คนท้องจุกแน่นลิ้นปี่ ปวดแสบปวดร้อนกลางอก จะเป็นอันตรายไหม?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คนท้องจุกแน่นลิ้นปี่ จุกลิ้นปี่ ปวดแสบปวดร้อน เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้เสมอในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้น ทำให้คนท้องเกิดอาการดังกล่าว  วิธีลดอาการจุกเสียด แน่นท้องต้องทำอย่างไร มาดูกันค่ะ

 

คนท้องจุกแน่นลิ้นปี่ จุกลิ้นปี่ ปวดแสบร้อนกลางอก เกิดจากอะไร ?

อาการโดยปกติของโรคกระเพาะของคนท้องกับคนทั่วไปจะคล้ายกัน คือ จะปวดบริเวณยอดอกหรือลิ้นปี่ จุก เสียด แน่น ปวดแสบปวดร้อนในท้อง และอาจปวดท้องมากเวลาที่หิว พอรับประทานอาหารนานไปอาจจะทำให้อาการจะดีขึ้น แต่บางคนจะรู้สึกปวดมากขึ้นหลังอาหาร หรือกินอาหารที่รสจัดเกินไป แบ่งได้ 2 ลักษณะคือ

 

1. ปวดท้องใต้ลิ้นปี่ จุกลิ้นปี่ แสบร้อนลงไปถึงลิ้นปี่

อาการนี้สำหรับคนท้องจะรู้สึกจุก ๆ ร้อน ๆ บริเวณท้องช่วงบนขึ้นไปถึงลิ้นปี่ ทำให้เรอเหม็นเปรี้ยว ขมลิ้น ถ้าอาเจียนออกมาจะมีแค่น้ำย่อยขม ๆ หรือถ้าอาเจียนออกมามากหน่อยจะเกิดความเปรี้ยวในลำคอ รู้เจ็บปวดภายในอกและกระจายถึงคออีก อาการนี้จะนำไปสู่อาการเจ็บคอเรื้อรังได้ บางคนรู้สึกปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ร้าวไปที่หลัง หรือจากลิ้นปี่ยาวลงมาเหนือสะดือ

 

2. จุกลิ้นปี่ กรดไหลย้อน

อาการนี้คนท้องจะเป็นบ่อยมาก หลายคนคิดว่าเป็นกระเพาะอาหารอักเสบ คือปวดแสบร้อนหรือจุกบริเวณลิ้นปี่และหน้าอก อาหารไม่ย่อย เรอบ่อย ๆ  มีน้ำรสเปรี้ยวหรือขมในคอ หรือเจ็บคอ ระคายเคืองคอตลอดเวลา คลื่นไส้หลังรับประทานอาหาร แต่ไม่จุกหรือมีความรู้สึกเสียวขึ้นลิ้นปี่ ซึ่งความแตกต่างของโรคกระเพาะกับโรคกรดไหลย้อน คือ หากเป็นโรคกระเพาะมักจะปวดบริเวณลิ้นปี่ แต่ถ้าเป็นกรดไหลย้อน มักจะแสบแถว ๆ หน้าอก คอ บางทีจุกที่คอหอยเหมือนจะอาเจียนออกมาเท่านั้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : “ยาธาตุน้ำขาว” ยานี้คนท้องกินได้ไหม เกิดอาการจุกเสียด กรดไหลย้อน

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุของอาการแสบร้อนกลางอกเกิดจากอะไร

คนท้องที่มีอาการเหล่านี้ สาเหตุของการจุกเสียด แสบร้อนก็มาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ที่ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของคุณแม่เกิดการคลายตัว ซึ่งอาจส่งผลถึงกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารไปด้วย ดังนั้นจึงอาจทำให้น้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร เกิดการระคายเคืองหลอดอาหาร ส่งผลให้แม่ท้องมีอาการแสบร้อนที่ลิ้นปี่ จุกแน่น แสบร้อน นอกจากนี้ยังมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย อิ่มเร็ว เรอบ่อย จนบางครั้งก็คลื่นไส้อยากจะอาเจียน โดยเฉพาะในช่วง 6-12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ และช่วงใกล้คลอด

 

