนหลังคลอด
หลังเช็คพบว่า มีหลุมตรงกลางหน้าท้อง กว้างประมาณ 3-4 นิ้วค่ะ ช็อคดอกที่ 1
2 เดือนหลังคลอด
เรากลับไปหาคุณหมอสูติ บอกคุณหมอสูติว่ามีรอยแยก หลังจากที่คุณหมอตรวจ คุณหมอบอกว่าเป็น abdominal hernia หรือไส้เลื่อนหน้าท้อง ช็อคดอกที่ 2 ในใจคิดมันคือโรคอะไรฟระ คุณหมอก็พยายามอธิบาย เพราะในหัวเราคือไส้เลื่อนมันต้องเป็นแต่ผู้ชายสิ สรุปคือ อาการไส้เลื่อน คือ อาการที่ เป็นคำเรียกรวมๆ สำหรับถุงหรือ ส่วนที่ยื่นออกไปจากช่องท้องในภาวะปกติ มีหลายชนิด เช่น Abdominal Hernia (ไส้เลื่อนหน้าท้อง), Umbilical Hernia (ไส้เลื่อนสะดือ),Groin Hernia (ไส้เลื่อนขาหนีบ) โอเครแล้วเราต้องรักษายังไงต่อคะ คุณหมอบอกว่า ถ้าคิดจะมีลูกคนต่อไป ก็มีให้เสร็จก่อนแล้วค่อยรักษาทีเดียว เดี๋ยวเค้าจะ รีเฟอร์ไปหาหมอศัลยกรรมให้ เดี๋ยวๆๆ ทำไมต้องต้องรีเฟอร์ ก็เพราะมันต้องผ่าตัดและเย็บกล้ามเนื้อที่มันแยกออกจากกัน ช็อคดอกที่ 3 กลับมาบ้านด้วยอาการงงๆ ว่าเมื่อกี้นี้คืออะไร หลังจากนั้นก็พยายามหาข้อมูลซึ่งก็มีไม่มาก เลยตัดสินใจ นัด ศัลยแพทย์ ท่านนึงค่ะ
3 เดือนหลังคลอด
เริ่มต้นของการไปพบคุณหมอ ก็ต้องเจอคุณพยาบาลหน้าห้องที่จะต้อง ซักถามประวัติ และถามว่ามีอาการอะไรมาค่ะ เราก็บอกไปว่า เป็นกล้ามเนื้อหน้าท้องแยกหลังคลอด หนะคะ พยาบาลเงยหน้ามองเหมือนคำพูดเราเป็นภาษามนุษย์ต่างดาว และหันไปคุยกับแก็งพยาบาลคนอื่น ทุกคนหันมามองที่เรา และถามย้ำ เราก้อพูดอีกครั้งว่าเป็น กล้ามเนื้อหน้าท้องแยกหลังคลอด ทุกนางยังคง งง สรุป ก็ถึงเวลาเจอคุณหมอ เราก็เล่าอาการ และ โชว์รอยกล้ามเนื้อแยกให้ดู
จุดพีคจุดแรก คือ คุณพยาบาลผู้ช่วย (คนที่ซักประวัติเราหน้าห้องตรวจและงงกับคำบอกของเราว่ามาพบหมอเพื่ออะไร) เมื่อเห็นรอยแยก ก็มองด้วยหน้าแบบ เฮ้ยยย มันแยกได้ยังไง แถมตบท้ายด้วยว่า พี่ก็มีลูกมา 3 คนแล้ว ก็ไม่เป็นนะ ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ รู้สึกดีขึ้นมากค่ะ
จุดพีคที่สอง คือ คุณหมอบอกว่า ด้วยอายุของเราที่ต่ำกว่า 35 ปีตอนท้องน้อง โอกาสที่จะเป็นอาการนี้มีเพียง 5 % โอเคค่ะ หนูโชคดีมากสินะคะ
รักษายังไง
