เมื่อไหร่ลูกจะอ่านออกเขียนได้ พ่อแม่ควรสอนลูกยังไง ใช้เวลานานแค่ไหน?

เมื่อไหร่ลูกจะอ่านออกเขียนได้ กลัวว่าลูกจะอ่านหนังสือไม่ค่อยออก เขียนหนังสือไม่ถูก ทำอย่างไรดี เทคนิคสอนให้ลูกอ่านและเขียนหนังสือ แบบได้ผลจริง!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อไหร่ลูกจะอ่านออกเขียนได้ ใช้เวลานานแค่ไหน?

พ่อแม่ทุกคนล้วนอยากให้ลูกเก่ง อ่านออกเขียนได้เร็วๆ แต่ความเป็นจริงแล้วการเร่งรัดลูกมากเกินไปอาจไม่เป็นผลดี อีกอย่างพ่อแม่บางคนเข้าใจผิดคิดว่าให้ลูกเรียนจากคลิปวิดิโออาจจะช่วยได้ แต่ในความจริงแล้วการที่เด็กจะเขียนได้ดีต้องจับดินสอ ไม่ใช้ผ่านการจิ้มสัมผัสจากหน้าจอเพียงอย่างเดียวค่ะ แล้วแบบนี้เมื่อไร่ลูกจะอ่านออกเขียนได้ ต้องใช้เวลานานไหม พ่อแม่ทำอย่างไร เรามีเคล็ดลับดีๆ มาบอกค่า

1.แยกส่วนประกอบของเสียงในคำ

น้องเข้าใจเรื่องคำในภาษาพูดก่อน เนื่องจากในแต่ละคำนั้นจะประกอบด้วยไปเสียงย่อยหลายๆ เสียงรวมกัน เช่น คำว่า “ปาก” ที่ประกอบด้วยเสียงย่อย 3 เสียง คือ /ป/ – /า/ – /ก/ น้องจะต้องออกเสียงแต่ละคำเหล่านั้นให้ได้ และลองฝึกแทนที่ด้วยอักษรเฉพาะอื่นๆ เพื่อที่น้องจะได้เข้าใจเกี่ยวกับหน่วยย่อยของคำก่อนค่ะ แต่คุณแม่หลายคนคงหนักใจว่าจะสอนลูกให้แยกแยะส่วนประกอบคำอย่างไรดี เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ

วิธีฝึกการแยกส่วนประกอบของเสียงในคำ

  • ฝึกให้ลูกเล่นหรืออ่านเกี่ยวกับคำคล้องจอง เช่น “ไปเที่ยว เจียวไข่ ใส่เสื้อ” เป็นต้น
  • ฝึกให้เด็กแยกแยะพยางค์ เช่น การเล่นตบมือ เท่ากับจำนวนพยางค์ของคำ
  • ฝึกให้เด็กรู้จักแยกเสียงต้นของคำ อาจทำได้การเล่นเกม เช่น ให้เด็กเลือกรูปที่ออกเสียงต้นเหมือนกัน เช่น ให้เด็กดูรูป “กบ แก้ว มด” แล้วให้เด็กเลือกรูปที่ออกเสียงต้นเหมือนกันซึ่งก็คือ “กบ” และ “แก้ว” หรือให้เด็กบอกคำที่ขึ้นต้นด้วยเสียงที่กำหนดมาให้มากที่สุด เช่น จงบอกคำที่ขึ้นต้นด้วยเสียง “พ” คำตอบคือ “พาน พุง พัด พิง” เป็นต้น