วิธีรักษาอาการแสบร้อนของคนท้อง

อาการจุกแน่น ช่วงกลางอก และแสบร้อนหรืออาการทั่วไปของคนปกติคืออาการกรดไหลย้อน แต่สำหรับคนท้องจุกแน่นลิ้นปี่นั่นมาจากฮอร์โมน ซึ่งต้องอาศัยการดูสุขภาพเข้าช่วย เพื่อบรรเทาอาการเหล่านี้ เช่น

 

1. กินอาหารจานเล็กแต่บ่อยครั้ง

การรับประทานอาหารทีละน้อยแต่บ่อยครั้งนั้นดีตรงที่ กระเพาะของคนเรานั้นช่วยย่อยอาหารได้มากขึ้น และค่อย ๆ ย่อยอย่างมีระบบ ไม่จุกเสียด ไม่อึดอัด คุณแม่จะรู้สึกสบายท้อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. เลี่ยงอาหารรสจัด

อาหารรสจัดไม่ใช่แค่รสเผ็ดเท่านั้น แต่รวมไปถึงความจัดจ้านของรสอื่น ๆ เช่น หวานจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด อาหารรสชาติเข้มข้นจัดจ้านผ่านการปรุงแต่งเมื่อรับประทานเข้าไปมาก ๆ จะเกิดแก๊สในกระเพาะและเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

 

3. กินอาหารตรงเวลา

คุณแม่ท้องบางคนอาจไม่ชินกับการรับประทานอาหารตรงเวลา เช่น อาหารเช้า บางคนคุ้นชินกับการดื่มแค่กาแฟ ดังนั้นควรปรับร่างกายตัวเองใหม่ เช่น เช้า ๆ อาจจะรับประทานอาหารย่อยง่าย กับผลไม้สด และนม ถึงไม่มีอาการแทรกซ้อนใด ๆ การกินข้าวตรงเวลานั้นจะช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารเป็นอย่างดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. เคี้ยวอาหารให้ละเอียด

การเคี้ยวอาหารให้ละเอียดคือการย่อยอาหารเบื้องต้นก่อนลงไปลำไส้เล็ก กระเพาะ และลำไส้ใหญ่ อย่าเคี้ยวไปดื่มน้ำไปเพราะจะเกิดแก๊สระหว่างการเคี้ยวได้ จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเคี้ยวละเอียดหรือไม่ เคยมีการวิจัยบอกไว้ว่าสำหรับการเคี้ยวอาหารเพื่อสุขภาพ เราควรเคี้ยวให้ได้คำละ 30 ครั้ง ถ้าเป็นอาหารอ่อนหรือย่อยง่ายก็อาจจะน้อยกว่านั้นค่ะ

 

5. ไม่ควรกินจนอิ่มเกินไป

คุณแม่บางท่านเสียดายอาหาร เมื่อจานอาหารตรงหน้ามีปริมาณมาก ด้วยความที่ไม่อยากรับประทานเหลือ จึงพยายามกินจนหมดแม้จะอิ่มแล้วก็ตาม ซึ่งจริง ๆ แล้ว คุณแม่ลองแบ่งใส่กล่องสักครึ่งหนึ่ง แล้วค่อยนำมารับประทานอีกมื้อ

 

6. อย่านอนหลังอาหาร

คำว่า “อย่ากินแล้วนอน” ยังใช้ได้ดีค่ะ เพราะการกินปุ๊บ นอนปั๊บ อาจทำให้เกิดอาการจุกเสียด อาจจะทำให้อาเจียนได้ คุณแม่ควรเดินสั้น ๆ หรือลุกขึ้นสักหน่อย อาจจะเดินไปล้างจาน ออกไปเดินเล่นหน้าบ้าน ก็จะช่วยให้อาหารลงสู่กระเพาะ ช่วยย่อยอีกทางหนึ่ง ยิ่งมื้อค่ำ ควรนอนหลังอาหารสัก 3 ชั่วโมงเป็นต้นไป

 

7. งดกาแฟ ช็อกโกแลต

จริง ๆ แล้วคุณแม่สามารถดื่มกาแฟ และกิน ช็อกโกแลต ได้ค่ะ แต่ถ้าอยู่ในภาวการณ์บำบัดอาการจุกเสียดแน่นท้อง อาจจะงดอาหารพวกนี้ไปก่อน รวมถึงของหมักดอง น้ำอัดลม คุณแม่ควรรับประทานผลไม้เป็นอาหารเสริมยามหิวมากกว่า พยายามจัดผลไม้ใส่ตู้เย็นไว้หรืออาจแบ่งเป็นมื้อๆ ก็ได้ค่ะ

