เมื่อลูกทะเลาะกับเพื่อน พ่อแม่ต้องทำอย่างไร
เวลาที่เด็กทะเลาะกัน ถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่อาจนำไปสู่ความรุนแรงได้ เนื่องจากเด็กมักจะข่มขู่ฝ่ายตรงข้ามให้กลัว ซึ่งกาารข่มขู่นี้ เป็นการกระทำซ้ำๆ ที่ตั้งใจทำร้ายผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีอำนาจมากกว่า ซึ่งจะทำให้เด็กกลุ่มนี้ทำผิดมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นด้วยเช่นกัน ถ้าพ่อแม่คนไหนที่เห็นว่าลูกๆ ของเรากำลังทะเลาะกับเด็กคนอื่นที่สนามเด็กเล่น บ้านบอล หรือบริเวณเครื่องเล่นอื่นๆ ต้องรีบเข้าไปห้ามทันที อย่างให้เด็กทะเลาะกันเป็นอันเด็ดขาด และต้องเข้าไปปกป้องลูกน้อยด้วย เมื่อลูกทะเลาะกับเพื่อน พ่อแม่ต้องมีวิธีจัดการ เพื่อให้เขาเติบโตไปเป้นเด้กที่ดี
อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาที่เด็กๆ ทะเลาะกันนี้ พวกเขาจะได้สร้างทักษะทางสังคมขึ้นด้วย แต่ที่แน่ๆ คือ พ่อแม่ควรบอกลูกถึงการปฎิบัติตัวที่เหมาะสม รู้จักการพูดคุยกันดีๆ และรู้จักขอโทษถ้ารู้ว่าตัวเองทำผิด รวมถึงต้องรู้จักให้อภัยกับอีกฝ่ายด้วย
เมื่อความขัดแย้งของเด็กกำลังเริ่มต้นขึ้น คนเป็นพ่อเป็นแม่ควรคอยสังเกตดูลูกๆ ในช่วงแรกก่อน ดูว่าเด็กๆ จะจัดการสถานการณ์นั้นได้อย่างไร พ่อแม่ไม่ต้องกังวลว่าลูกของฉันเด็กกว่า เด็กคนนั้นโตกว่าจะทำร้ายลูกหรือไม่ เพราะเด็กๆ จะเรียนรู้ทักษะทางสังคมเกี่ยวกับวิธีการตอบโต้และแก้ปัญหาจากประสบการณ์ที่ผ่านมาเอง
หากมองดูแล้วสถานการณ์เลวร้ายขึ้น ก็ถึงเวลาที่พ่อแม่เข้าไปช่วยเหลือได้ จากนั้นก็เข้าไปพูดคุยถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อธิบายให้เด็กเข้าใจ แล้วถามเด็กๆ ว่าจะแก้ปัญหาความขัดแย้งนี้ได้อย่างไร โดยพ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องบอกให้ลูกโต้แย้งแบบผู้ใหญ่ เสนอแนวทางต่างๆ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ทั้งนี้ พ่อแม่ต้องมีความคิดในการแก้ปัญหาแบบประนีประนอมด้วย อย่าใช้อารมณ์เพราะจะทำให้เด็กเกิดการจดจำและลอกเรียนแบบได้
พ่อแม่คนไทย เมื่อเห็นว่าลูกกำลังทะเลาะกับเด็กคนอื่นอยู่ แล้วพยายามบอกลูกว่าลูกไม่สามารถแก้ปสถาณการณืตรงหน้าได้ หรือไม่เปิดโอกาสให้เขาได้ลองแก้ไขปัญหา พฤติกรรมแบบนี้ อาจทำลายความสามารถในการแก้ปัญหาของลูกน้อยได้
วิธีการเข้าไปหยุดการทะเลาะกันของเด็ก
- พ่อแม่ค่อยเข้าไปเมื่อเห็นว่ามีเด็กคนใดคนหนึ่งกำลังตกอยู่ในสถาณการณ์อันตราย ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย หรือจากการกลั่นแกล้ง ถ้าไม่ร้ายแรงมากลองปล่อยให้พวกเขาจัดการปัญหาเอง
- เมื่อเด็กพูดคุยแล้วสถานการณ์มันบานปลายขึ้นเรื่อยๆ พ่อแม่ต้องเข้าไปช่วยเสนอแนวทางแก้ปัญหา
- ให้เด็กๆ แต่ละคนลองเล่าเหุการณ์ที่เกิดขึ้น และลองจำลองสถานการณ์นั้นให้ดูอีกครั้ง
- ช่วยพวกเขาหาทางออกของการทะเลาะกันครั้งนี้ เช่น พ่อแม่สามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อให้เด็กเลิกทะเลาะกัน และทำให้เด็กรู้สึกดีขึ้น
- พยายามจัดการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยฟังความคิดเห็นจากเด็กๆ อย่างใช้ความคิดของคุณในการตัดสินพวกเขา
- เมื่อปัญหาทุกอย่างยุติลงได้ ก็ปล่อยให้พวกเขาได้เล่นด้วยกันอีกครั้ง
