กลัวลูกเป็นแผลเป็น วิธีรักษาแผลไม่ให้เป็นแผลเป็น ดูแลแผลลูกไม่ให้นูนแดงเกิดคีลอยด์

ลูกวัยซนชอบเรียนรู้ หกล้มเป็นประจำ แม่เห็นก็หวั่นใจ กลัวลูกเป็นแผลเป็นต้องดูแลอย่างไร

กลัวลูกเป็นแผลเป็น

กลัวลูกเป็นแผลเป็น แม่ต้องรู้วิธีรักษาแผลไม่ให้เป็นแผลเป็น ดูแลแผลลูกไม่ให้นูนแดง เกิดคีลอยด์

 

ถ้าแม่กลัวลูกเป็นแผลเป็น ต้องรู้วิธีรักษาแผลลูกน้อย

ลูกวัยซนย่อมอยากสนุกสนานกับกิจกรรมต่าง ๆ และการเล่นก็คือสิ่งสำคัญ ทำให้ลูกเติบโต แข็งแรง มีพัฒนาการสมวัย แต่พ่อแม่ก็ยังอดห่วงไม่ได้ เมื่อลูกล้ม เป็นแผล เกิดบาดเจ็บขึ้นมาจะทำอย่างไร ร่องรอยที่หลงเหลือจากบาดแผล จะทำให้ลูกเกิดแผลเป็นหรือไม่

 

วิธีรักษาแผลลูกไม่ให้เป็นแผลเป็น

ศาสตราจารย์แพทย์หญิงเสาวนีย์ จำเดิมเผด็จศึก แนะนำว่า เมื่อลูกเป็นแผล ทำให้ผิวหนังปกติถูกทำลายกลายเป็นบาดแผล ส่วนมากมักไม่รุนแรง ไม่เป็นบาดแผลฉกรรจ์ แต่ควรได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง เพื่อให้หายเร็ว ไม่สกปรก ไม่ติดเชื้อโรค หรือเป็นแผลเป็น

  1. การปฐมพยาบาลขั้นแรก พยายามหยุดเลือดถ้าเลือดไหลออกมาก โดยใช้ผ้าสะอาด เช่น ผ้าเช็ดหน้าสะอาดรีดร้อน ๆ ฆ่าเชื้อโรค หรือใช้ผ้าปลอดเชื้อกดตรงแผล หรือใช้สายยางยืดรัดเหนือบาดแผลจนเลือดหยุด
  2. ทำการล้างบาดแผลจนสะอาดประมาณ 5-10 นาที แล้วตรวจบาดแผลจนสะอาดประมาณ 5-10 นาทีแล้วตรงบาดแผลว่าตื้นหรือลึก
  3. ถ้าตื้น ๆ ใช้ยาฆ่าเชื้อโรคทาปล่อยให้แห้ง แล้วปิดปลาสเตอร์ปิดแผลโดยพยายามดึงปากแผลให้ชิดกัน ปลาสเตอร์ส่วนทีสัมผัสแผลควรลอกออกง่าย เปลี่ยนได้ในวันรุ่นขึ้น โดยไม่เจ็บ
  4. ถ้าแผลแยกแต่ตื้นให้ใช้เทปผิวหนังปิดเป็นช่วง ๆ เหมือนเย็บแผล แล้วปิดผ้ากอซปลอดเชื้อทับอีกที จะทำให้แผลติดสนิทหายง่าย

 

กลัวลูกเป็นแผลเป็น วิธีรักษาแผลไม่ให้เป็นแผลเป็น ดูแลแผลลูกไม่ให้นูนแดงเกิดคีลอยด์

บาดแผลแบบไหนต้องรีบมาทำแผลที่โรงพยาบาล

บาดแผลฉกรรจ์ต่าง ๆ แผลบริเวณหน้า ศีรษะ ซึ่งหยุดเลือดยาก หรือแผลลึกจนถึงชั้นไขมัน แผลไฟไหม้พอง แผลถูกตะปูตำลึก แผลที่มีเศษวัสดุ เช่น แก้ว เหล็กฝังใน ควรปรึกษาแพทย์ เพราะจะต้องให้การรักษาเพิ่มเติม เช่น เย็บแผล ให้ยาปฏิชีวนะ ให้ยาป้องกันบาดทะยัก หรือใช้เครื่องมือช่วยเอาเศษวัสดุออก

 

