ลูกกลัวโรงเรียน ทำอย่างไรดี สารพัดวิธี ช่วยให้ลูกหายกลัวโรงเรียน

ปัญหาลูกไม่ยอมไปโรงเรียนอาจเกิดขึ้นกับหลาย ๆ ครอบครัว ที่ตื่นเช้าขึ้นมาต้องร้องไห้กระจองอแงเพราะไม่อยากไปโรงเรียน ซึ่งปัญหาเหล่านี้แท้ที่จริงเด็ก ๆ จะมีเหตุผลของเขาที่คนเป็นพ่อแม่อาจจะดูว่าฟังไม่ขึ้นเสียเลย อย่างไรก็ตามลูกไม่ยอมไปโรงเรียนหรือกลัวโรงเรียน คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องหาวิธีแก้ไขนะคะ แต่จะมีวิธีการอย่างไร ติดตามอ่านค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกกลัวโรงเรียน ทำอย่างไรดี สารพัดวิธี ช่วยให้ลูกหายกลัวโรงเรียน

ลูกกลัวโรงเรียน ทำอย่างไรดี สารพัดวิธี ช่วยให้ลูกหายกลัวโรงเรียน

โรคกลัวโรงเรียน (school phobia)

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก  ชวนคุณพ่อคุณแม่ทำความรู้จัก “โรคกลัวโรงเรียน
”  ซึ่งต้องใส่ใจและเข้าใจพฤติกรรมของลูกน้อยว่าเกิดขึ้นเพราะสาเหตุใด ทำไมลูกรักถึงกลัวโรงเรียน ไม่อยากไปโรงเรียน เอาแต่ใจ หรือใครรังแก

โรคกลัวโรงเรียน (School Phobia) เกิดจากความวิตกกังวลภายใน จิตใจ แสดงออกเป็นพฤติกรรมได้หลายรูปแบบ  นอกจากนี้ เด็กที่เป็นโรคกลัวโรงเรียน   เกิดได้ทั้งจากสภาพแวดล้อมในครอบครัวและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน นอกจากความวิตกกังวลที่เกิดจากตัวเด็กเองนั้น สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ เรื่องของความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กในโรงเรียน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในสังคม

สาเหตุ

1. ในเด็กวัยอนุบาลอาจมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการพลัดพรากจากคนที่รัก เมื่อไปโรงเรียนวันแรกก็จะมีภาวะไม่ยอมไปโรงเรียน กลัวโรงเรียนเกิดขึ้นได้ เด็กบางคนมีพื้นฐานบุคลิกภาพแบบวิตกกังวลง่าย   หรือได้รับการเลี้ยงดูแบบปกป้องมากเกินไป ก็จะมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะดังกล่าวได้เช่นเดียวกัน

2. ในเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาการเรียน เข้ากับเพื่อนไม่ได้ หรือถูกทำโทษรุนแรงที่โรงเรียน ก็สามารถเกิดอาการไม่อยากไปโรงเรียนได้เช่นเดียวกัน

3. ในวัยรุ่นที่มีอาการซึมเศร้า หรือมีอาการของโรคทางจิตเวช เช่น โรคจิตเภท ก็จะมีอาการเก็บตัวและไม่ยอมไปโรงเรียนได้เช่นเดียวกัน

อาการ

พญ.นิดา ลิ้มสุวรรณ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ได้อธิบายอาการของโรคกลัวโรงเรียน (school phobia) ดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการด้านพฤติกรร

1. มีความรุนแรงเพียงเล็กน้อยที่แสดงว่าไม่อยากไปโรงเรียน  เช่น พูดงอแงว่าไม่อยากไปโรงเรียน ขอร้องให้หยุดเรียน  ปลุกไม่ยอมตื่นในตอนเช้า

2. เด็กบางคนแสดงอาการก้าวร้าว  อาละวาดรุนแรง ต่อต้านขัดขืนไม่ยอมลุกจากเตียง ไม่ยอมออกจากบ้านไปโรงเรียน  ร้องไห้ ด่าทอ ทำร้ายร่างกายคุณพ่อคุณแม่

3. เด็กบางคนอาจจะไปโรงเรียนได้ในตอนเช้า แต่ไม่สามารถอยู่เรียนได้ครบทั้งวัน เช่น โทรศัพท์มาวิงวอนให้คุณพ่อคุณแม่มารับกลับบ้านก่อนเวลาเลิกเรียน

อาการด้านความคิด

1. ความคิดวิตกกังวลเกี่ยวกับการไปโรงเรียนอาจเริ่มมีได้ตั้งแต่ช่วงกลางคืนของวันก่อนที่จะต้องไปโรงเรียน และแสดงออกเป็นคำพูดในเชิงไม่อยากไปโรงเรียนในวันรุ่งขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. เด็กบางคนเมื่อคุณพ่อคุณแม่ถามถึงการไปโรงเรียนในวันรุ่งขึ้นก็ยืนยันว่าจะไป แต่พอถึงตอนเช้าขัดขืนไม่ยอมไปโรงเรียน บางรายอาจคิดวิตกกังวลจนกระสับกระส่ายหรือนอนไม่หลับ