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง ที่พบว่า การพูดคุยเจรจาแบบประนีประนอม ไม่ได้เป็นวิธีในการแก้ปัญหาจนกว่าเด็กจะมีอายุ 19 ปี นั่นหมายความว่า เด็กเล็กๆ จะไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้ได้ แต่วิธีที่ดีที่สุกสำหรับพ่อแม่ คือ การไกล่เกลี่ยซ้าๆ พูดคุยต่อรอง เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกดี
การทะเลาะเบาะแว้งกันในวัยเด็ก เป็นการพัฒนาทักษะทางสังคม เด็กทุกคนต้องได้รับการพัฒนามิตรภาพของพวกเขา คุณอาจจะเคยมีเพื่อนที่ทะเลาะกันรุนแรงมากในวัยเด็ก แต่ตอนนี้กลายเป็นเพื่อนสนิทแบบที่คิดว่าไม่เคยมีเรื่องผิดใจกันมาก่อนเด็กเองก็เช่น เพียงแต่ต้องใช้เวลาให้พวกเขาได้เติบโตไปข้างหน้า
นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต มองว่าการกลั่นแกล้งหรือรังแกกันในโรงเรียน เป็นพฤติกรรมรุนแรงอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายทางร่างกาย ทางอารมณ์ ทางวาจา รวมถึงการต่อว่ากันโดยผ่านทาง social media แต่ปัญหาเหล่านี้มักถูกมองข้ามในสังคมไทย และพบว่าร้อยละ 40-80 ของเด็กวัยเรียนเคยทะเลาะกันผ่านรูปแบบเหล่านี้
เมื่อเกิดการข่มเหงรังแกกันในโรงเรียนทำให้เด็กที่ถูกกระทำ มักจะมีอารมณ์ซึมเศร้าหรือวิตกกังวล ไม่มีความสุขในการทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อการเรียน และสุดท้ายเด็กอาจเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาเปลี่ยนตนเองให้เป็นผู้รังแกคนอื่นๆบ้าง
ไม่ใช่เรื่องแปลกหากคุณพ่อคุณแม่จะหาวิธีรับมือและช่วยปกป้องลูกบ้าง หากรู้ว่าลูกกำลังเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าว
เริ่มได้จากการชวนลูกพูดคุยถึงเรื่องของโรงเรียนหรือการเรียนและค่อยๆวกเข้าเรื่องของการถูกรังแก อาจยกประสบการณ์ของตนเอง ญาติพี่น้อง เล่าให้เด็กฟัง และเมื่อเด็กคิดว่าพ่อแม่เคยอยู่สถานการณ์เดียวกัน เขาก็อาจจะค่อยๆยอมแชร์เรื่องราวของตนเองเล่าให้คุณฟังบ้าง คุณพ่อคุณแม่ควรฟังอย่างสงบนิ่งพร้อมให้กำลังใจเด็ก หากเรื่องที่ทะเลาะกันบานปลายหนักหนาเกินไป ควรเลือกปรึกษาพูดคุยกับคุณครู ร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหาให้หนักกลายเป็นเบา
แนะนำลูกให้ทำกิจกรรมโดยมีเพื่อนอยู่ด้วย อย่างน้อย 2 คนขึ้นไป ดีกว่าการเผชิญหน้ากันแบบสองต่อสอง
อยากให้คุณพ่อคุณแม่คิดเสมอว่า อย่าต่อสู้กับเรื่องนี้ด้วยตัวเองตามลำพัง การร่วมพูดคุยหาทางออกกับผู้ปกครองของเด็กที่เป็นคู่กรณี โดยมีคุณครูหรือนักจิตวิทยาโรงเรียนเข้าร่วมพูดคุยด้วยเป็นทางออกที่ดีกว่า บอกทุกฝ่ายว่านี่คือการทำเพื่อคนที่เรารักมิใช่ใครอื่น และหากลูกของคุณเป็นผู้ที่รังแกเพื่อนเสียเอง อย่ารอช้ารีบหาวิธีอบรมเด็ก
ที่มา: fatherly, penreungpenrao, mamastory
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
สอนลูกยังไงให้โตไปไม่เป็นผู้ใหญ่อารมณ์ร้อน
เตรียมพ่อแม่พร้อมรับมือ ปัญหาวัยอนุบาลที่ลูกต้องเจอแน่ๆ
5 วิธีปราบลูกดื้อ ทำยังไงดีเมื่อลูกดื้อ วิธีปราบลูกอย่างสร้างสรรค์ ทำอย่างไร?
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
The Asian parent Thailand The Asian parent Thailand