ลูกจะอ่านออกเขียนได้เมื่อไหร่

2.รู้จักตัวอักษร และการใช้ตัวอักษรแทนเสียง

หลังจากที่น้องๆ รู้จักการแยกส่วนประกอบของเสียงในคำแล้ว ต่อมาจะต้องรู้จักกับการแทนเสียงค่ะ โดยขั้นแรก คุณแม่ต้องให้น้องได้รู้จักกับตัวอักษรภาษาไทยก่อนว่ามีตัวอะไรบ้าง และต้องรู้ว่าตัวษรนั้นแทนเสียงอะไรบ้าง เช่น “ม” แทนเสียง /ม/ หรือ ส, ษ, ศ แทนเสียง /ส/ เป็นต้น จากนั้นให้น้องเรียนรู้การนำตัวอักษรแต่ละตัวมาแทนที่เสียงย่อยแต่ละเสียงในคำ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เช่น “ยาว” น้องจะรู้ว่า “ย” ออกเสียงแทน “ยอ” สระ “า” แทนเสียง “อา” และ “ว” แทนเสียง “วอ” เมื่อเอามารวมกัน จะได้เป็น ยอ-อา-วอ อ่านว่า “ยาว” ค่ะ

วิธีฝึกให้เด็กรู้จักตัวอักษรและเสียงของตัวอักษร

  • ขั้นแรกให้หนูน้อยลองฝึกจับคู่ตัวอักษรกับภาพ เช่น ก-รูปไก่ หรือ พ-รูปพาน
  • หลังจากน้องเก่งแล้ว ให้ลองหารูปอื่นจับคู่กับตัวอักษร เช่น “ก” กับรูปภาพ กบ กา แก้ว เป็นต้นค่ะ โดยที่คุณบอกว่าหยิบตัวอักษร “กอ” มาให้หน่อยลูก
  • ฝึกประสมคำในรูปแบบง่าย โดยใช้สระเดียวแต่เปลี่ยนพยัญชนะไปเรื่อยๆ เช่น มา ยา ตา สา พา จากนั้นจึงค่อยๆ เพิ่มสระใหม่ทีละตัว และฝึกประสมคำสลับกัน ไป เช่น มีนา สีดา เป็นต้นค่ะ

3.รู้จักความหมายของคำศัพท์

การที่น้องจะเขียนหรือพูดออกมานั้น จำเป็นต้องรู้จักความหมายของคำให้ดีเสียก่อน หรือต้องพยายามให้ลูกเรียนรู้คำศัพท์ให้พอสมควรก่อน หากลูกน้อยไม่รู้ว่าคำนั้นอ่านว่าอะไรหรือว่ามีความหมายอย่างไร คุณแม่ก็ค่อยๆ สอนลูกอ่านและสะกด จากนั้นก็อธิบายลักษณะหรือหารูปประกอบค่ะ

วิธีสอนให้เด็กรู้จักคำศัพท์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • สอนให้ลูกได้เห็นของจริงในชีวิตแระจำวัน ดังนั้น คุณแม่ต้องพาลูกไปตลาดบ้าง เพื่อให้รู้จักผักและผลไม้ต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์งานครัวด้วยค่ะ
  • ป้ายข้างทาง ป้ายโฆษณา ก็สามารถใช้เป็นสื่อให้เด็กๆ เรียนรู้คำศัพท์ได้นะคะ
  • อ่านนิทานให้ลูกฟังอยู่เสมอ พยายามหาหนังสือที่เพิ่มคำศัพท์ให้ลูกน้อย โดยเลือกหนังสือจากสิ่งที่น้องไม่ได้เห็นในชีวิตประจำวัน เช่น หิมะ มังกร พร้อมกับชี้ที่รูปไปด้วยกันนะคะ

เมื่อไหร่ลูกจะอ่านออกเขียนได้

4.สามารถจับใจความได้

การจับใจความเป็นพื้นฐานทั้งการพูดและการเขียนเลยค่ะ คุณแม่สามารถฝึกได้จากการที่ให้ลูกดูการ์ตูนหรือหนัง แล้วให้ลูกเหล่าให้ฟังว่าลูกดูเรื่องอะไร ใครเป็นพระเอก นางเอก แต่ละคนทำอะไรบ้าง ตอนจบของเรื่องเป็นอย่างไร หรืออาจจะให้ลูกน้อยได้ลองเล่าเรื่องหลังจากได้ฟังนิทานที่คุณอ่านให้ลูกฟังก็ได้นะคะ สิ่งนี้จะช่วยน้องได้เยอะเลยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีสอนให้เด็กรู้จักจับใจความ