 

8. งดอาหารไขมันสูง

เนื่องจากตอนท้อง คุณแม่จะไม่สามารถออกกำลังกายหนัก ๆ ได้ ดังนั้น ควรงดอาหารไขมันสูง เช่น เบคอน ไส้กรอก กะทิ อาหารทอด ขนมขบเคี้ยวไขมันสูง เพราะไขมันจะช่วยยับยั้งการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร และวิตามินบางชนิดอาจถูกไขมันทำลายไม่สามารถซึมสู่ร่างกายให้คุณแม่นำไปใช้ประโยชน์ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

9. ใส่ใจเรื่องการดื่มน้ำ

ดื่มน้ำ 2 แก้วก่อนถึงเวลารับประทานอาหาร เพื่อช่วยในการย่อย และคุณแม่ต้องระวังการดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ หลังอาหารทันที ควรดื่มน้ำให้พอเพียงระหว่างมื้ออาหารแทน อย่าคิดว่า การดื่มน้ำเยอะคือการดื่มปริมาณมาก ๆ ทีเดียว นั่นจะทำให้ร่างกายเกิดอาการจุกเสียด แน่นหน้าอกได้เช่นกันค่ะ

 

10. นอนหนุนหมอนสูง

การให้คุณแม่นอนหนุนหมอนสูง ไม่ได้หมายความว่าต้องใช้หมอน 2 ใบ แต่ให้ศีรษะสูงกว่าระดับคางและคอ พยายามหลีกเลี่ยงการนอนราบ นอนแผ่หงาย เพราะกรดในกระเพาะอาจไหลย้อนขึ้นมาสู่ทางเดินอาหารขึ้นไปตรงลิ้นปี่ จนเกิดการแสบอกและอาเจียนได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง :  ผลไม้ที่คนท้องควรกิน ผลไม้บำรุงครรภ์ มีอะไรบ้าง ผลไม้อะไรดีต่อลูก

 

กล้วยลดอาการแสบร้อนกลางอกได้

หากคุณแม่รู้สึกปวดแสบร้อนสามารถทานอาหารที่มีฤทธิ์ในการบรรเทาจากโรคกระเพาะ เช่น กล้วย โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้า เวลาที่รู้สึกว่าท้องว่างก็สามารถทานได้ทันที หรือจะกินน้ำว่านหางจระเข้ ขมิ้นชัน เป็นต้น แต่ไม่ควรทานมากเกินไปนะคะ

 

คนท้องกินยาลดกรดในกระเพาะได้ไหม

ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร (Antacids) คนท้องไม่ควรกินในปริมาณมาก เนื่องจากในยาลดกรดชนิดที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (Magnesium hydroxide) จำนวนมาก กินติดต่อกันเป็นประจำ อาจทำให้คุณแม่ท้องเสีย และอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เวลาที่ลูกคลอดออกมาก็จะมีปริมาณแคลเซียมและแมกนีเซียมในเลือดสูงมากเกินไป และอาจทำให้ลูกน้อยเกิดอาการชักกระตุกได้

หากคุณแม่ มีอาการของโรคกระเพาะอาหารเรื้อรังมาก่อนที่จะตั้งครรภ์ ควรปรึกษาคุณหมออย่างสม่ำเสมอ และหลังคลอดควรเข้ารับการตรวจรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม และถ้ารู้สึกว่าอาการปวดท้องหนักขึ้น มีไข้ ตัวเหลือง ถ่ายเหลว ให้รีบไปหาคุณหมอนะคะ เพราะคุณแม่อาจจะเกิดโรคอื่นร่วมด้วย เช่น ลำไส้อักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอักเสบ เป็นต้น

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

แพ้ท้อง อยากกินดิน อยากกินงู เหม็นผัว อาการคนท้องไตรมาสแรก แม่ท้องจะกินสามีห้ามขัด

คนท้องห้ามกินอะไรบ้าง คนท้องไม่ควรกินอะไร ของแสลงคนท้อง แบบไหนต้องเลิกกิน

คนท้องกินชาเย็นได้ไหม แล้วชาเขียวกินได้หรือเปล่า ลูกในท้องจะเป็นอันตรายไหม

 

ที่มาข้อมูล : phyathai pobpad bangkokhospital

บทความโดย

Khunsiri