มาถึงขั้นตอนการรักษา เราถามว่าต้องทำยังไงค่ะ คุณหมอบอกว่า ต้องผ่าตัด เปิดหน้าท้อง แล้วเอาแผ่นหนังเทียมมาปิดหน้าท้อง และเย็บเชื่อมระหว่างหนังเทียมกับหน้าท้องของเราจริงๆ โดยคุณหมอจะทำการผ่าจากรอยผ่าคลอดของเรา เพื่อที่ว่าจะได้เป็นรอยแผลเดิม แต่ขนาดความยาวจะมากกว่าเดิมอาจจะเกือบรอบเอว เพราะรอยแยกมันยาว ช็อคดอกที่ 4 รอบเอว !!!! มันจะยาวไปมั้ยคะ เผื่อว่าเพื่อนๆไม่เห็นภาพ เราขอนำรูปภาพจากบล็อคของ หมอเกมส์ (นายแพทย์ อดุลย์ชัย แสงเสริฐ) ที่เขียนถึงอาการนี้มาให้ดูค่ะ เดี๋ยวจะแปะลิงค์ของคุณหมอไว้ให้ด้วยเผื่อว่าใครอยากทราบรายละเอียดเพิ่มนะคะ แต่เราไม่ได้ไปหาคุณหมอเกมส์นะคะ เดี๋ยวจะเข้าใจผิดกันค่ะ
กลับมาต่อค่ะ คุณหมอบอกต่อว่า นี่เป็นการผ่าตัดใหญ่ ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง และจะต้องพักฟื้นที่ โรงพยาบาล ประมาณ 5 วัน ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น ก็ 1.2 แสนบาท ยังไม่รวมค่าห้องค่ะ และค่าอื่นๆ ช็อคดอกที่ 5 …คุณหมอบอกเหมือนคุณหมอสูติค่ะ ว่าถ้าจะมีน้องต่อ ก็มีให้เสร็จก่อนแล้วค่อยกลับมาหาคุณหมอค่ะ ถ้าคิดจะทำ
วันนั้นหลังจากออกมาจากห้องคุณหมอ เราก็เงียบ นิ่ง เหมือนโลกหยุดหมุน ในหัววนเวียน มันหนึบๆ จึกๆ ไปไม่เป็นหนะคะ หลังจากนั้นเราก็มีวนเวียนถึงเรื่องนี้บ่อยๆ มีแอบร้องไห้ตลอด ตอนที่ถอดเสื้อผ้า ก่อนจะอาบน้ำ แล้วเห็นพุงของตัวเองที่มันยื่นๆ ออกมา
4 เดือนหลังคลอด
บทความที่น่าสนใจ
5 ของจำเป็นหลังคลอด สำหรับคุณแม่ที่ต้องการคืนรูปร่าง และฟื้นฟูร่างกาย
อาการมดลูกหย่อนหลังคลอด ดูแลตัวเองยังไงให้ถูกจุด
ช่วงนี้ น้ำหนักลงมาเท่ากับก่อนท้องแล้วค่ะ เนื่องจากไม่ได้ออกกำลังกายหนักๆ ดังนั้น สิ่งที่ช่วยให้น้ำหนักลงมาหลักๆเลยคือ อาหาร และ การให้นมแม่และปั๊มนม ซึ่งจะทำให้มีการเผาผลาญแคลอรี่ประมาณ 500 แคลอรี่ต่อวันโดยไม่ต้องออกกำลังกาย ปลาพยายามทานอาหารธรรมชาติ แปรรูปน้อยที่สุด ส่วนหนึ่งที่ช่วยให้พยายามกินอาหารธรรมชาติได้คือ เราทานอะไรไป จะไปลงที่ลูกด้วย เช่น มีอยู่วันหนึ่งปลาทานมะละกอ ไปเยอะกว่าที่เคยกิน น่าจะครึ่งลูกได้ ปรากฏว่าพอลูกถ่าย อุจจาระลูกก็จะเป็นกลิ่นมะละกอ เลยค่ะ หรือถ้าวันไหนทานขนม เบเกอรี่ ของหวาน จะมีอาการคัดนม เป็นก้อน ๆ ซึ่งปวดมากค่ะ
แต่สิ่งสำคัญมากคือ ต่อให้กินอาหารคลีน อาหารธรรมชาติ อาหารไม่แปรรูป แต่เราต้องพยายามกินให้น้อยกว่าใช้ค่ะ ไม่ใช่เห็นว่าปั๊มนมแล้ว มีแต้มต่อแล้วจะกินปริมาณเท่าไหร่ก็ได้นะคะ สำหรับเรื่องอาหารนี่มีรายละเอียดเยอะมาก เพราะปลาเองก็ลองหลายแบบทั้ง low carb high fat/atkin/high carb low fat/paleo/blood type diet/No sugar diet/food combination…etc เอาไว้จะมาเขียนเล่าแยกอีกตอนนะคะ
