ชั้นเรียนคลาสแรกของลูกนั้นเริ่มได้ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ สมองของทารกจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในส่วนของสมองซีกขวาที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างจินตนาการ ความคิดฝัน ฯลฯ นั้นจะมีการทำงานเป็นอย่างมากและจะติดตัวออกมา ดังนั้นทารกควรได้รับโอกาสที่จะเคลื่อนไหวร่างกายให้มาก เพราะร่างกายและสมองนั้นทำงานด้วยกัน การเสริมกิจกรรมสำหรับพัฒนาการทางร่างกายนั้นจึงเป็นส่วนช่วย กระตุ้นสมองลูกน้อยให้ฉลาด และเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการเรียนรู้ให้กับทารกได้เป็นอย่างดี
ในช่วง 0-1 ปีของลูกจะมีพัฒนาการที่รวดเร็วมาก การได้เรียนรู้ผ่านจากการเคลื่อนไหวร่างกายตั้งแต่คืบคลาน คลานสี่ขา ไปจนถึงเดิน อย่างอิสระบนพื้นที่ที่ปลอดภัยก็จะกระตุ้นให้สมองนั้นเจริญเติบโตขึ้น ดังนั้นการกระตุ้นให้ลูกได้ใช้ร่างกายเคลื่อนไหวบ่อย ๆ จะส่งผลดีต่อพัฒนาการของสมองในหลายด้านได้ เช่น การมองเห็น, การได้ยิน, ภาษา, การรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส, การเคลื่อนไหว, ความคล่องแคล่วในการใช้ร่างกาย
กระตุ้นสมองลูกน้อยให้ฉลาด สร้างได้ตั้งแต่วัยคลาน
สมองของเด็ก ๆ นั้นต้องมีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง คุณพ่อคุณแม่จึงควรหาโอกาสบ่อย ๆ ที่จะทำให้ลูกได้เคลื่อนไหวร่างกายและคอยกระตุ้นเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ด้วยกิจกรรมที่เหมาะสมตามวัยและไม่ควรไปกดดันหรือบังคับลูกนะคะ เพื่อให้ลูกพร้อมสำหรับพัฒนาในระยะต่อไป
เมื่อลูกน้อยนั้นรู้จักเงยคอ พลิกคว่ำพลิกหงาย และเริ่มที่จะคืบคลานได้นั้น เราควรที่จะช่วยกระตุ้นสมองลูกโดย >>
เมื่อลูกน้อยนั้นรู้จักเงยคอ พลิกคว่ำพลิกหงาย และเริ่มที่จะคืบคลานได้นั้น
- ควรสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับการคืบคลานให้ปลอดภัย
- เช็กปลั๊กไฟทุกอันว่าถูกปิดแล้ว เคลื่อนย้ายสายไฟ โคมไฟ หรืออุปกรณ์อื่นที่คิดว่าทารกสามารถหยิบจับและดึงมันให้ล้มใส่ตัวเองได้
- ดูให้แน่ใจว่าเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ นั้นมั่งคงแข็งแรง และไม่มีปลายที่คมหรือมุมที่แหลม ไม่มีเสี้ยนอยู่ที่เฟอร์นิเจอร์หรือบนพื้น
- เก็บของที่คิดว่าเจ้าหนูจะสามารถเอาใส่ปาก และเก็บสารพิษ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นพิษต่าง ๆให้พ้นจากมือของลูก
- กระตุ้นลูกโดยวางของเล่นหรือของที่ปลอดภัยไว้บนพื้น ในระยะที่ทารกจะสามารถคลานเพื่อมาหยิบของชิ้นนั้นได้ และปล่อยให้ลูกได้เล่นสนุกกับของเล่น เพราะการหยิบเอาของไปในทันทีจะทำให้ลูกหัวเสียและเสียกำลังใจ
- คอยให้กำลังใจและสนับสนุนให้ลูกน้อยได้คืบคลาน ลูกจะรู้สึกสนใจที่พ่อแม่ให้ความสนใจ และแสดงความรักด้วยการโอบกอดเขาทุกครั้งเมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกนั้นคืบคลานมาหา
หลังจากที่คืบคลานมาหลายครั้ง ทารกจะเริ่มยันตัวเองขึ้นจากพื้นด้วยมือและเข่าเพื่อเริ่มที่จะคลาน 4 ขาเป็นการเข้าสู่ระยะพัฒนาของสมองส่วนกลางแล้ว กระตุ้นสมองทารกด้วยการ
- เล่นกับลูกบนพื้น 20 หรือ 30 นาทีต่อวันและกระตุ้นเพื่อให้ลูกคลาน
- คลานสีขาไปพร้อมลูกและให้กำลังใจ
- เล่นเกมที่ทำให้ลูกต้องคอยคลานตามคุณพ่อคุณแม่
- ใช้สิ่งของล่อใจลูกและให้รางวัลด้วยความรัก
และหลังจากที่คลานสี่ขามานาน ลูกจะพยายามให้ตัวเองลุกขึ้นโดยยึดจับเฟอร์นิเจอร์และจะค่อย ๆ เดินไปจากความยาวเท่าที่เขาจะหาที่ยึดได้ หรือที่เรียกว่าการ “เกาะเดิน” ยิ่งลูกได้คืบคลานมากเท่าไหร่ก็จะมีพัฒนาการทางสมองมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นระยะนี้คุณพ่อคุณแม่จึงควรปล่อยให้ลูกพยายามได้ช่วยตัวเองให้มากเข้าไว้นะคะ
พอเริ่มที่จะเกาะเดินเองได้ ลูกก็จะเริ่มขยับไปจับเฟอร์นิเจอร์ที่อยู่ต่อถัดไป และเริ่มต้นเดินก้าวแรกอย่างอิสระ พัฒนาการสมองในช่วงนี้ของลูกเริ่มที่จะรู้จักตัดสินใจ ถ้าพ่อแม่ได้ให้โอกาสอย่างมากมายในการกระตุ้นพัฒนาการเคลื่อนไหวตั้งแต่ทารก เป็นไปได้ว่าการก้าวเดินของลูกน้อยนั้นสามารถเริ่มต้นได้ในตอนอายุ 6 เดือน ซึ่งสามารถเรียกได้ว่าความฉลาดในทางกายภาพของลูกนั้นอยู่ระดับอัจฉริยะเลยทีเดียว
ดังนั้นการเคลื่อนไหวของร่างกายในแต่ละช่วงนั้นของลูกนั้น จะเป็นส่วนช่วยกระตุ้นสมองและแสดงถึงพัฒนาการของสมองที่จะประสบความสำเร็จในขั้นต่อไปของอนาคตได้.
ที่มา :
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
13 วิธีการเลี้ยงดูลูกให้สมองทำงานดีแบบที่พ่อแม่สร้างได้
เคล็ดลับเสริมสร้างพลังสมองลูกให้ฉลาด