ลูกติดพ่อแม่มาก ลูกติดมือ ควรทำอย่างไร? ถึงจะช่วยลูกได้
คุณพ่อคุณแม่หลายๆท่าน ที่มีลูกน้อยวัยทารก อาจประสบปัญหาลูกติดมือ หรือ ลูกติดพ่อแม่มาก และ ไม่แน่ใจว่าควรจะแก้ไขปัญหานี้ อย่างไร เรามาดู สาเหตุ และ แนวทางการแก้ไขกันนะคะ
ลูกติดมือ หรือติดคุณพ่อคุณแม่ เป็นอย่างไร?
ในช่วงวัย 6 เดือนแรก ที่ลูกยังไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหน ได้ด้วยตนเองโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วง 3 เดือนแรกของชีวิต ลูกน้อยวัยทารก อาจร้องเสียงดังให้คุณพ่อคุณแม่มาอุ้มบ่อยๆ บางครั้ง วางลงนอน ได้สักพักก็ร้องเสียงดัง ให้อุ้มขึ้นมาอีก ซึ่งเดิมมีความเชื่อกันว่าหากอุ้มตลอด ไม่ยอมปล่อยให้ร้องบ้าง
จะทำให้ เด็กติดมือ และ ไม่ยอมทำอะไรด้วยตนเอง ในอนาคต ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ไม่เป็นเช่นนั้นค่ะ หากลูก ร้องไห้อุ้ม คุณพ่อ คุณแม่ หรือ ผู้เลี้ยงดูควรไป อุ้ม และ สัมผัสซึ่งการกระทำเช่นนี้ ไม่ได้ทำให้เด็กติดมือ หรือ มีผลเสียตามมาแต่อย่างใด
เมื่อลูกอายุ 8-12 เดือนเริ่มจะ คลาน และ ออกไปสำรวจสิ่งแวดล้อมได้ เมื่อมีคนที่ไม่คุ้นเคย เข้ามาใกล้ลูกก็อาจจะร้องไห้ และ รีบกลับเข้ามาหาคุณพ่อคุณแม่อีก
อาการติดมือหรือการติดพ่อแม่นี้เป็นพัฒนาการที่ปกติของเด็กวัยทารกค่ะ
เนื่องจากในวัยทารก เด็กจะมี ความต้องการพื้นฐาน ที่ควรได้รับการตอบสนอง เพื่อสร้าง ความผูกพัน และ ไว้วางใจ จากผู้ใกล้ชิดเลี้ยงดู ซึ่งมักเป็นคุณพ่อคุณแม่นั่นเอง โดยเด็กจะต้องการให้อุ้ม ต้องการการสัมผัสใกล้ชิด และ การพูดคุยด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้นอกจากจะ สร้างความไว้วางใจ ให้กับเด็กแล้ว ยังเป็นการช่วย ส่งเสริมพัฒนาการ และ การเรียนรู้อีกด้วยค่ะ
เพราะเหตุใดลูกจึงติดมือ หรือติดคุณพ่อคุณแม่?
เมื่อมีคนแปลกหน้าเข้ามาหา เด็กก็จะย่อมมีความรู้สึก กลัวคนแปลกหน้า และ เริ่มไว้ไม่ไว้ใจในสถานการณ์รอบตัว อันเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติ และ พัฒนาการของเด็ก จึงเกิดการร้องหา และ รีบกลับมาเกาะติด คุณพ่อ คุณแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่มี ความเชื่อมั่น ในตัวคุณพ่อคุณแม่หรือผู้เลี้ยงดูอยู่แต่เดิม หรือ มีปัญหาในการแสดงออกถึงความรักและเอาใจใส่จากผู้เลี้ยงดู
รวมถึงผู้เลี้ยงดูมีการตอบสนองต่อทารกไม่สม่ำเสมอ หรือ ไม่ชัดเจน ก็อาจจะทำให้ยิ่งไม่ไว้วางใจใน ผู้อื่น และ เกิดความวิตกกังวล มากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานอารมณ์ ของเด็กใน แต่ละคนด้วยค่ะ
หากลูกติดมือ หรือติดคุณพ่อคุณแม่มาก ควรทำอย่างไร?
สำหรับลูกน้อย วัยทารกแรกเกิดถึง 6 เดือนที่ร้องไห้งอแง ขอให้อุ้มบ่อยๆ คุณพ่อ คุณแม่ ควรจะรีบตอบสนอง โดยเข้าไปอุ้ม และ สัมผัสลูก รวมถึงหาสาเหตุหรือว่า ลูกร้องจากอะไร และ ลูกช่วยแก้ไข เช่น บางครั้งลูกอาจจะร้องเพราะหิว หรือ มีปัสสาวะอุจจาระเปื้อนผ้าอ้อม เมื่อได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐานแล้ว ลูกก็จะมีความสุขมีความไว้วางใจและผูกพันกับพ่อแม่
เมื่ออยู่ในวัยที่เริ่มช่วยเหลือตัวเองได้ก็ควรฝึกให้ลูกเริ่มช่วยเหลือตัวเองทีละเล็กน้อย เช่น การคว้าจับของเล่นเอง ถือขวดนมเอง เป็นต้น
หากลูกสามารถคลานหรือเคลื่อนไหวไปตามที่ต่างๆด้วยตนเองก็ควรให้ลูกไปสำรวจสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยได้ด้วยตนเอง แต่เมื่อลูกร้องขอความต้องการช่วยเหลือเนื่องจากความกลัวหรือวิตกกังวลต่อสิ่งแวดล้อมหรือผู้คนที่ไม่คุ้นเคย คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะรีบเข้าไปให้ความใกล้ชิด โดยอยู่ใกล้ๆเมื่อลูกต้องการทุกครั้งและทำให้สม่ำเสมอ เพื่อสร้างความไว้วางใจว่า อย่างไรคุณพ่อคุณแม่ก็จะอยู่ข้างลูกเสมอ
หากทำเช่นนี้เป็นประจำเมื่อลูกเริ่มโตขึ้นไปจนเลยวัยทารกด้วยความมั่นใจในความรักและเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างเต็มเปี่ยม เขาก็จะสามารถเริ่มออกไปสำรวจสิ่งต่างๆได้อยากมีความสุขและร้องไห้หาคุณพ่อคุณแม่ลดลงได้เองค่ะ
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูล คุณภาพ และ สังคมคุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดใน ประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้ แม่ และ เด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุด ในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมี ไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่ และ เด็ก โภชนาการ แม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ติดตามคุณหมอ : https://www.facebook.com/talktodr.mai/
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
มุมมองการเลี้ยงลูกแบบหมอ ๆ จากคุณแม่นุ่น เป็นหมอทั้งบ้าน จัดสรรเวลาให้ลูกยังไง
‘หมอโอ๊ค’ อวดผลงานเขียน ลูกชายลูกสาว น้องอลิน-อลัน
หมอคือฮีโร่ ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก คุณหมอนี่แหละคือฮีโร่ของทุกคน