หลังจากที่ไปหาคุณหมอ เวลาว่างๆ ซึ่งก็คือช่วงปั๊มนมรอบดึก เที่ยงคืน ตีสาม ตีสี่ ช่วงเวลาที่ทุกคนในบ้านหลับ ลูกหลับ แต่เรายังต้องตื่นมาปั๊มนม ช่วงเวลานี้ แม่ๆทุกคนคงจะทราบดีว่า youtube, facebook จะเป็นเพื่อนที่ดีของเรามาก ๆ เพราะมันจะอยู่เป็นเพื่อนเราค่ะ แต่ช่วงเวลานั้นเราก็จะหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ถึงการรักษา พุงยื่น ๆ ของเรา แบบที่ยังไม่ต้องผ่าตัด ว่ามีวิธีอะไรบ้างมั้ย เราพยายาม search ภาษาไทย แต่ไม่ค่อยมีข้อมูลค่ะ เลยลอง search เป็นภาษาอังกฤษ แล้วก็ใจชื้นขึ้นมา เพราะมีแม่ๆต่างประเทศมีอาการนี้เยอะมากๆ
ออกกำลังกายช่วยได้
หลังจากหาข้อมูล เราก็ได้ค้นพบ โปรแกรมออนไลน์ สำหรับคุณแม่หลังคลอด ซึ่งโปรแกรมนี้มีทั้งโปรแกรมอาหาร และการออกกำลังกาย ซึ่งสิ่งที่เราสนใจคือ โปรแกรมการออกกำลังกายนี้จะ save สำหรับคุณแม่หลังคลอดที่มี อาการ Diastasis Recti และเค้าเคลมว่า สามารถช่วยให้รอยแยกนั้นแคบลงด้วย โปรแกรมนี้มีชื่อว่า Mutu system หลังจากอ่านรีวิวจากหลายๆที่ เราก็ตัดสินใจ ซื้อคอร์สนี้ค่ะ ช่วงนั้นมีลดราคา เราจำได้ลางๆว่าจ่ายไป ประมาณ 2000 บาทค่ะ ซึ่งเค้าจะให้ username/password มา และเราสามารถ access ที่ลิงค์นี้ได้ตลอดชีวิต เมื่อไหร่ก็ได้ ขอพูดถึงโปรแกรม mutu นี้คร่าว ๆ นะคะ
เหตุผลหลักๆที่เราซื้อโปรแกรมนี้ เพราะเราอยากได้ท่าออกกำลังกายที่จะไม่ทำให้รอยแยกของกล้ามเนื้อหน้าท้อง มันเพิ่มขึ้นค่ะ ซึ่งโปรแกรมนี้ก็ตอบโจทย์เรามากค่ะ ก่อนที่ลูกจะตื่น เราก็ตื่นก่อนมาเปิดคลิป และออกกำลังกายตามโปรแกรมค่ะ ใช้เวลารวมๆก็ประมาณ 30 นาทีค่ะ เราออกวันเว้นวัน สลับกับ interval yoga ของ ครูบุศ (@yogabybud)
ห้ามออกกำลังท่านี้
และจากการที่เราหาข้อมูลใน internet นะคะ สำหรับคนที่มีอาการ Diastasis Recti (Abs Separation) ควรจะเลี่ยงท่าออกกำลังกายพวกนี้ค่ะ
สำหรับเพื่อนๆที่ยังไม่มีทุนทรัพย์ ลองเล่นตามโปรแกรมของ Lindsay Brin ก็ได้ค่ะ มีคลิปการออกกำลังกายฟรีทั้งในส่วน Core & Pelvic Floor Exercise และ Intensive Workout คล้ายๆของ Mutu System เลยค่ะ
จริงๆแล้วโปรแกรมของ Lindsay มีแบบที่ต้องซื้อด้วยนะคะ แต่โปรแกรมฟรีของเค้าก็มีหลายคลิป ซึ่งเล่นวนๆไปก็ได้ค่ะ ตอนนั้นเราก็เริ่มเล่นของ Lindsay ก่อน แล้วมันก็เบื่อๆ เลยลองหาของคนอื่นดูหนะคะ คือจริงๆแล้ว แอบสารภาพว่าเราเป็นคนที่ไม่ค่อยชอบออกกำลังกายเท่าไหร่ การออกกำลังกายทั้ง Mutu หรือ ของ Lindsay นี่ บอกตามตรงว่า ใช้ความพยายามทางใจมากก เพราะไม่ได้สนุกไปกับมันเลย
6 เดือนหลังคลอด