อาการด้านร่างกาย

1. ความวิตกกังวลอาจแสดงออกเป็นอาการทางกายต่าง ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ปวดหัว วิงเวียน เหงื่อออกมาก ท้องเสียถ่ายเหลว อาการเหล่านี้มักจะเป็นในช่วงเช้าที่จะต้องไปโรงเรียน เมื่อได้หยุดเรียนอยู่ที่บ้านมักพบว่าอาการเหล่าจะดีขึ้นหรือหายไปในตอนสายๆ หรือตอนบ่าย

2. ในวันที่ไม่มีการเรียน เช่น วัดหยุดสุดสัปดาห์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ ก็จะไม่พบอาการเหล่านี้ ลูกสามารถเล่นและทำกิจกรรมที่บ้านได้ตามปกติ

การดูแลและช่วยเหลือเด็กที่กลัวโรงเรียน

เด็กเล็ก(อนุบาลหรือประถมต้น)

1. กรณีที่มีอาการมาไม่นานและไม่รุนแรงการพาเด็กกลับสู่โรงเรียนโดยเร็วที่สุดถือเป็นหัวใจของการช่วยเหลือ เพราะยิ่งปล่อยให้มีการไม่ไปโรงเรียนนานเท่าไรก็จะยิ่งรักษาได้ยากเท่านั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. การขาดเรียนจะทำให้เด็กมีงานค้าง   มีบทเรียนที่ไม่ได้เรียน   เมื่อกลับไปเรียนก็จะตามไม่ทัน   ยิ่งทำให้เด็กไม่อยากไปเรียน

3. การขาดเรียนหลายวันเด็กก็จะกลายเป็นจุดสนใจของเพื่อนและครู   ทำให้ปรับตัวทำได้ยากขึ้นอีก

4. สาเหตุของเด็กกลัวโรงเรียนมักมาจากความวิตกกังวลต่อการพลัดพรากจากคนที่รัก ท่าทีของคุณพ่อคุณแม่ที่หนักแน่นในการยืนยันว่าจะต้องไปโรงเรียน

5. การขอความร่วมมือจากคุณครูในการดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดตั้งแต่วันแรกที่กลับไปเรียน เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการพาเด็กกลับสู่โรงเรียน

เด็กโต(ประถมปลายหรือวัยรุ่น)

กรณีมีอาการเรื้อรังและรุนแรง การมาพบแพทย์เพื่อประเมินอย่างละเอียดจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อหาสาเหตุของการไม่ยอมไปโรงเรียน รวมถึงเพื่อประเมินว่ามีโรคทางจิตเวชหรือไม่ วางแผนการรักษาและพาเด็กกลับสู่โรงเรียนในที่สุด

คุณหมอฝากข้อคิด

รศ.นพ.อดิศักดิ์  ผลิตผลการพิมพ์ ได้ฝากข้อคิดถึงคุณพ่อคุณแม่ รวมถึงครูอาจารย์ ดังนี้ การเป็นแบบอย่างที่ดี สื่อสารด้วยความรัก และคอยให้คำแนะนำ ยังต้องเป็นผู้มีเหตุผล เข้าใจในตัวเด็ก รักเด็กให้มากกว่าเดิม และพยายามเอาใจใส่เด็กในทั่วถึง โดยไม่มีอคติต่อเด็กที่มีปัญหา และให้ความสำคัญแก่เด็ก เพราะนอกจากพ่อแม่แล้ว ครูและสถานศึกษาเองก็เปรียบเสมือนต้นแบบทางจิตวิทยาของเด็กเช่นกัน

ลูกกลัวโรงเรียน  ลูกไม่ยอมไปโรงเรียน  จากที่เคยเข้าใจกันว่าเด็กไม่อยากจากพ่อแม่ แต่เมื่อได้อ่านข้อมูลที่นำเสนอไปแล้วนั้น  จะเห็นว่านอกเหนือจากการไม่อยากจากพ่อแม่แล้วอาจมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง  การดูแล  พูดคุยด้วยความรักและความเข้าใจ  ไม่ตำหนิหรือดุว่า  จะทำให้ลูกคลายกังวล  รวมไปถึงการขอความร่วมมือกับทางโรงเรียนในการดูแลเด็กนักเรียน  โดยเฉพาะเด็กที่มีปัญหาดังกล่าว หากมีอาการเรื้อรังหรืออาการรุนแรงควรพาไปพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาต่อไป

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://thaipsychiatry.wordpress.com

https://www.thaihealth.or.th

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาลูกไม่อยากไปโรงเรียน เพราะเกลียดครู

หนูไม่อยากไปโรงเรียน

10 เหตุผล ของการไม่อยากไปโรงเรียน และจะทำอย่างไร ให้ลูกอยากไปโรงเรียน