การดูแลแผลประจำวัน คุณหมอแนะนำว่า 

  • ควรเปิดแผลดูทุกวัน เพื่อดูว่าแผลติดดี สกปรก ติดเชื้อหรือไม่
  • ล้างแผลด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำยาฆ่าเชื้ออ่อน ๆ วันละ 1-2 ครั้ง
  • ปลาสเตอร์ที่ใช้ปิดแผลควรเลือกชนิดที่มีความยืดหยุ่นบ้าง อากาศถ่ายเทได้ และบางครั้งต้องเป็นปลาสเตอร์ใส เพื่อให้เห็นแผลได้ง่าย โดยไม่ต้องเปิดดู
  • ถ้าแผลมีหนอง และน้ำเหลือง ควรใช้พลาสเตอร์ปิดแผลที่สามารถดูดซึมเลือด และหนองได้ดี
  • เมื่อแผลเริ่มหายมักจะมีอาการคัน แต่ต้องระวังอย่าให้ลูกเกา เพราะจะทำให้แผลเปิด หรือติดเชื้อใหม่
  • อาจปิดแผลในเวลากลางวัน เพื่อกันเชื้อโรคสกปรกเข้า เวลาลูกไปเล่น แต่เปิดให้ผิวหนังคลายความร้อน และความชื้นแฉะในเวลากลางคืนแผลจะแห้งเร็วขึ้น
  • เด็ก ๆ ที่ห้ามการเกาไม่ได้ อาจทายาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อน ๆ ทาให้สะเก็ดนิ่ม และค่อย ๆ ร่อนหลุด หรือใช้สำลีชุบน้ำต้มสะอาดปลอดเชื้อประคบบริเวณสะเก็ดจนนิ่มออกหลุดได้ หรือปล่อยให้สะเก็ดลอกหลุดเอง

เมื่อดูแลแผลอย่างถูกวิธี ดูแลแผลลูกเป็นประจำ ก็จะลดโอกาสการเป็นแผลเป็นได้ แต่ถ้าลูกเกิดแผลนูนขึ้นมา แล้วคุณแม่กลัวว่า ลูกจะเป็นแผลเป็น ให้พ่อแม่รีบปรึกษาคุณหมอ

 

แผลเป็นนูนแดงหรือคีลอยด์

คีลอยด์ (Keloid) มีลักษณะเป็นแผลเป็นใหญ่ และนูนแดง มักเกิดบริเวณลำตัวแขนขา โดยเฉพาะในเด็กที่ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก การดูแลและรักษาแผลเป็น ควรพูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะมีวิธีดูแลแผล ดังนี้

  • ใช้ผ้ายางยืดพันรัดแผลเป็นส่วนที่นูนตลอดเวลา
  • ฉีดยาสเตอรอยด์เข้าแผล
  • ใช้แสงเอกซ์เรย์จำนวนน้อยมากฉายเพื่อให้แผลเป็นดูดี หายนูน
  • บางกรณีอาจต้องเลาะเอาแผลเป็นออก แล้วเย็บตกแต่งใหม่

ถ้าพ่อแม่กลัวลูกเป็นแผลเป็น ให้รีบปฐมพยาบาล หากแผลใหญ่และเสี่ยงต่อการเกิดแผลเป็นให้ปรึกษาแพทย์เลยค่ะ นอกจากแผลเป็นแล้ว สิ่งที่น่ากังวลคือการติดเชื้อและบาดทะยัก เมื่อลูกเกิดอุบัติเหตุในท้องถนนซึ่งมีดิน โคลนเปื้อนสกปรก ควรฉีดวัคซีนกันบาดทะยักจะดีที่สุด

 

ที่มา : https://www.bangkokhealth.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีปฐมพยาบาลสําลักอาหาร เด็กเล็ก ช่วยลูกยังไงให้รอด คนเป็นพ่อเป็นแม่ไม่รู้ไม่ได้

ประสบการณ์ลูกจมน้ำ วิธีปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำ แบบไหนที่ห้ามทำเด็ดขาด

เด็กติดในรถ ร้องไห้ลั่นเกือบครึ่งชั่วโมง ต้องตามคนมาช่วยงัดรถกันจ้าละหวั่น แม่อย่าคลาดสายตา

ควันบุหรี่ทำให้เด็กป่วย RSV อาการหนักขึ้น ทรุดตัวเร็ว พ่อแม่ต้องระวัง!

 

บทความโดย

Tulya