เราย้ายกลับมาที่สิงคโปร์ ช่วงนี้จะเหนื่อยมาก เพราะอยู่ที่นี่ เลี้ยงน้องกันเอง ไม่มีปู่ ย่า ตา ยาย ช่วยแล้ว และมีอยู่วันนึงน้องป่วย เราก็พาไปหาหมอ คือวันที่ไปหาหมอ สภาพเราโทรมมาก แทบไม่ได้นอนเลย เพราะน้องตื่นตลอดทั้งคืน คุณหมอก็ทักว่า รูปร่างเข้าที่แล้วหนิคุณแม่ (คือเราเคยมาหาหมอคนนี้ตั้งแต่ตอนท้องน้อง ช่วงอุ้ยอ้ายมาก) เราก็บอกคุณหมอไปว่า หน้าท้องยังไม่โอเคค่ะ เป็น Diastasis Recti, คุณหมอร้องอ๋อ แล้วบอกว่า เป็นปกติ แม่ๆหลังคลอดเป็นกันเยอะ เดี๋ยวหมอรีเฟอร์ไปให้ Physiotherapist (หมอกายภาพบำบัด) เอ่มม แล้วเค้าจะทำอะไรเหรอค่ะ ต้องผ่าตัดหรือป่าว หมอหัวเราะและก็บอกว่า ไม่ๆ เดี๋ยวหมอกายภาพเค้าจะตรวจดู และจะสอนท่าออกกำลังกาย ทำให้ช่วงหน้าท้องมันแข็งแรงขึ้น ในใจเราตอนนั้นก็คิดว่า ก็น่าจะคล้ายๆกับ โปรแกรมออกกำลังกายของ Mutu เลยไม่ได้ใส่ใจอะไรมาก
เรากลับมาเล่น Gravity Pilates กลุ่มย่อย 3-5 คน เป็นการเล่นพิลาทิสบนเครื่อง ซึ่งในเมืองไทยที่ดังๆจะเป็นเครื่อง Reformer, Gravity จะเป็นเครื่องอีกประเภทนึง ซึ่งเราเล่นประจำตั้งแต่ก่อนท้อง และตอนท้องด้วย เราก็บอกครูว่า เราเป็น diastasis recti นะ ครูก็บอกว่าโอเคร เดี๋ยวครูสอนท่าที่เลี่ยงจะทำให้หน้าท้องมันแยกเพิ่มขึ้นให้นะ
สิ่งหนึ่งที่เราพบหลังจากย้ายกลับมาที่สิงคโปร์คือ อาการของเรา ไม่ใช่โรคประหลาด ไม่ใช่กลุ่มคนส่วนน้อยอีกต่อไป ตรงนี้ทำให้เราแปลกใจเหมือนกันนะ
7 เดือนหลังคลอด
พบคุณหมอกายภาพวันแรก หมอก็ซักประวัติ เราก็โชว์รอยแยกของกล้ามท้องให้ดู ตอนนี้มันแคบลงมาประมาณ 3 นิ้ว เราบอกหมอว่าเราออกกำลังกายโปรแกรม Mutu และเล่นพิลาทิส คลาสกลุ่มเล็ก อาทิตย์ละ 1 ครั้ง (คือว่าคลาสคนน้อย มันก็แพงอะนะคะ เราก็เลย เล่นของ Mutu เองในวันที่ไม่ได้ไปคลาส) หมอบอกว่าอาการเราโอเค รู้ตัวเร็วด้วยว่าเป็น และก็ระวังไม่เล่นท่าที่ทำให้รอยแยกเพิ่มขึ้นด้วย นับว่าดีมาก หมอเลยให้โชว์ท่าที่เราเล่น ซึ่งก็เป็นท่าง่ายๆ แต่หมอบอกว่า
สรุปว่า เราออกกำลังกายบริหาร core & pelvic ตามที่หมอสอน 4 ท่า และต่อด้วย คลิปโยคะ yoga by bud ซึ่งเป็นโยคะแนวเร็ว ไม่ค้างท่านาน ประมาณ 20 นาที ซึ่งถ้าในคลิปมีท่าหน้าท้อง เราก็จะข้ามไปค่ะ เน้นเล่นส่วนอื่น ขา แขน หลัง ไหล่..ขอเล่านิดนึงว่า ปลาเคยลองออกกำลังกายมาหลายรูปแบบ ทั้ง weight training, cardio (วิ่ง ว่ายน้ำ เต้น Zumba), โยคะ แต่ไม่ถูกจริตเลยสักอย่างค่ะ ทำแล้วจะทำได้ไม่นาน รวมถึงการออกกำลังกายของ mutu ด้วย หลังจากลองแล้วพบว่า