    • ให้ลูกน้อยได้เล่าเรื่องต่างๆ ที่ผ่านมาให้ฟัง เช่น เล่าเรื่องไปเที่ยวทะเล เล่นสนามเด็กเล่นกับเพื่อน ในช่วงแรก ลูกจะเล่าไม่เป็นเรียบเรียงไม่ถูกก็ไม่เป็นไรค่ะ
    • วิธีการสอนให้ลูกเล่าเรื่องเป็น โดยให้ลูกฝึกตอบเกี่ยวกับคำถามพื้นฐาน เช่น ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ค่ะ
    • ให้ลูกเบ่านิทานจากสิ่งที่แม่เล่าให้ฟัง

จะเห็นได้ว่าการที่เด็กจะอ่านเขียนได้นั้นไม่ได้มีแค่การท่องตัวอักษรเพียงอย่างเดียว หรือการให้ลูกฝึกเขียนตัวอักษรเท่านั้น แต่ยังมีส่วนประกอบอื่นๆ ทักษะอีกหลายๆ ด้านด้วนค่ะ หากในช่วงแรกลูกยังทำไม่ได้ก็ไม่ต้องกังวลนะคะ ค่อยๆ ฝึกไปเดี๋ยวน้องก็ได้เองค่ะ อย่าเร่งรัด หรือกดดันลูกมาจนเกินไป และไม่ควรเปรียบเทียบลูกกับคนอื่นเด็ดขาด เพราะเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่ต่างกันนะคะ

ใช้เวลานานไหมกว่าที่ลูกจะอ่านออกเขียนได้

โดยปกติแล้วเด็กจะอ่านออกเขียนได้ ต้องฝึกต่อเนื่องกันประมาณ 3 เดือน โดยใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ค่ะ เมื่อลูกน้อยของคุณรู้สึกว่าตัวเองอ่านได้ อ่านแล้วไม่ค่อยติดขัด ก็จะเริ่มอยากอ่านหนังสือแบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือความรู้ ตำราเรียน หรือแม้แต่หนังสือการ์ตูน สุดท้ายน้อยก็จะกลายเป็นรู้สึกสนุกที่จะอ่านหรือเรียนรู้เองค่ะ

ที่สำคัญพยายามให้ลูกเล่นสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างมือถือหรือแท็บเล็ตลงนะคะ ถึงแม้ว่ามันอาจจะช่วยให้น้องได้เรียนรู้คำได้เร็ว แต่น้องจะขาดทักษะการเขียน การจับดินสอ ซึ่งเป็นหนึ่งในพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กค่ะ เนื่องจากโปรแกรมส่วนใหญ่จะเน้นให้เด็กใช้นิ้วจิ้มและวาดตาม พอเด็กมาเขียนจริงๆ ทำให้เขียนลำบากค่ะ ถ้าให้ดีควรใช้มือถือหรือแท็บเล็ตเป็นตัวเสริมการเรียนรู้จะดีกว่านะคะ

แบบฝึกหัดฝึกอ่านเขียนสำหรับเด็ก

ที่มา: สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกดูทีวีดูมือถือทั้งวัน จ้องจอจนตาอักเสบรุนแรง! พ่อโพสต์เตือนอย่าปล่อยลูกดู ทีวี มือถือ ยิ่งนานยิ่งอันตราย

สมาธิสั้นเทียมเพราะมือถือ ลูกเป็นไฮเปอร์เทียม เพราะเล่นแท็บเล็ตทั้งวัน เลี้ยงลูกด้วยมือถือ ก็ต้องเจอแบบนี้!

กิจกรรมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน สิ่งที่ลูกควรทำก่อนเข้าเรียนอนุบาลมีอะไรบ้าง

บทความโดย

Khunsiri